Share

รู้จักกับ AI Document processing ยกระดับการประมวลผลข้อมูลจากเอกสารของธุรกิจ

การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการประมวลข้อมูลจากเอกสาร หรือที่เรียกกันว่า AI Document processing นั้นได้เข้ามาเปลี่ยนวิธีที่ธุรกิจจัดการเอกสาร โดยเข้ามายกระดับวิธีที่ธุรกิจกรอกข้อมูลเข้าไปในระบบ (Data-entry) ระบบการอนุมัติ และการจัดการเอกสาร จากรายงานพบว่าพนักงานใช้เวลามากกว่ามากกว่าหนึ่งในสี่ของสัปดาห์ไปกับงานรูทีน เช่น การจัดการข้อมูล พวกเราส่วนใหญ่อาจเกี่ยวข้องกับความยุ่งยากในการค้นหาเอกสารที่ซับซ้อน การดึงข้อมูลจากเอกสารแบบแมนนวล หรือความยุ่งยากกับระบบการจัดการเอกสารที่เทอะทะ

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ในหลากหลายสาขา รวมไปถึงเทคโนโลยี AI-OCR ที่ถือเป็นเทคโนโลยีเบื้องหลังสำคัญของระบบ AI Document processing ที่ขับเคลื่อนให้การประมวลผลข้อมูลจากเอกสารทำได้แบบอัตโนมัติ เข้ามาช่วยยกระดับการจัดการข้อมูลจากเอกสารของธุรกิจได้เป็นอย่างดี ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับระบบ AI Document processing กันให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ธุรกิจได้นำไปเป็นไอเดียในการใช้ยกระดับขั้นตอนการประมวลผลจากเอกสาร

รู้จักกับ AI Document processing สำหรับธุรกิจ

AI Document processing คืออะไร

AI Document processing หรือ AI สำหรับการประมวลผลเอกสาร หมายถึงการนำเทคโนโลยี AI ผสานรวมกับ OCR (AI-OCR) รวมไปถึงเทคโนโลยี Machine learning มาใช้เพื่อทำให้การดึงข้อมูลจากเอกสาร การจัดประเภทของข้อมูล และการตรวจสอบข้อมูลในเอกสารให้ทำได้แบบอัตโนมัติ 

โดยที่ระบบ AI Document processing สามารถระบุ และเข้าใจบริบท และความหมายของเนื้อหาในเอกสารแต่ละฟอร์แมตได้ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ PDF อีเมล และรูปเอกสารสแกน ที่จะช่วยลดการทำงานแบบแมนนวล ลดข้อผิดพลาด และทำให้การทำงานรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นระบบ AI Document processing ยังสามารถประมวลผลข้อมูลของเอกสารจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันสั้นโดยมีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดข้อผิดพลาด ซึ่งจะทำให้พนักงานมีเวลาโฟกัสกับเชิงกลยุทธ์มากยิ่งขึ้นที่จะช่วยยกระดับทั้งประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานได้เป็นอย่างดี

aiScript บริการ AI Document processing จาก AIGEN
aiScript บริการ AI Document processing จาก AIGEN

AI Document processing มีวิธีการทำงานอย่างไร?

จากการสำรวจเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา พบว่าฝ่ายการเงินของธุรกิจในสหรัฐอเมริกา และยุโรปนั้นใช้เวลาไปกับการจัดการข้อมูลใน Spreadsheet มากกว่า 4,800 ชั่วโมงต่อปีในการบริหารจัดการเรื่องการทำจ่ายเงิน และงานทางด้านบัญชีต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการทำงานแบบแมนนวลในการกรอกข้อมูลเข้าไปใน Spreadsheet การตรวจสอบข้อมูล และการแก้ไขข้อมูลที่ผิด

และไม่เพียงแค่ฝ่ายการเงินเท่านั้น ทีม HR หรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องมีเก็บข้อมูลพนักงานให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ในขณะที่ฝ่ายจัดซื้อต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการจัดการข้อมูลจากใบสั่งซื้อต่างๆ การประมวลผลข้อมูลจากเอกสารนั้นไม่ได้เป็นปัญหาของแผนกใดแผนกหนึ่งในบริษัท แต่ถือเป็นจุดคอขวด (bottleneck) ที่สำคัญของธุรกิจในวงกว้าง

แต่ด้วยระบบ Intelligent document processing ทำให้ธุรกิจสามารถลดเวลาการทำงานแบบแมนนวลเหล่านี้ลงได้ ทำให้พนักงานมีเวลาที่จะโฟกัสกับงานที่สร้างมูลค่า และคุณค่าให้กับองค์กรได้มากยิ่งขึ้น

โดยทั่วไป AI Document processing นั้นจะมีขั้นตอนการทำงานอยู่ทั้งหมด 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1. การตรวจจับภาพเอกสาร

การตรวจจับภาพเอกสาร

โดยขั้นตอนแรกเป็นขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมเอกสารจากหลากหลายแหล่งข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการประมวลผลต่อ ไม่ว่าจะเป็นจากกล่องข้อความในอีเมล การเก็บข้อมูลบน Cloud ทั้ง Google drive และ One drive หรือข้อมูลจาก 3rd Party หรือรูปแบบเอกสารสแกน และระบบ AI Document processing ควรจะรองรับไฟล์เอกสารได้หลากหลายไฟล์ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ PDF, JPEG, PNG, TIFF รวมถึงสามารถเชื่อมต่อผ่าน API ได้  เพื่อให้มั่นใจได้ว่าได้รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นได้ไม่ว่าข้อมูลจะมาจากแหล่งใดก็ตาม

AIGEN ได้พัฒนา aiScript บริการ AI Document processing ที่ยกระดับขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลจากเอกสารให้ทำได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รองรับไฟล์เอกสารได้หลากหลายรูปแบบ และยังรองรับข้อจำกัดของเอกสารที่ถึงแม้ว่าเอกสารจะเอียง เบี้ยว หรือกลับด้านก็สามารถอ่าน และประมวลผลข้อมูลในเอกสารได้ อีกทั้งยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ aiFlow ที่ทำให้ธุรกิจสามารถออกแบบ และตั้งค่า Workflow การทำ Data-entry ได้เอง 

2. การทำ Pre-processing

ขั้นตอนการทำ Pre-processing

เมื่อตรวจจับเอกสารได้แล้วนั้น ขั้นตอนต่อไปคือการเตรียมเอกสารให้พร้อมสำหรับการดึงข้อมูล ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดข้อมูล ย้ายข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออก และแปลงเอกสารให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการดึงข้อมูล ตัวอย่างเช่น ถ้าธุรกิจอัปโหลดเอกสารใบแจ้งหนี้เข้ามาเป็นจำนวนมาก ระบบ AI Document processing จะกำหนดให้ field ที่ธุรกิจต้องการจะดึงข้อมูลไว้ให้ล่วงหน้า จากการที่เทรนโมเดล AI ให้อ่านเอกสารมาเป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบสามารถรู้ได้แบบอัตโนมัติว่าในเอกสาร Invoice นั้นมี field ใดบ้างที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ (ในขณะเดียวกันธุรกิจเองก็สามารถ Customize field ที่ต้องการจะดึงได้ด้วยเช่นกัน) เช่น ชื่อผู้ขาย วันที่ออก Invoice และจำนวนเงินรวม ซึ่งจะทำให้ธุรกิจมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้ดึงออกมานั้นอยู่ในฟอร์แมตตรงตามที่ธุรกิจต้องการ

3. การดึงข้อมูลจากเอกสาร

การดึงข้อมูลจากเอกสาร (Data extraction)

ในขั้นตอนของการดึงข้อมูลนั้น ระบบ AI Document processing จะทำการระบุ และดึงข้อมูลที่ต้องการจากเอกสาร โดยระบบ AI ประมวลผลเอกสารจะยิ่งทำงานได้อย่างรวดเร็ว และชาญฉลาดมากยิ่งขึ้นในการใช้งานแต่ละครั้งจากที่ระบบได้เรียนรู้จากข้อมูลที่ดึงออกมาในแต่ละครั้ง และการที่มีคนเข้ามาช่วยตรวจสอบข้อมูลให้ในบางครั้ง ด้วยความสามารถของระบบ AI Document processing นั้นทำให้เป็นเรื่องง่ายที่สามารถประมวลผล และดึงข้อมูลได้ทั้งจากเอกสารที่มีรูปแบบแน่นอนตายตัว และเอกสารที่ไม่ได้มีรูปแบบที่แน่นอนตายตัว ซึ่งสำหรับเอกสารที่มีรูปแบบที่แน่นอน เช่น บัตรประชาชน ใบขับขี่ ซึ่งข้อมูลมีรูปแบบที่คงที่ ระบบจะสามารถใช้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อค้นหา และแยกแยะข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สำหรับเอกสารที่ไม่ได้มีรูปแบบที่ตายตัวนั้น เช่น ใบแจ้งหนี้ สัญญา ที่การจัดวางข้อมูลอาจแตกต่างกันออกไป ระบบ AI ประมวลผลเอกสารจะใช้เทคโนโลยี NLP เพื่อทำความเข้าใจบริบท และความหมายของข้อมูลในเอกสาร ซึ่งจะทำให้การระบุ และการดึงข้อมูลที่ต้องการทำได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการสร้างเทมเพลตไว้ล่วงหน้า 

4. การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

การตรวจสอบข้อมูล

เมื่อระบบ AI Document processing ทำการดึงข้อมูลเรียบร้อยแล้ว หลังจากระบบจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่ดึงออกมาได้เทียบกับกฎ (Rules) หรือรูปแบบที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่ดึงออกมานั้นถูกต้อง ซึ่งหากทำการตรวจสอบแล้วข้อมูลมีความคาดเคลื่อน หรือมีโอกาสที่ข้อมูลอาจจะผิดได้ ระบบจะทำเครื่องหมายไว้เพื่อให้คนเป็นคนเข้ามาตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง ตัวอย่างเช่น ระบบ aiScript ที่ทาง AIGEN ได้พัฒนาขึ้น จะสามารถตรวจสอบข้อมูลที่อยู่ที่ดึงได้จากบัตรประชาชนว่าตำบล อำเภอ และจังหวัดที่ดึงออกมาได้นั้นถูกต้องหรือไม่ โดยเทียบกับฐานข้อมูลที่มีอยู่ หากพบว่าข้อมูลที่ดึงออกมานั้นไม่ถูกต้อง ระบบจะแก้ไขให้แบบอัตโนมัติ เป็นต้น 

นอกจากนั้นธุรกิจยังสามารถกำหนดขั้นตอนของการอนุมัติ และการมอบหมายหน้าที่ให้กับทีมที่เกี่ยวข้องได้เช่นกันตามความต้องการของแต่ละธุรกิจ ด้วยวิธีการเหล่านี้จะทำให้ธุรกิจประหยัดที่ต้องใช้ในการติดตาม และตรวจสอบข้อมูล และหลีกเลี่ยงความล่าช้าในการจัดการกับข้อมูลในเอกสาร

5. การทำ Post-processing

การทำ Post-processing

โดยขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการกระจายข้อมูลข้อมูลที่ได้ตรวจสอบเรียบร้อยแล้วไปยังหน่วยงาน หรือระบบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งธุรกิจสามารถ Export ข้อมูล และส่งไปยังระบบ SAP, ERP หรือ CRM เป็นต้น นอกจากนั้นระบบ AI Document process ยังสามารถแปลง หรือ Convert ข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่แอปพลิเคชันของธุรกิจ หรือผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้งานต่อได้โดยทันที ตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบเรียบร้อยแล้วนั้นสามารถส่งต่อเพื่ออัปเดตข้อมูลในระบบบัญชีได้โดยทันที หรือส่งข้อมูลเข้าไปในระบบ ERP หรือระบบรายงานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์ และตัดสินใจต่อไป

การทำให้ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลจากเอกสารทำได้แบบอัตโนมัตินั้นจะทำให้ขั้นตอนที่การกรอกข้อมูลแบบแมนนวลนั้นหมดไป ซึ่งจะช่วยลดโอกาสที่ข้อมูลจะผิดพลาด และประหยัดเวลาในการทำงานได้เป็นอย่างมาก และในที่สุดเมื่อขั้นตอนการทำ Data-entry ที่ทำได้แบบอัตโนมัตินั้นจะทำให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายมากขึ้น และทำให้มั่นใจได้ว่าธุรกิจของคุณยังคงปฏิบัติตามข้อกำหนด และรักษามาตรฐานของการบันทึกขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูลทั้งหมดไว้อย่างชัดเจน

ทำไมธุรกิจยุคใหม่ถึงควรนำระบบ AI Document processing ไปใช้งาน?

1. ลดความผิดพลาดของข้อมูล

การกรอกข้อมูล (Data entry) เข้าไปในระบบแบบแมนนวล หรือใช้คนนั้นมีโอกาสที่ข้อมูลอาจจะผิดพลาดได้ ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่ตามมาอีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่นำไปใช้ต่อไม่ถูกต้อง การตัดสินใจที่ผิดพลาด และปัญหาที่อาจจะเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด ซึ่งการนำระบบ AI Document processing มาใช้แทนการทำ Data-entry แบบแมนนวลนั้นจะช่วยลดการใช้คนในการกรอกข้อมูลเข้าไปในระบบ โดยเปลี่ยนจากการให้พนักงานกรอก มาเป็นให้พนักงานทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลที่ AI ดึงออกมาได้แทน ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะลดความผิดพลาดของข้อมูลลงได้ โดยที่เครื่องมือ AI จะช่วยทำให้การระบุ ดึง และตรวจสอบข้อมูลสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแม่นยำมากยิ่งขึ้น  

2. รองรับเอกสารจำนวนมากได้เป็นอย่างดี

แน่นอนว่าเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น จำนวนเอกสารที่ต้องใช้ก็จะมีมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งด้วยการคีย์ข้อมูลแบบแมนนวล หรือการใช้คนที่มีอยู่เท่าเดิมนั้นไม่สามารถรองรับกับจำนวนเอกสารที่มากขึ้นได้อย่างแน่นอน และจะทำให้เกิดปัญหาการทำงานที่ล่าช้า หรือไม่ทันกับเดดไลน์ รวมไปถึงการให้บริการลูกค้าล่าช้าตามมาได้ ตรงกับข้ามกับการนำระบบ AI Document processing มาใช้งานจะทำให้ธุรกิจจัดการกับจำนวนเอกสารที่มีมากขึ้นได้อย่างไม่มีข้อจำกัด เนื่องจากระบบสามารถทำงานได้ตลอดเวลาแบบไม่ต้องหยุดพัก ประหยัดเวลาในการทำงาน และมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้มีความถูกต้อง สามารถนำไปใช้งานต่อได้ทันที 

3. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ธุรกิจชั้นนำแห่งหนึ่งที่ได้นำ aiScript บริการ AI Document processing ไปใช้งานจริงนั้นได้กล่าวไว้ว่า “หลังจากนำ aiScript มาใช้งานนั้นช่วยให้ธุรกิจสามารถประหยัดเวลาการทำงานจากเดิมได้ถึง 8 เท่า” จะเห็นได้ว่าการนำระบบ AI Document processing มาใช้งานแทนการทำงานแบบแมนนวลแบบเดิมนั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้เป็นอย่างดี โดยเปลี่ยนให้พนักงานมีเพียงหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลที่ AI ดึงออกมาได้ในขั้นตอนสุดท้ายเท่านั้น ทำให้พนักงานเองมีเวลาที่จะโฟกัสกับงานเชิงกลยุทธ์ และความคิดสร้างสรรค์ได้มากยิ่งขึ้น

4. เชื่อมต่อกับระบบการทำงานในปัจจุบันได้

หากข้อมูลที่ดึงออกมาได้ไม่สามารถส่งต่อไปยังโปรแกรมที่ธุรกิจใช้อยู่ได้แบบอัตโนมัติ แน่นอนว่าย่อมทำให้การทำงานนั้นไม่สะดวก และอาจจะเพิ่มภาระให้กับคนทำงานได้ ซึ่ง aiScript ระบบ AI Document processing ที่ทาง AIGEN ได้พัฒนาขึ้นนั้นได้ออกแบบมาให้ธุรกิจสามารถนำไปเชื่อมต่อกับโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันที่ธุรกิจใช้อยู่ได้ผ่านทางการเชื่อมต่อ API เพื่อทำให้ขั้นตอนการทำงานทำได้อย่างไหลลื่น โดยสามารถเชื่อมต่อกับโปรแกรมยอดฮิตของธุรกิจไม่ว่าจะเป็น SAP, ERP หรือโปรแกรมอื่นๆ

aiScript ระบบ AI Document processing สำหรับธุรกิจยุคใหม่

AIGEN ได้พัฒนา aiScript บริการระบบ AI Document processing เพื่อยกระดับการทำ Data-entry ของธุรกิจให้ทำได้แบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ธุรกิจได้ดีกว่าซอฟต์แวร์ OCR ทั่วไปด้วยการใช้เทคโนโลยี AI เป็นตัวขับเคลื่อน หรือที่เรียกกันว่า AI-Powered OCR รองรับเอกสารได้มากกว่า 16 ประเภท ทั้งเอกสารที่มีรูปแบบแน่นอนตายตัว และเอกสารที่ไม่ได้รูปแบบที่แน่นอน ไม่จำเป็นต้องสร้างเทมเพลตของเอกสารไว้ล่วงหน้าธุรกิจก็สามารถทำ OCR ได้ด้วยความสามารถของโมเดล AI ที่เทรนเอกสารมามากกว่าล้านฉบับ อีกทั้งยังสามารถแยกประเภทของข้อความ และประเภทของเอกสารได้แบบอัตโนมัติ และยังรองรับกับข้อจำกัดของเอกสารได้เป็นอย่างดี รวมไปถึงยังสามารถ Customize workflow การทำ OCR ให้เหมาะกับแต่ละธุรกิจได้อีกด้วย โดยธุรกิจสามารถทดลองใช้งาน aiScript ฟรีได้ที่ AIGEN Web portal

หากคุณกำลังมองหาผู้ช่วยในการยกระดับการทำ Data-entry ให้กับธุรกิจด้วยการนำระบบ AI Document processing ไปใช้งาน ผู้เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การออกแบบขั้นตอนการทำงาน จนถึงการนำ ระบบ AI Document processing ไปใช้งานให้ประสบผลสำเร็จ ติดต่อเพื่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่

AIGEN Live chat