Share

รวม 4 เคล็ด(ไม่)ลับที่ต้องรู้ในการนำ ChatGPT ไปใช้งานกับธุรกิจ

ChatGPT เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่กำลังมาแรง และเป็นที่พูดถึงเป็นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา เรียกได้ว่าเป็นแชทบอท AI ที่ไม่มีใครไม่รู้จักในยุคนี้ ด้วยความสามารถด้านภาษาอันชาญฉลาดที่ช่วยทำให้การค้นหาข้อมูลของคนยุคใหม่ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจในการเชื่อมต่อกับระบบ หรือแอปพลิเคชันของธุรกิจเพื่อให้การตอบคำถามลูกค้าเป็นไปอย่างราบรื่น และพูดคุยกับลูกค้าได้เหมือนกับลูกค้าคุยกับพนักงานด้วยการใช้ภาษาที่สละสลวยได้เหมือนกับมนุษย์ ยิ่งทำให้ ChatGPT เป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์การทำงานของธุรกิจที่ต้องการให้ขั้นตอนการทำงานรวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติได้มากขึ้นได้เป็นอย่างดี

ในขณะเดียวกันนั้นไม่มีเทคโนโลยีอะไรในโลกนี้ที่มีแต่ข้อดี เช่นเดียวกันกับ ChatGPT ที่มีทั้งจุดแข็ง และข้อจำกัดบางอย่างที่ธุรกิจต้องคำนึงถึงก่อนการนำไปใช้งาน เพื่อหาวิธีป้องกัน และวิธีรับมือกับการนำ ChatGPT ไปใช้งานกับธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น และทำให้การนำ ChatGPT ไปใช้งานกับธุรกิจนั้นเกิดประโยชน์สูงสุด โดยในบทความนี้ดร.ภมรพล ชินะจิตร CEO บริษัท ไอเจ็น จำกัดของเรานั้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านการนำ AI และ Machine learning ไปใช้งานกับธุรกิจได้แชร์ความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่ธุรกิจควรรู้ก่อนนำ ChatGPT ไปใช้งาน เพื่อให้ธุรกิจที่ต้องการนำ ChatGPT มาใช้งานใช้เป็นข้อมูลประกอบในการวางแผนงานได้เป็นอย่างดี

ChatGPT คืออะไร

ChatGPT ถือเป็นส่วนหนึ่งของ Generative AI ที่เป็นเทคโนโลยี AI ที่กำลังมาแรงในปี 2023 นี้ เป็นโมเดล Deep learning ของ AI ที่สามารถสร้างคอนเทนต์อะไรใหม่ๆ ขึ้นมาเองได้ โดยที่วิธีการใช้งานของ Generative AI ที่มีการนำมาใช้งานกันอยู่บ่อยๆ คือการนำภาษามาสร้างเป็นข้อความใหม่ หรือใช้ภาษาในการมาสร้างเป็นรูปภาพใหม่ ในส่วนของ ChatGPT เองนั้นจะเป็นการสร้างข้อความใหม่ๆ เป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นที่มาที่ของสิ่งที่เรียกว่า Large language model (LLM)  ซึ่งเป็นโมเดลขนาดใหญ่ที่เรียนรู้ลักษณะ โครงสร้าง และความหมายของภาษาที่มีอยู่บนอินเตอร์เน็ต ทำให้ ChatGPT สามารถเลียนแบบในการสร้างคอนเทนต์ใหม่จากการเรียนรู้โครงสร้างภาษาต่างๆ ได้ 

โดยที่ ChatGPT นั้นจะเป็นแอปพลิเคชันที่มีวิธีการทำงานโดยให้ผู้ใช้งานทำการสร้าง Prompt หรือคำถามที่ส่งเข้าไป Large language model ซึ่งก็คือตัว GPT (Generative Pre-trained Transformer) ซึ่ง GPT จะมีหลายเวอร์ชัน เวอร์ชันแรกจะเป็นเวอร์ชัน 3.5 และเวอร์ชันล่าสุดตอนนี้คือเวอร์ชัน 4.0 เป็นเวอร์ชันที่มีความสามารถเพิ่มมากขึ้นอีกเยอะพอสมควรจากเวอร์ชันเดิม และเมื่อเราส่ง Prompt ไปให้ ChatGPT แล้วนั้น GPT จะทำการวิเคราะห์ Prompt ที่ได้ส่งไป และทำการสร้าง หรือ Generate คำตอบที่เหมาะสมกลับมาจากความรู้ที่มีที่ได้เรียนรู้มาจากบนอินเตอร์เน็ต และส่งคำตอบกลับมาให้กับผู้ใช้งานเพื่อนำไปใช้งานต่อไป

จุดเด่น และข้อจำกัดของการนำ ChatGPT ไปใช้กับธุรกิจ ณ ตอนนี้ (ปี 2023)

ก่อนที่เราจะไปพูดถึงเคล็ด(ไม่)ลับที่ธุรกิจต้องรู้ในการนำ ChatGPT ไปใช้งานนั้น มาดูกันว่าจุดแข็ง และข้อจำกัดของ ChatGPT ณ ปัจจุบันนั้นมีอะไรบ้าง เพื่อให้ธุรกิจสามารถนำจุดแข็งของ ChatGPT มาใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และหาวิธีการรับมือกับข้อจำกัด หรือจุดอ่อนของ ChatGPT ได้ เพื่อให้การนำ ChatGPT มาใช้งานกับธุรกิจนั้นตอบโจทย์ขั้นตอนการทำงานขององค์กร และช่วยให้การทำงานเป็นไปราบรื่นได้มากที่สุด

จุดเด่นของ ChatGPT

  • เข้าใจบริบทที่ค่อนข้างกว้าง ทำให้สามารถจับใจความ และวิเคราะห์ข้อความได้ดี
  • ใช้เขียนบทความ บทสรุป และใช้ความรู้จากอินเตอร์เน็ตได้ดี
  • มีความรู้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต (ChatGPT version 3.5 จะเป็นความรู้ที่อัปเดตในปี 2021)
  • ใช้ภาษาได้สละสลวยเหมือนกับมนุษย์
  • สามารถเขียนโค้ดโปรแกรมได้ ทำให้ช่วยงานโปรแกรมเมอร์ได้มาก
  • เข้าใจข้อมูลในตารางได้ดี
  • รองรับ และเข้าใจได้หลายภาษา (แต่ ChatGPT จะเชี่ยวชาญภาษาไทยมากกว่าภาษาอังกฤษ)

จุดอ่อน และข้อจำกัดของ ChatGPT

  • แต่งเรื่อง (hallucinations) ที่ไม่ได้เป็นความจริงจากข้อมูลที่มีอยู่บนอินเตอร์เน็ต ต้องมีการตรวจสอบข้อมูลให้แน่ใจก่อนที่จะนำไปใช้งาน
  • ไม่เก่งภาษาไทย เมื่อเทียบกับภาษาอังกฤษ
  • ChatGPT ไม่มีความรู้เฉพาะทาง เรียนรู้แต่เฉพาะข้อมูลที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต (GPT3.5 up to 2021) ทำให้ถ้าหากไปถามข้อมูลเฉพาะทาง ChatGPT จะไม่สามารถตอบได้
  • อคติ และศีลธรรม เนื่องจากว่า ChatGPT จะเรียนรู้ข้อมูลจากในอินเตอร์เน็ต และนำข้อมูลเหล่านั้นมาตอบ ซึ่งไม่สามารถการันตีได้ว่าคำตอบนั้นจะเที่ยงตรง และไม่ผิดกับศีลธรรม
  • ยังไม่เข้าใจข้อมูลในรูปแบบมีโครงสร้าง เช่น ตารางได้ดีนัก (แต่สามารถสร้าง prompt ที่ช่วยได้)
  • การจำกัดการใช้งาน (availability) และยังมีราคาแพง

4 เคล็ด(ไม่)ลับที่ธุรกิจต้องรู้ในการนำ ChatGPT ไปใช้งาน

หากธุรกิจมีแผนที่จะนำ ChatGPT มาใช้งานหรือได้มีการนำ ChatGPT มาใช้งานองค์กรแล้วนั้น เราได้สรุป 4 เคล็ด(ไม่)ลับที่ธุรกิจต้องรู้ในการนำ ChatGPT มาใช้งาน ซึ่งเนื้อหาในส่วนนี้ดร.ภมรพล ชินะจิตร CEO ของเราได้แชร์เอาไว้ในงานสัมมนาออนไลน์ The Age of ChatGPT ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์อย่างมากกับธุรกิจที่สนใจนำ ChatGPT ไปใช้งานภายในองค์กรเพื่อให้ธุรกิจได้เรียนรู้ และนำเคล็ด(ไม่)ลับ 4 ข้อสำคัญนี้ไปใช้งานในการยกระดับขั้นตอนการทำงานด้วย ChatGPT ได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยเคล็ด(ไม่)ลับ 4 ข้อที่ดร.ภมรพลได้แชร์เป็นความรู้ให้กับธุรกิจมีดังต่อไปนี้

1. อคติ และลิขสิทธิ์ของการนำข้อมูลไปใช้งาน

เนื่องจาก ChatGPT เวอร์ชัน 3.5 นั้นจะเรียนรู้ข้อมูลได้ถึงแค่ปี 2021 เท่านั้นซึ่งก็อาจจะทำให้ข้อมูลที่เอามาตอบคำถามนั้นไม่อัปเดต และหากไปดึงข้อมูลเกี่ยวกับการเหยียดผิวมาตอบคำถามก็อาจจะเป็นประเด็นได้เช่นกัน รวมไปถึงการกลั่นกรองข้อมูลที่จะเอามาตอบคำถามก็อาจจะยังไม่ได้ดีมากนัก เช่น หาก ChatGPT ไปดึงข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตมาว่านักบาสเกตบอลที่เป็นคนผิวดำเป็นคนเก่ง แบบนี้ก็เรียกว่าเป็น  Stereotyping ประเภทหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นการเหมารวมโดยที่ยังไม่ได้มีการ กลั่นกรองก่อน เป็นต้น

รวมไปถึงว่า ChatGPT เองนั้นไปเรียนรู้ข้อมูลอาจจะติดลิขสิทธิ์หรือไม่ และในแง่ของธุรกิจของเรานั้นจะสามารถนำข้อมูลในส่วนนั้นมาใช้ได้หรือไม่ ซึ่งในจุดนี้เป็นเรื่องที่ธุรกิจจะต้องตรวจสอบ และเพิ่มความระวังก่อนที่นำข้อมูลที่ได้จาก ChatGPT มาใช้งาน

วิธีแก้ไข และรับมือเรื่องของอคติ และลิขสิทธิ์ของข้อมูล

  • อันดับแรกก่อนที่จะนำข้อมูลที่ได้จาก ChatGPT ไปใช้งานนั้น เราแนะนำเลยว่าธุรกิจจะต้องตรวจสอบก่อนทุกครั้ง รวมถึงก่อนที่จะนำข้อมูลที่ได้จาก AI ทุกตัวไปใช้งานจะต้องเช็กผลงานของ AI ทุกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่ได้จาก ChatGPT นั้นถูกต้อง และไม่ได้เป็นข้อมูลที่ติดลิขสิทธิ์ที่ไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้
  • ใช้เทคนิค RAG หรือ Retrieval Augmented Generation ซึ่งจะเป็นระบบที่คอยควบคุม ChatGPT ให้ตอบคำถามเฉพาะจากข้อมูลที่ธุรกิจกำหนดไว้เท่านั้น โดยเป็นข้อมูลที่ธุรกิจได้คัดกรอง และตรวจสอบแล้วว่าเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปใช้งานในธุรกิจได้ เพื่อลดความเสี่ยงของปัญหาการตอบคำถามที่อาจจะมีอคติ หรือไปนำคำตอบมาจากข้อมูลที่ติดลิขสิทธิ์ลงได้

2. การแต่งเรื่องขึ้นเอง และความรับผิดชอบ

เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ธุรกิจที่จะนำ ChatGPT ไปใช้งานนั้นต้องระวังเป็นพิเศษ ด้วยความที่ ChatGPT นั้นถือเป็น Generative AI ดังนั้นไม่ว่าเราจะถามอะไรกับ ChatGPT ไปนั้น ChatGPT จะพยายามตอบเราให้ได้ทั้งหมด ซึ่งบางครั้งคำตอบที่ ChatGPT ตอบนั้นก็ผิดได้เหมือนกัน หรืออาจจะตอบเกินจากความจริงไป รวมถึงเป็นการสร้างเรื่องขึ้นมา ดังนั้นอย่างที่ได้กล่าวไปในข้อแรกก่อนที่ธุรกิจจะนำข้อมูลที่ได้จาก ChatGPT ไปใช้งานนั้นต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจก่อนทุกครั้ง

วิธีแก้ไข และรับมือกับการแต่งเรื่องขึ้นเอง และความรับผิดชอบ

  • ธุรกิจต้องมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเช็กคำตอบ หรือสามารถไปตั้งค่า Configuration ใน ChatGPT ได้ว่าอยากให้ ChatGPT สร้างสรรค์คำตอบได้ในระดับไหน เช่น ให้ตอบในเฉพาะสิ่งที่เป็นความจริงเท่านั้น เป็นต้น
  • ใช้เทคนิค RAG (Retrieval Augmented Generation) เพื่อใช้ควบคุมให้ ChatGPT ตอบคำถามได้จากเฉพาะข้อมูลที่ธุรกิจได้ตรวจสอบมาแล้วเท่านั้น
ตัวอย่างการตอบคำถามของ ChatGPT โดยไม่ได้มีการกำหนด RAG (Retrieval Augmented Generation) เอาไว้
ตัวอย่างการตอบคำถามของ ChatGPT โดยไม่ได้มีการกำหนด RAG (Retrieval Augmented Generation) เอาไว้
ตัวอย่างการตอบคำถามของ ChatGPT ที่ได้มีการกำหนด RAG (Retrieval Augmented Generation) เอาไว้
ตัวอย่างการตอบคำถามของ ChatGPT ที่ได้มีการกำหนด RAG (Retrieval Augmented Generation) เอาไว้

3. ความแม่นยำในการตอบคำถาม

สมมติว่าธุรกิจอยากให้ ChatGPT ตอบคำถามเฉพาะข้อมูลที่เรากำหนดไว้เท่านั้น และก่อนที่จะส่งข้อมูลไปให้ ChatGPT ใช้ในการตอบคำถามนั้น ธุรกิจจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนทุกครั้งก่อนที่ป้อน หรือใส่ข้อมูลเข้าไปในระบบ รวมถึงอยากให้มองเป็นโซลูชันว่าแล้วธุรกิจจะมีวิธีในการจัดการกับความผิดพลาดได้อย่างไรบ้าง ซึ่งแน่นอนว่า ChatGPT เองนั้นก็มีโอกาสที่จะตอบผิดพลาดได้เช่นกัน แต่ถ้าหากเรามีขั้นตอนการทำงานที่จะสามารถรองรับสิ่งเหล่านี้ได้ เช่น ให้คนเข้ามาตรวจสอบข้อมูลตรงขั้นตอนไหน เพื่อทำให้ธุรกิจสามารถที่จะรับมือกับความไม่ถูกต้องของ AI ได้ดียิ่งขึ้น 

ตัวอย่างเช่น การนำแชทบอท AI เข้ามาใช้ตอบคำถามลูกค้า ซึ่งอาจจะมีบางคำถามที่แชทบอทตอบไม่ได้ ธุรกิจควรจะมี workflow ที่สามารถส่งคำถามที่แชทบอทไม่สามารถตอบได้ให้พนักงานเป็นคนช่วยตอบให้แทน หรือจะให้แชทบอทตอบไปก่อน และให้พนักงานมาตรวจสอบ และแก้ไขให้ถูกต้องในภายหลังได้ เป็นต้น 

รวมไปถึงการนำระบบ AI เหล่านี้ไปใช้ในการตัดสินใจก็ควรจะมีคนเป็นคนคอยเช็กคำตอบของ AI ได้แบบเรียลไทม์ หรือให้ AI ทำไปก่อน แล้วให้คนมาแก้ไขให้ตามไปทีหลัง หรือแม้กระทั่งว่าธุรกิจเองสามารถปล่อยให้ AI ทำงานเองได้เช่นกัน แต่ธุรกิจเองต้องกำหนดว่าความผิดพลาดที่ธุรกิจสามารถรับได้อยู่ที่ตรงจุดไหนเพื่อแลกกับประสิทธิภาพในการทำงานที่จะได้มา เป็นต้น

วิธีแก้ไข และรับมือกับความแม่นยำในการตอบคำถาม

  • ตรวจสอบข้อมูลทุกครั้งก่อนจะป้อน หรือใส่เข้าไปในระบบเพื่อให้ ChatGPT ใช้ในการตอบคำถาม
  • มี Human-loop ในการทำงานเสมอ เพื่อให้คนเป็นคนตรวจสอบการทำงานของ ChatGPT อีกที

4. ความปลอดภัย และข้อมูลรั่วไหล

เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หลายธุรกิจมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ PDPA หรือการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลภายในองค์กรจะรั่วไหลหรือไม่ หากมีการนำ ChatGPT มาใช้งานภายในองค์กร

วิธีแก้ไข และรับมือกับความปลอดภัย และข้อมูลรั่วไหล

  • นำเทคนิค RAG (Retrieval Augmented Generation) มาใช้งาน โดยที่ RAG จะเป็นตัวกลางที่สามารถควบคุมได้ว่าเราจะให้ ChatGPT ตอบคำถามได้อย่างไรบ้าง โดยที่เราจะนำระบบ RAG หรือระบบ AI อื่นๆ ในการคัดกรองข้อมูลที่ Sensitive เช่น ข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลที่อยู่ภายในองค์กรว่าข้อมูลในรูปแบบนี้ห้ามตอบให้คนกับที่อยู่ภายนอกองค์กร
  • ต้องมีความคุ้นเคยกับโมเดล Large language ที่ใช้อยู่ ตัวอย่างเช่น OpenAI บริษัทผู้สร้าง ChatGPT ขึ้นมานั้นมีการกำหนดเงื่อนไขการใช้งานไว้อย่างไรบ้าง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องศึกษา และพิจารณาให้ดีเมื่อมีการนำ ChatGPT ไปใช้งานเช่นกัน

สร้าง ChatGPT ใช้งานภายในองค์กรด้วยระบบ AI-Knowledge management

AIGEN ได้พัฒนาระบบ AI-Knowledge management ตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการยกระดับการค้นหาข้อมูลภายในองค์กรให้ทำได้อย่างสะดวก และรวดเร็วได้มากยิ่งขึ้น ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี NLP และ AI-OCR ทำให้สามารถประมวลผล และแปลงข้อมูลที่อยู่ในไฟล์เอกสาร หรือลิ้งค์ URL ต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ในการค้นหาต่อได้อย่างสะดวก และสามารถตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติด้วยความสามารถของเทคโนโลยี NLP และ ChatGPT เพื่อให้พนักงานสามารถนำข้อมูลไปใช้งานต่อได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังสามารถเทรนโมเดล AI ให้สามารถข้อมูลเฉพาะของแต่ละธุรกิจได้ โดยที่ธุรกิจสามารถนำระบบ AI-Knowledge management ไปเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของธุรกิจเพื่อใช้ในการตอบคำถามลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น เพียงแค่อัปโหลดข้อมูลของธุรกิจผ่านระบบหลังบ้าน หรือ Content management system ก็พร้อมใช้งานได้โดยทันที และยังมาพร้อมกับฟีเจอร์การใช้งานที่ครบครัน อำนวยความสะดวกให้กับการทำงานของธุรกิจยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น

  • รองรับการอัปโหลดไฟล์ได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ไฟล์ PDF, Word, Question & Answer (ไฟล์ Excel) และลิ้งค์ URL เว็บไซต์
  • ประมวลผลข้อมูล และเรียนรู้ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อนำไปใช้ในการเลือกแสดงผลคำตอบที่ดีที่สุดเวลาที่ผู้ใช้งานเข้ามาพิมพ์ค้นหาข้อมูลที่ต้องการ
  • รองรับการค้นหาทั้งแบบ Keyword search และการถาม-ตอบได้ตามบริบทที่ผู้ใช้งานพิมพ์สอบถามมา
  • เชื่อมต่อกับ ChatGPT เพื่อให้สามารถตอบคำถามด้วยภาษาที่สละสลวยได้มากยิ่งขึ้น
  • แสดงที่มาของข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกข้อมูลที่ดีที่สุดได้
  • ระบบ Content management system ที่ทำให้ธุรกิจสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างง่ายดาย และสะดวก

ต้องการสร้าง ChatGPT เพื่อใช้งานภายในองค์กร

ธุรกิจสามารถสร้าง ChatGPT ไว้ใช้งานภายในองค์กรเองได้ด้วยระบบ AI-Knowledge management ที่จะทำให้การค้นหาข้อมูลภายในองค์กรทำได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ธุรกิจในยุค Data-driven ได้เป็นอย่างดีโดยการนำข้อมูลมาใช้งานต่อยอดให้การทำงานทำได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

หากธุรกิจของคุณกำลังมองหาระบบ AI-Knowledge management ไปใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจของคุณ ผู้เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การออกแบบขั้นตอนการทำงาน จนถึงการนำระบบ AI-Knowledge management ไปใช้งานให้ประสบผลสำเร็จ ติดต่อเพื่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่

AIGEN Live chat