4 รูปแบบการนำระบบ AI ไปใช้กับธนาคาร และสถาบันการเงิน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยี AI ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับธุรกิจธนาคาร และการเงินเป็นอย่างมาก เพื่อก้าวให้ทันกับพฤติกรรมลูกค้า และการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหากสถาบันการเงินใดไม่ได้นำระบบ AI มาใช้งานอาจทำให้เสียโอกาสในการแข่งขัน และเสียโอกาสในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานได้ จากรายงานของกรุงเทพธุรกิจพบว่ากลุ่มธนาคารชั้นนำของไทยต่างผลักดันในการนำ AI มาใช้ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่า AI นั้นเป็นสิ่งที่จะสร้างความแตกต่าง และยกระดับความสำเร็จของสถาบันการเงินไปได้อีกขั้น
โดยการนำระบบ AI มาใช้กับธนาคาร และสถาบันการเงินนั้นสามารถนำมาใช้ได้ในหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของแต่ละธุรกิจ ในบทความนี้ AIGEN จะพามารู้จักกับรูปแบบการนำระบบ AI ไปใช้กับสถาบันการเงินกันให้มากยิ่งขึ้น
การนำระบบ AI ไปใช้กับธนาคาร และสถาบันการเงิน
การนำระบบ AI มาใช้กับธนาคาร และสถาบันการเงินนั้นจะช่วยยกระดับให้ขั้นตอนการทำงานทั้งระบบทำงานหน้าบ้าน (Front office) และระบบทำงานหลังบ้าน (Back office) ของธนาคาร และสถาบันการเงินทำได้อย่างรวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกับงานที่ต้องทำซ้ำๆ ไปมาบ่อยๆ และต้องรองรับการจำนวนการทำธุรกรรม (transactions) ที่มีจำนวนมาก การนำระบบ AI มาใช้งานนั้นจะช่วยลดภาระงานแมนนวล และงานของพนักงานได้เป็นอย่างมาก
นอกจากนั้นยังธนาคาร และสถาบันการเงินยังสามารถนำระบบ AI มาใช้งานกับการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากเพื่อนำเสนอสินค้า และบริการ รวมไปถึงโปรโมชั่นให้ตรงความต้องการของแต่ละบุคคลได้ (Personalized marketing) หรือการนำ AI มาใช้ในการพิจารณา และอนุมัติสินเชื่อจากแต่เดิมที่ต้องให้พนักงานเป็นคนในการตรวจสอบข้อมูลในเอกสารทั้งหมดซึ่งทำให้กว่าจะสามารถอนุมัติสินเชื่อให้ลูกค้าแต่ละที่นั้นต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก การนำ AI เข้ามาช่วยทำให้การพิจารณา และอนุมัติสินเชื่อทำได้อย่างรวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น
4 รูปแบบการนำระบบ AI ไปใช้กับธนาคาร และสถาบันการเงิน
1. AI สำหรับการยืนยันตัวตนลูกค้า
ก่อนที่ลูกค้าจะสามารถเข้ามาใช้บริการของธนาคารได้นั้น อันดับแรกลูกค้าจะต้องทำการยืนยันตัวตนก่อน ซึ่งในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่ต้องการความสะดวกทำให้ขั้นตอนการยืนยันตัวตนทำได้จากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ หรือที่เรียกกันว่าการยืนยันตัวตนออนไลน์ เพียงแค่ใช้สมาร์ตโฟนทำการยืนยันตัวตน
โซลูชันAI สำหรับการยืนยันตัวตนลูกค้าแบบออนไลน์จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับขั้นตอนการทำ Customer onboarding ของธนาคาร และสถาบันการเงินต่างๆ มากยิ่งขึ้น ด้วยการรวมบริการ OCR บัตรประชาชน และบริการเปรียบเทียบรูปถ่ายใบหน้ากับรูปถ่ายในบัตรประชาชนเพื่อให้ลูกค้าที่สนใจสมัครใช้บริการสามารถยืนยันตัวตนได้ด้วยตนเองผ่านทางแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ของสถาบันการเงินโดยที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สาขา อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบของ DOPA และ NDID ให้ได้เช่นกัน และหลังจากลูกค้าได้ยืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้วก็จะสามารถไปยังขั้นตอนการส่งเอกสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
การนำโซลูชัน AI ยืนยันตัวตนออนไลน์มาใช้งานนั้นจะช่วยให้ขั้นตอนการ Customer onboarding นั้นทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น และยังรองรับจำนวนธุรกรรมที่มีจำนวนมากขึ้นได้โดยที่ไม่ต้องเพิ่มคนมากนัก อีกทั้งยังสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการด้วยบริการที่แตกต่าง สะดวก และปลอดภัย
2. AI ประมวลผล และดึงข้อมูลจากเอกสาร
แน่นอนว่าเมื่อลูกค้าสมัครขอใช้บริการของธนาคาร และสถาบันการเงินนั้นจะต้องมีการ
กรอกแบบฟอร์ม พร้อมกับส่งเอกสารประกอบต่างๆ เช่น บัตรประชาชน สลิปเงินเดือน Bank statement และอื่นๆ เพื่อยื่นเป็นหลักฐานในการพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นทั้งการยื่นแบบออฟไลน์ หรือออนไลน์ เช่น การสมัครบัตรเครดิต หรือการยื่นขอสินเชื่อ เป็นต้น ซึ่งแต่เดิมเมื่อพนักงานได้รับเอกสารมาจะต้องทำการกรอกข้อมูลจากเอกสารเข้าไปในระบบของธนาคารเพื่อบันทึกข้อมูล และส่งต่อข้อมูลเหล่านี้เพื่อไปใช้ในขั้นตอนการพิจารณา และอนุมัติต่อไป ทำให้มีโอกาสที่ขั้นตอนอาจจะล่าช้า และข้อมูลผิดพลาดได้เช่นกันถ้าหากมีเคสลูกค้าเข้ามาพร้อมกันเป็นจำนวนมาก
การนำโซลูชัน AI-Powered OCR หรือ AI สำหรับการประมวลผล และดึงข้อมูลจากเอกสารเข้ามาใช้งานกับขั้นตอนการกรอกข้อมูลเข้าไปในระบบ (Data-entry) นั้นจะช่วยยกระดับการทำงานของสถาบันการเงินให้ทำได้อย่างรวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ลดภาระงานแบบแมนนวล และลดโอกาสที่ข้อมูลจะผิดพลาดลงได้ ทำให้ธนาคาร และสถาบันการเงินสามารถนำข้อมูลจากเอกสารไปใช้การพิจารณา และอนุมัติการใช้งานบริการทางการเงินต่างๆ ให้กับลูกค้าได้สะดวก รวดเร็ว และแม่นยำได้มากยิ่งขึ้น
โดยที่โซลูชัน AI-Powered OCR จาก AIGEN นั้นสามารถรองรับการอ่านเอกสารได้มากกว่า 20 ประเภท ทั้งเอกสารที่มีรูปแบบแน่นอน เช่น บัตรประชาชน ใบขับขี่ และเอกสารที่ไม่ได้มีรูปแบบที่แน่นอน เช่น Payslip และ Bank statement รวมทั้งยังสามารถ Customize business logic และ data-entry workflow ในการทำงานเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของแต่ละธุรกิจได้อีกด้วย
3. AI สำหรับการพิจารณา และอนุมัติสินเชื่อ
AI สำหรับการพิจารณา และอนุมัติสินเชื่อ หรือ โซลูชัน aiLending นั้นเป็นการต่อยอดมาจากการนำโซลูชัน AI-Powered OCR มาใช้ในการดึงข้อมูลจากเอกสารประเภทต่างๆ โดยเฉพาะกับเอกสาร OCR Bank statement ซึ่งถือเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการพิจารณา และอนุมัติสินเชื่อประเภทต่างๆ ซึ่ง AI จะเข้ามาช่วยทำให้การตรวจสอบข้อมูลใน Bank statement นั้นทำได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำได้มากยิ่งขึ้น
โดยที่ aiLending จะนำข้อมูลที่ดึงได้จากเอกสารมาวิเคราะห์ต่อว่ามีข้อมูลตรงไหนผิดปกติหรือไม่ เพื่อตรวจสอบว่าลูกค้าไม่ได้มีการปลอมแปลงข้อมูลในเอกสาร โดยที่สามารถสรุปข้อมูลเงินเดือนจาก Bank statement และสรุปข้อมูลวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี (OD) ได้ เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาสินเชื่อของลูกค้าแต่ละรายได้ดียิ่งขึ้น
รวมไปถึงสถาบันการเงินสามารถ Customize business logic และ workflow ได้ตามความต้องการเพื่อตรวจจับแพตเทิร์นของการทุจริตที่มักจะพบเจอบ่อยๆ ได้ เพื่อทำให้การวิเคราะห์ และการพิจารณาสินเชื่อทำได้อย่างรวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น
4. AI แนะนำ และตอบคำถามลูกค้าได้แบบเรียลไทม์
รูปแบบการนำ AI มาใช้ที่พบเห็นกันได้บ่อยที่สุดนั้นหนีไม่พ้น AI Chatbot หรือการนำ AI มาใช้ในแนะนำ และตอบคำถามลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ จากรายงานของกรุงเทพธุรกิจพบว่าช่องทางการติดต่อที่ลูกค้าติดต่อเข้ามาหาธนาคารชั้นนำแห่งหนึ่งนั้น 59% เป็นการติดต่อมาจากช่องทาง Chat และมากกว่า 95% ของการ chat นั้นเป็นการใช้ Chatbot ในตอบคำถามลูกค้า ซึ่งช่วยลดเวลาในการรอของลูกค้าไปกว่า 300,000 ชั่วโมง
เรียกได้ว่าการนำ AI Chatbot มาใช้ในการตอบคำถามลูกค้านั้นถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกธนาคาร และสถาบันการเงินจำเป็นต้องมีเพื่อตอบโจทย์กับพฤติกรรมของลูกค้ายุคใหม่ที่ต้องการความสะดวก และรวดเร็วในการใช้บริการ อีกทั้ง AI Chatbot ยังสามารถช่วยคัดกรองลูกค้าให้กับพนักงานให้บริการได้ว่าลูกค้าคนนี้ต้องส่งต่อไปยังพนักงานให้บริการหรือไม่ หากไม่ได้เคสที่ซับซ้อน AI Chatbot สามารถดำเนินการต่อให้ได้เองทันที เช่น การแจ้งข้อมูลบัญชีเบื้องต้น หรือคำแนะนำเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เป็นต้น แต่หากเป็นเคสที่ซับซ้อนต้องให้พนักงานเป็นคนดูแลจึงค่อยส่งต่อเคสไป ซึ่งจะช่วยแบ่งเบางานให้กับพนักงานให้บริการได้เป็นอย่างมาก ทำให้พนักงานมีเวลาที่จะโฟกัสกับเคสของลูกค้าที่มีความซับซ้อนกว่าได้มากขึ้น โดย AIGEN ได้พัฒนาระบบ AI-Powered Knowledge management system ซึ่งเป็นระบบที่ธนาคาร และสถาบันการเงินใช้ในการอัปโหลดข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสินค้า และบริการ คำถามที่ลูกค้ามักจะสอบถามมาบ่อยๆ หรือข้อมูลอื่นๆ เพื่อใช้ในการต่อยอดสร้างเป็น AI Chatbot เพื่อใช้ในการตอบคำถามลูกค้า และพนักงานได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว ที่จะช่วยให้ทั้งลูกค้า และพนักงานสามารถหาข้อมูลที่ต้องการ และแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง
ต้องการนำระบบ AI สำหรับธนาคาร และสถาบันการเงินไปใช้งาน
การนำ AI มาใช้กับธนาคาร และสถาบันการเงินนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ และไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป หากธุรกิจธนาคาร และสถาบันการเงินก้าวไม่ทันกับการนำ AI เข้ามาใช้งานกับธุรกิจอาจทำให้เสียโอกาสในการยกระดับขั้นตอนการทำงาน และเสียเปรียบในการแข่งขันในยุค AI-First ได้
หากต้องการนำโซลูชัน AI สำหรับธนาคาร และสถาบันการเงินไปใช้งานกับธุรกิจของคุณ ผู้เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การออกแบบขั้นตอนการทำงาน จนถึงการนำโซลูชัน AI สำหรับธนาคาร และสถาบันการเงินไปใช้งานให้ประสบผลสำเร็จ ติดต่อเพื่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่
ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้าน AI อัจฉริยะ พร้อมช่วยขับเคลื่อนการทำงานของธุรกิจ มีประสบการณ์ให้บริการโซลูชัน AI เพื่อองค์กรระดับประเทศมากมาย