Share

สร้างธุรกิจให้ชนะการแข่งขันด้วยกลยุทธ์ AI

เมื่อไม่นานมานี้ AI ได้ถูกพูดถึงในสื่อต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ Generative AI ที่สร้างความสนใจให้กับผู้คนในวงกว้างได้เป็นอย่างมาก เครื่องมือทั้ง 2 อย่างนี้ ไม่ว่าจะเป็น ChatGPT แชทบอทที่สร้างจากโมเดลภาษาขนาดใหญ่ และ Dall-E โปรแกรมการสร้างรูปภาพได้สร้างความตื่นเต้นให้กับสาธารณชนตั้งแต่ได้เปิดตัวเวอร์ชันทดลองไปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

นวัตกรรม AI เหล่านี้ถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ล้ำสมัยที่ได้มีการเปิดเผยออกสู่สาธารณชน อย่างไรก็ตามเนื่องจากเครื่องมือทั้ง 2 อย่างนี้เปิดให้คนใช้งานกันได้ฟรี แต่ผู้สร้าง และคิดค้นอย่าง Open AI ได้เปิดใจถึงความจริงที่ว่าเพื่อที่จะให้นวัตกรรม AI ที่ได้คิดค้นขึ้นมาเหล่านี้เติบโตได้อย่างยั่งยืน พวกเขาก็จะต้องเริ่มคิดถึงเรื่องการสร้างรายได้เหมือนกัน

และถ้าหากมาดูการนำ AI มาใช้ในภาคธุรกิจนั้น เรียกได้ว่าธุรกิจ หรือองค์กรในปัจจุบันมีความตื่นตัวเกี่ยวกับการนำ AI มาใช้งานภายในองค์กรเป็นอย่างมาก เนื่องจากธุรกิจเองต่างก็ต้องปรับตัวให้ก้าวทันกับพฤติกรรมลูกค้า และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป และเทคโนโลยี AI สามารถเข้ามาช่วยให้ขั้นตอนการทำงาน หรือหน้าที่งานบางอย่างสามารถทำได้แบบกึ่งอัตโนมัติ หรืออัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งแต่ละองค์กรอาจจะมีระดับ หรือความเร่งด่วนในการนำ AI ไปใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ในบทความนี้ AIGEN ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจที่ทาง Forbes ได้สรุปไว้ พร้อมทั้งจากประสบการณ์ที่ทาง AIGEN เองได้พูดคุยกับลูกค้าของเราในการนำ AI ไปใช้งานในธุรกิจว่ากลยุทธ์ All in on AI จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดี

เพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจด้วยกลยุทธ์ AI

นำ AI มาใช้แบบค่อยเป็นค่อยไป VS นำ AI มาใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ (All in on AI)

ในปัจจุบันเมื่อพูดถึงการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในเชิงธุรกิจ โดยทั่วไปธุรกิจมักจะเลือกหนึ่งในสองกลยุทธ์นี้ กลยุทธ์แรก คือเริ่มต้นนำ AI มาใช้แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจจะเริ่มต้นจากการทดลอง และนำร่องในโปรเจกต์เล็กๆ ดูก่อน ในขณะเดียวกันก็ใช้วิธีการ “รอดู” กับคำถามเกี่ยวกับองค์กร จริยธรรม ศีลธรรม และคำถามจากสังคมที่อยู่รอบตัวรวมตัวที่มีต่อการนำเทคโนโลยี AI มาใช้งานกับธุรกิจ

โดยกลยุทธ์แบบที่ 2 คือองค์กรที่ทุ่มสุดตัวกับการนำ AI มาใช้งาน หรือนำ AI มาใช้งานอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งองค์กรที่เลือกใช้วิธีที่มั่นใจกว่านั้นกำลังลงทุนสร้างเทคโนโลยีอันชาญฉลาด และระบบการทำงานแบบอัตโนมัติให้กับทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาทำ ในขณะเดียวกันองค์กรเหล่านี้ก็จะเป็นผู้นำในการตอบคำถามที่สำคัญต่างๆ 

บริษัทที่นำ AI มาใช้งานแบบครบวงจรนั้นเป็นชื่อของหัวข้อในหนังสือเล่มล่าสุดของ 2 นักเขียนที่สร้างชื่อเสียงได้อย่างรวดเร็วจากการคร่ำวอดอยู่ในแวดวงของ AI ได้แก่ Tom Davenport ที่มีประวัติ และชื่อเสียงมาอย่างยาวนาน รวมถึงยังเป็นศาสตราจารย์ดีเด่นด้าน IT และการจัดการของประธานาธิบดีที่ Babson College, ศาสตราจารย์รับเชิญที่ Said Business School, Oxford University และ Nitin Mittal ผู้เข้าร่วมโครงการ MIT Initiative on the Digital Economy และที่ปรึกษาอาวุโสด้านการนำ AI ไปใช้งานกับธุรกิจของ Deloitte ในขณะเดียวกันยังเป็นหัวหน้าฝ่าย Analytics และ AI Practice ที่ Deloitte Consulting อีกด้วย

การทุ่มสุดตัวหมายถึงอะไร? เมื่อพูดถึงการนำ AI มาใช้งานกับธุรกิจ

โดยในหนังสือเริ่มต้นจากการยกเคสของ Alphabet (บริษัทแม่ของ Google) มาเป็นตัวอย่างสำคัญของตัวอย่างบริษัทที่นำ AI มาใช้งานแบบครบวงจร ด้วยการนำเทคโนโลยี Machine learning มาเป็นตัวขับเคลื่อนบริการชื่อดังหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็น Google search, Google maps, Google assistant และ Gmail ในทางกลับกันผู้เขียนหนังสือชื่อดังทั้ง 2 คนได้กล่าวเน้นย้ำกับผู้เขียนบทความเมื่อไม่นานมานี้ว่าสำหรับพวกเขาแล้วสิ่งที่น่าสนใจกว่าที่ควรให้ความสำคัญคือบริษัทแบบดั้งเดิม ซึ่งบริษัทแบบดั้งเดิมเหล่านี้นั้นล้วนเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้งาน และปรับตัวให้เข้ากับการปฏิวัติทางด้าน AI แทนที่จะโฟกัสกับบริษัทที่ถือกำเนิดจากการปฏิวัติ AI  เช่นเดียวกับในกรณีของยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี

Nitin Mittal ได้กล่าวไว้ว่า “มีคนเขียนเกี่ยวกับศาสตร์ และเทคโนโลยี AI ไว้มากมาย ทั้งบทความ เรื่องเล่า และข่าวอัปเดตเกี่ยวกับบริษัทเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Google, Apple, Amazon, Meta, Nvidia นำ AI ไปใช้งาน เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่ค่อยมีคนเขียนว่าบริษัทแบบดั้งเดิมได้มีการนำ AI ไปปรับใช้กับธุรกิจเช่นกัน อะไรเป็นสิ่งที่บริษัทแบบดั้งเดิมกำลังโฟกัส และสนใจ? ถ้าคุณเลือกบริษัทที่อยู่มายาวนานกว่าบริษัทในแถบ Silicon Valley อะไรคือสิ่งที่ท้าทาย และเป็นแรงจูงใจสำหรับพวกเขาในการนำ AI มาใช้งาน”

Mittal และ Davenport เลือกที่จะจับตาดูบริษัทต่างๆ ที่วางเดิมพันสูงเกินตัวกับความสามารถของพวกเขาในการสร้างการเปลี่ยนแปลง และมูลค่าทางธุรกิจด้วย AI และเมื่อพวกเขาคำนวณดูแล้วนั้น กลุ่มบริษัทชั้นนำเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 1% ของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนี้?

Davenport ได้กล่าวไว้ว่า “ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการนำ AI มาใช้กับธุรกิจแบบครบวงจรนั้นต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก และต้องการการผลักดันจากผู้บริหาร คุณไม่สามารถทุ่มสุดตัวกับการนำ AI มาใช้งานภายในองค์กรได้โดยที่ปราศจากการสนับสนุนจาก CEO เพราะคุณต้องการคนจำนวนมากในการทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้น ซึ่งบริษัทที่เลือกใช้ All in on AI นั้นจะต้องจ้าง Data scientists, Machine learning engineers และตำแหน่งอื่นๆ”

 และอย่างที่เราได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่าการเตรียมคำตอบให้พร้อมสำหรับคำถามใหญ่ ๆ ที่ใครบางคนจะต้องถามคุณอย่างแน่นอนในประเด็นใดประเด็นหนึ่งนั้นเป็นสิ่งสำคัญ!

หากธุรกิจของคุณต้องการนำ AI มาใช้งานภายในองค์กร จะต้องคำนึงถึงเรื่องจริยธรรมเป็นสำคัญ บริษัทเหล่านี้เกือบทั้งหมดได้ทำงานที่น่าสนใจในด้านจริยธรรม โดยพยายามสร้าง AI ที่มีความรับผิดชอบ และมีความโปร่งใส และคิดอย่างรอบคอบว่าการนำ AI มาใช้งานจะส่งผลต่อรูปแบบ และกลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างไรบ้าง

มีบริษัทไหนบ้างที่เลือกใช้กลยุทธ์แบบ All in on AI?

ตัวอย่างบริษัทที่เลือกใช้กลยุทธ์ All in on AI

ท่ามกลางบริษัทต่างๆ Davenport และ Mittal ได้ยกตัวอย่างธุรกิจที่มีการนำ AI ไปใช้งานได้แบบไร้ข้อจำกัด ได้แก่บริษัทดังต่อไปนี้

  • Ping An : บริษัทยักษ์ใหญ่จากประเทศจีนได้มีการนำ AI ไปใช้ในหลากหลายธุรกิจย่อย ซึ่งครอบคลุมทั้งประกันภัย การเงินและธนาคาร การขนส่ง และเมืองอัจฉริยะ รวมถึงมีการโฟกัสการนำ AI ไปใช้งานในธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพมากเป็นพิเศษ
  • DBS Bank : ธนาคารแห่งใหญ่ที่สุดของาสิงค์โปร์ จากการที่ CEO ของ DBS Bank ได้กล่าวไว้ว่าคู่แข่งที่สำคัญที่สุดของ DBS นั้นไม่ใช่ธนาคาร และสถาบันการเงินเจ้าอื่นๆ แต่เป็นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่อย่าง Google และ Tencent
  • CCC Intelligent Solutions : บริษัท Insurtech จากเมืองชิคาโก้ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เป็นผู้ริเริ่มในการรวมเทคโนโลยี computer vision กับการวิเคราะห์ข้อมูล Big data เพื่อสร้างเป็นระบบที่ช่วยให้ลูกค้าได้รับเงินเกือบจะโดยทันทีจากรูปถ่ายของรถที่ถ่ายหลังจากการชน
  • Shell : ได้สร้างระบบ AI ที่ทำให้สามารถการสร้างระบบ AI ที่ช่วยให้พวกเขาสามารถใช้โดรน และ Computer vision เพื่อดำเนินการวิเคราะห์ท่อส่ง โรงกลั่น และโครงสร้างพื้นฐานได้ภายในหนึ่งสัปดาห์จากเดิมที่ต้องใช้เวลาหลายปี
  • Airbus : ได้สร้างระบบนิเวศของแพลตฟอร์มที่ใช้ AI ซึ่งช่วยให้ Airbus และบริษัทพันธมิตร เช่น สายการบิน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพเส้นทางการบิน การใช้เชื้อเพลิง และดำเนินการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์บนเครื่องบินได้

บริษัท All in on AI มีวิธีการทำงานกันอย่างไร?

ในขณะที่กำลังหาข้อมูลเพื่อเขียนหนังสือนั้น Davenport และ Mittal ได้ระบุถึง 3 ต้นแบบเชิงกลยุทธ์ ซึ่งบริษัทที่ขับเคลื่อนด้วย AI มักจะนำไปใช้งาน

กลยุทธ์แรก คือการแสวงหานวัตกรรม นั่นหมายถึงว่าองค์กรได้ใช้ AI เพื่อทำสิ่งใหม่ๆ ที่พวกเขา หรือคู่แข่งยังไม่เคยทำมาก่อนหน้านี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ได้แก่ บริษัท Morgan Stanley ที่เป็นบริษัทการเงินขนาดใหญ่ของอเมริกาได้สร้างเครื่องมือสำหรับการลงทุนได้แบบอัตโนมัติ อีกหนึ่งตัวอย่างคือบริษัท Airbus ที่ได้กล่าวไปข้างต้น

กลยุทธ์ที่สอง คือการมุ่งเน้นที่เรื่องการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการทำงาน (operational transformation) โดยกลยุทธ์นี้จะเป็นการใช้ AI เพื่อทำสิ่งต่างๆ ให้ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะหมายถึงได้ทุกอย่างตั้งแต่การสร้างช่องทางทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปจนถึงการปรับห่วงโซ่อุปทานให้เหมาะสม หรือการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด การพัฒนากลยุทธ์ราคาอันชาญฉลาด การปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง การปรับปรุงกระบวนการการทำ Data-entry ของธุรกิจ หรือระบบการสรรหาพนักงานที่ใช่สำหรับแต่ละตำแหน่งงาน 

กลยุทธ์ที่สาม คือองค์กรชั้นนำที่มีความเข้าใจในเกมส์ AI ได้อย่างถ่องแท้ว่าจะสามารถนำเทคโนโลยีขุมพลังนี้ไปสร้างอิทธิพลต่อพฤติกรรมลูกค้าได้อย่างไรบ้าง  ซึ่งรวมถึงวิธีการแยกลูกค้าออกจากข้อมูลที่บุกเบิกโดยบริษัทโซเชียลมีเดีย และขณะนี้ได้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกมากมาย รวมไปถึงการทำ Credit scoring หรือคะแนนเครดิต และกลยุทธ์ที่พัฒนาโดยบริษัทประกันสุขภาพ และประกันภัยรถยนต์ที่ต้องการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ดี ซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ และเทคโนโลยีกล่องดำ (Black-box)

ธุรกิจสามารถเรียนรู้จากบริษัท All-in on AI ได้อย่างไรบ้าง ?

จุดเรียนรู้ที่สำคัญจากหนังสือที่ผู้เขียน 2 ท่านนี้ได้เขียนไว้ นั่นคือพลังในการสร้างความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี AI นั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกับธุรกิจที่เป็น Tech company แต่เพียงเดียวเท่านั้น โดยผู้เขียนทั้ง 2 ท่านได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าถึงแม้ว่าจะมีความท้าทายมากมายที่ธุรกิจที่ไม่ได้เป็น Tech company ต้องก้าวข้ามผ่านเพื่อที่จะนำ AI ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นทั้งหมด

Mitta ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ในขณะที่เป็นเรื่องที่สำคัญที่จะต้องเข้าใจเทคโนโลยี และผลกระทบของ AI ในขณะเดียวกันก็ต้องทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นผลสืบเนื่องด้วยว่านั่นคือการเข้าใจมุมมองของพนักงาน และมองให้รอบด้านเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่จะใช้ ทำความเข้าใจบทบาทพื้นฐานของข้อมูล และความจริงที่ว่าข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ AI ทั้งหมด และความสามารถที่เกี่ยวข้องที่องค์กรต้องการ”

“ทุกแง่มุมเหล่านี้เป็นผลสืบเนื่องเป็นอย่างมากในองค์กรแบบดั้งเดิม มากกว่าแค่การนำ AI ไปใช้งาน และการทดลองเกี่ยวกับเทคโนโลยี”

พร้อมที่จะยกระดับธุรกิจของคุณด้วยกลยุทธ์ All-in on AI แล้วหรือยัง

AI ไม่ได้เป็นแค่ทางเลือก แต่เป็นทางรอดสำหรับธุรกิจในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเทคโนโลยี AI จะมาช่วยทุ่นแรงให้การทำงานของมนุษย์ทำได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงทำให้พนักงานมีเวลาที่จะโฟกัสการงานเชิงกลยุทธ์ และความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และขีดความสามารถให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดี

หากองค์กร หรือธุรกิจของคุณกำลังมองโซลูชัน AI ไปใช้งานเพื่อยกระดับการทำธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษาตั้งแต่การวางแผน และเลือกโซลูชัน AI ที่ตอบโจทย์กับธุรกิจ จนถึงการนำ AI ไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ สนใจติดต่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่

AIGEN Live chat