AI opportunity : โอกาสใหม่ให้ธุรกิจก้าวสู่ความสำเร็จขึ้นไปอีกขั้นด้วย AI
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยี AI ได้เข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการทำธุรกิจในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก จึงทำให้ธุรกิจหลากหลายประเภทที่ได้นำ AI เข้ามาใช้งาน หรือกำลังมองหาโอกาสในการนำ AI เข้ามาใช้งาน เพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจได้เติบโต และประสบความสำเร็จขึ้นไปอีกขั้น
และเมื่อองค์กรมองหาโอกาสที่จะนำ AI เข้ามาใช้งานนั้น สิ่งที่สำคัญที่องค์กร หรือธุรกิจต้องตัดสินใจนั่นก็คือต้องการนำ AI มาใช้ในรูปแบบใด และตอบโจทย์ธุรกิจในเรื่องใด โดยที่ทาง Gartner บริษัทที่ปรึกษาเทคโนโลยีชื่อดังได้จัดทำ AI opportunity radar framework ซึ่งเป็นแนวคิดที่ให้ธุรกิจสามารถนำไปใช้ในการพิจารณาในการเลือกรูปแบบการนำ AI มาใช้งานกับธุรกิจได้ดีมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้เราจะพาไปรู้จักกับ AI opportunity radar framework กันมากยิ่งขึ้น พร้อมกับตัวอย่าง AI Use case ที่ธุรกิจสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกันต่อได้
เป้าหมายทั่วไปในการนำ AI มาใช้งานภายในธุรกิจ
โดยทาง Gartner ได้สรุปถึงเป้าหมายการนำ AI มาใช้งานกับธุรกิจในปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ ดังต่อไปนี้
1. มุ่งมั่นในการเพิ่ม Productivity ภายในองค์กร
ธุรกิจที่มีเป้าหมายในการนำ AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในองค์กรนั้นมักจะนำ AI มาใช้เพื่อยกระดับการทำงานทั้งในงานที่เป็นด้านหน้า เช่น การให้บริการลูกค้า และงานด้านหลัง เช่น งานบัญชี ให้สามารถทำได้แบบเป็นอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงยังมองหา หรือมีแผนที่จะนำ AI มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถหลัก เช่น การพัฒนาสินค้า และบริการ ด้วยเช่นกัน
2. AI เพื่อใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น
เป็นการนำ AI มาใช้งานสำหรับภายในองค์กรเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการนำ AI มาใช้สำหรับงาน Back office หรือนำ AI มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน โดยที่ไม่ได้จุดประสงค์ที่จะนำ AI ไปใช้กับงานที่ต้องมีการติดต่อ และประสานงานกับลูกค้า
3. การนำ AI มาใช้ในทุกภาคส่วนขององค์กร
เป็นรูปแบบการนำ AI มาใช้ในวงกว้างขององค์กร ทั้งที่เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับลูกค้า และกับการใช้งานในการทำงานทั่วทั้งองค์กร
การนำ AI opportunity radar มาใช้งานกับธุรกิจ
AI opportunity radar เป็นเครื่องมือที่ทาง Gartner ได้คิดค้นขึ้นเพื่อให้ธุรกิจสามารถนำมาใช้ในการระบุ และวิเคราะห์โอกาสที่สามารถนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อสร้างคุณค่าให้กับองค์กร หรือธุรกิจในด้านต่างๆ โดยเครื่องมือนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถมองเห็นภาพรวมของโอกาสต่างๆ ที่จะนำ AI มาใช้ประโยชน์ได้ดีมากยิ่งขึ้น
โดยมิติแรกในการนำ AI ไปใช้งานให้ตอบโจทย์กับเป้าหมายธุรกิจนั้นจะแบ่งเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่
- Everyday AI : เป็น AI ที่ใช้ในการทำงานได้ในทุกวันซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดภาระงานบางอย่างที่จำเจ และน่าเบื่อให้น้อยลง หรือหมดไป แต่อย่างไรก็ตาม Everyday AI นั้นไม่ได้สามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจได้อย่างยั่งยืน
- Game changing AI : เป็น AI ที่ทำให้ธุรกิจสามารถคิดค้นความสามารถในการแข่งขันใหม่ๆ และสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ๆ ขึ้นมาได้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงว่า Game changing AI นั้นจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจ แต่ในขณะเดียวกันก็แน่นอนว่าย่อมต้องใช้เงินลงทุนที่สูงกว่า และมาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากกว่า
และในอีกหนึ่งมิติจะเป็นการพิจารณาธุรกิจจะนำ AI ไปใช้ในงานด้านที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้องกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการขาย การตลาด และการให้บริการลูกค้า รวมไปถึงด้านการพัฒนาสินค้า และบริการ หรือนำ AI มาใช้สำหรับขั้นตอนการทำงานภายในองค์กร ได้แก่ หน่วยงาน Support ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานบัญชี และการเงิน กฎหมาย HR และ IT หรือเป็นการนำ AI เพื่อใช้พัฒนาความสามารถหลักขององค์กร ได้แก่ หน่วยงาน R&D, Operation และ Supply chain
4 มิติในการนำ AI opportunity radar มาใช้งานกับธุรกิจ
1. งานที่ต้องติดต่อกับลูกค้า (Front office)
สำหรับงานด้านหน้าของธุรกิจ หรืองานที่ต้องติดต่อประสานงานกับลูกค้านั้น ไม่ว่าจะเป็น หน่วยงานขาย การตลาด และการให้บริการลูกค้า สามารถนำ Everyday AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นได้ เพื่อช่วยลดภาระงานแมนนวลของพนักงาน ทำให้พนักงานมีเวลาที่จะโฟกัสกับเชิงกลยุทธ์ได้มากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างการนำ AI มาใช้กับงาน Front office
- ระบบ Customer onboarding แบบไร้รอยต่อ : การนำระบบยืนยันตัวตนออนไลน์ หรือ e-KYC มาใช้เพื่อทำให้ลูกค้าสามารถยืนยันตัวตนได้ในทุกที่ และทุกเวลาทำให้ลูกค้าสามารถสมัครใช้บริการของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดภาระงานให้กับพนักงานที่สาขาได้เป็นอย่างมาก
- AI Chatbot : การนำ AI Chatbot เข้ามาใช้เพื่อช่วยคัดกรอง และตอบคำถามลูกค้าให้ในเบื้องต้น รวมไปถึงให้ AI Chatbot ช่วยจัดงานบางอย่างให้แบบอัตโนมัติจะช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดีจากการได้รับบริการแบบเรียลไทม์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- Sales lead optimization : การนำ AI มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเป็นลูกค้า (Leads) จะช่วยคัดกรอง Lead ที่มีศักยภาพสูงได้แบบอัตโนมัติเพื่อให้ทีมขายใช้เป็นข้อมูลในการติดตามการขายได้ดีมากยิ่งขึ้น
2. การพัฒนาสินค้า และบริการ
Game-changing AI จะเข้ามายกระดับการพัฒนาสินค้า และบริการให้แตกต่างจากคู่แข่ง และตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดเวลาการพัฒนาสินค้า และบริการด้วยฟีเจอร์ AI ที่พร้อมให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์นำไปใช้เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันได้โดยทันที
ตัวอย่างการนำ AI มาใช้กับงานพัฒนาสินค้า และบริการ
- การวางแผนเส้นทางการจัดส่งสินค้า : ธุรกิจสามารถนำ AI มาใช้เพื่อวางแผนเส้นทางการจัดส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
- ซอฟต์แวร์ที่ใช้ AI เป็นตัวขับเคลื่อน : ธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถนำ AI มาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับการทำงานซอฟต์แวร์ให้ตอบโจทย์กับการใช้งานได้มากยิ่งขึ้น
- Recommendation engine : AI มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากได้เป็นอย่างดี จึงทำให้สามารถนำ AI มาใช้เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า และแนะนำสินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์กับลูกค้าแต่ละบุคคลได้
3. งานหลังบ้าน (Back-office)
สำหรับงาน Back-office หรือระบบหลังบ้านนั้น ไม่ว่าจะเป็นงานด้านบัญชี HR กฎหมาย IT หรืองานแอดมิน ธุรกิจสามารถนำเครื่องมือ Everyday AI มาใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดภาระงานแบบแมนนวล ให้ขั้นตอนการทำงานภายในบางอย่างสามารถทำได้แบบอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างการนำ AI มาใช้กับงาน Back-office
- ระบบ AI-OCR ดึงข้อมูลจากใบแจ้งหนี้ : ธุรกิจสามารถนำระบบ AI-OCR มาใช้เพื่อประมวลผล และดึงข้อมูลจากใบแจ้งหนี้ได้แบบอัตโนมัติ เพื่อนำข้อมูลที่ดึงได้จากใบแจ้งหนี้ไปใช้งานต่อได้อย่างรวดเร็ว และทำให้ขั้นตอนการทำ Data-entry workflow ทำได้อย่างอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น
- ระบบ AI-Knowledge management : ช่วยยกระดับการค้นหาข้อมูลภายในองค์กรด้วยระบบ AI-Knowledge management ที่รองรับทั้งการค้นหาด้วยคีย์เวิร์ด และการถาม-ตอบ ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล และหมดกังวลเรื่องการหาข้อมูลไม่เจอ
- ระบบ Workflow automation : ธุรกิจสามารถลดงานแมนนวลบางอย่างลงได้จากการกำหนด Workflow automation มาช่วยในการทำงาน เพื่อให้ขั้นตอนงานบางอย่างสามารถทำได้แบบอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น กำหนดขั้นตอนการทำ Data-entry workflow automation เป็นต้น
4. เพิ่มขีดความสามารถหลักขององค์กร
Game-changing AI เป็น AI ที่ธุรกิจสามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถหลักให้กับธุรกิจได้ ซึ่งจะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับสินค้า และบริการ รวมถึงสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่ใช้มาใช้บริการให้กลับมาใช้บริการซ้ำอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยให้ลูกค้าแนะนำ และบอกต่อกับคนใกล้ชิดให้มาใช้บริการ ช่วยลดต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ให้กับธุรกิจ
ตัวอย่างการนำ AI มาใช้กับการเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจ
- การตรวจจับสินค้ามีตำหนิในสายการผลิต : ธุรกิจสามารถนำระบบ AI ในการตรวจจับภาพเพื่อมาใช้ในการตรวจจับสินค้าที่มีตำหนิในสายการผลิตได้แบบอัตโนมัติ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินค้าที่ได้นำไปจัดจำหน่ายนั้นอยู่ในสภาพที่พร้อมนำไปขายกับลูกค้าได้
- ระบบ Workflow automation : ขั้นตอนการเคลมถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากกับธุรกิจประกัน จึงทำให้การนำ AI สำหรับการเคลมประกันมาใช้งานเพื่อยกระดับการเคลมประกันให้ทำได้อย่างรวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้นจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถ และสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดี
ต้องการนำ AI ไปใช้งานกับธุรกิจ
การนำ AI มาใช้งานกับธุรกิจนั้นสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเป้าหมาย และโจทย์ของแต่ละธุรกิจว่าต้องการนำ AI ไปใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับธุรกิจในด้านใดบ้าง โดยการนำแนวคิด AI oppotunity radar framework มาใช้เพื่อประเมินว่ารูปแบบการนำ AI มาใช้แบบใดที่จะตอบโจทย์ และสร้างคุณค่า รวมไปถึงมูลค่ากับธุรกิจได้มากที่สุดจะช่วยให้ธุรกิจเห็นภาพในการนำ AI มาใช้งานภายในองค์กรได้ดีมากยิ่งขึ้น
หากธุรกิจต้องการปรึกษาการนำ AI ไปใช้งานกับธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบขั้นตอนการทำงาน การเลือกโซลูชัน AI ที่ตอบโจทย์กับความต้องการของธุรกิจไปจนถึงการนำ AI ไปใช้งานให้ประสบผลสำเร็จ สามารถติดต่อเพื่อปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญของเราฟรี! ได้ที่นี่
ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้าน AI อัจฉริยะ พร้อมช่วยขับเคลื่อนการทำงานของธุรกิจ มีประสบการณ์ให้บริการโซลูชัน AI เพื่อองค์กรระดับประเทศมากมาย