Share

6 มิติใหม่ในการนำระบบ e-KYC มาใช้กับธุรกิจ

ในปัจจุบันที่การทำธุรกรรมต่างๆมักจะเป็นธุรกรรมที่สามารถทำได้บนออนไลน์ จึงทำให้ธุรกิจจึงต้องนำเทคโนโลยีมาตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่ออำนวยความสะดวก ยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรม และสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ ทำให้หลายธุรกิจมีการนำการยืนยันตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-KYC มาใช้งานกันมากขึ้น เพื่อทำความรู้จัก และยืนยันตัวตนของลูกค้าที่มาทำธุรกรรมได้ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครครั้งแรก และการยืนยันตัวตนเพื่อทำธุรกรรมในครั้งต่อๆไป เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายต่างๆที่ได้มีการระบุให้ธุรกิจบางประเภทต้องมีการทำ e-KYC ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเรามักจะพบเจอการทำ e-KYC กับการทำธุรกรรมทางเงินเป็นส่วนใหญ่ แต่จริงๆแล้วการยืนยันตัวตนสามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลายธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพิสูจน์ตัวตนของผู้มาใช้บริการว่าตรงตามกับข้อมูลที่ผู้ใช้บริการได้กรอกมาในระบบผ่านทางช่องทางต่างๆ ในบทความนี้ AI GEN จะพอมาดูตัวอย่างการนำ e-KYC ไปใช้งานในธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือจากธุรกิจการเงิน และธนาคาร

รูปแบบการยืนยันตัวตนออนไลน์สำหรับธุรกิจ

การยืนยันตัวตนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-KYC คืออะไร

KYC หรือ Know Your Customer คือการที่ธุรกิจต้องรู้จักตัวตนของลูกค้าที่มาทำธุรกรรมด้วย ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครทำธุรกรรมครั้งแรก และการยืนยันตัวตนเพื่อทำธุรกรรมในครั้งต่อๆไป ซึ่งทุกวันนี้มีข้อกฎหมายมากมายจากการป้องกันการฟอกเงิน การป้องกันการสนับสนุนการก่อการร้าย หรือเป็นกฎที่ไว้คุ้มครองผู้บริโภคจากการทุจริต ที่บังคับให้ธุรกิจต้องมีการทำ KYC 

ส่วนการทำ e-KYC หรือ electronic KYC นั้นก็คือการทำความรู้จักลูกค้า และลูกค้าสามารถยืนยันตัวตนผ่านทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้นั่นเอง

การทำ KYC โดยทั่วไปต้องครอบคลุมถึง

  • การเก็บ และตรวจสอบความแท้จริงของหลักฐานเอกสารประกอบการยืนยันตัวตน เช่น บัตรประชาชน หรือ เอกสารที่ได้รับการรับรองสำหรับการยืนยันอัตลักษณ์
  • การตรวจสอบว่าลูกค้าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับในเอกสารนั้นหรือไม่
  • การเก็บข้อมูลการยืนยันตัวตนไว้อย่างปลอดภัย และสามารถนำมาใช้ได้เมื่อลูกค้ากลับมาทำธุรกรรมใหม่

การทำ e-KYC นั้น สามารถทำได้โดยใช้คนในลักษณะ Face-to-face ผ่านระบบ VDO conference แต่ในทุกวันนี้ การพิสูจน์ตัวตนทางไกลผ่านสมาร์ทโฟนโดยอัตโนมัติจากการใช้เทคโนโลยี AI สามารถทำได้ง่ายมากขึ้น เช่น การเทียบใบหน้าที่ถ่ายจากการเซลฟี่กับรูปถ่ายบนบัตรประชาชนว่าเป็นคนคนเดียวกันหรือไม่ แต่ในบางกรณีที่ธุรกรรมมีความเสี่ยงต่อความเสียหายมาก อาจมีความจำเป็นต้องใช้วิธีที่รัดกุมมากกว่านั้น เช่น การต้องใช้ข้อมูลจาก dip chip ที่ฝังอยู่ในบัตรประชาชนเพื่อยืนยันว่าเป็นตัวบัตรประชาชนของจริง ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องอ่านพิเศษตามสาขาหรือตู้ให้บริการตามจุดต่างๆ ทุกวันนี้ ประเทศไทยมีแพลตฟอร์มบริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (National Digital ID or NDID) ไว้ให้บริการโดยส่วนใหญ่เป็นธนาคารที่ได้รับอนุญาตการให้บริการการยืนยันตัวตนผ่านแพลตฟอร์มกลางของ NDID ซึ่งเริ่มจากการไปยืนยันตัวตนที่สาขาของธนาคารกับพนักงาน และใช้เครื่องอ่านบัตรประชาชนแบบเอนกประสงค์เพื่อทำการเก็บข้อมูลชีวมิติ ได้แก่ ใบหน้า และหลังจากนั้นสามารถทำการยืนยันตัวตนทางไกลผ่านการใช้ Smart device เช่น สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตได้เลยโดยไม่ต้องไปที่สาขา ส่วนธุรกรรมบางอย่างที่ไม่ได้มีความเสี่ยงสูง การทำ e-KYC โดยอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น AI ที่ได้มาตรฐานสากลหรือมาตรฐานที่ยอมรับโดยทั่วไปอย่างเดียวก็อาจเพียงพอ

6 มิติใหม่ในการนำ e-KYC มาใช้กับธุรกิจ

1. Tinder เพิ่มขั้นตอนการยืนยันตัวตนให้ผู้ใช้งานออกเดทได้อย่างปลอดภัย

ฟีเจอร์ photo verification
ฟีเจอร์ Tinder photo verification (Credit ภาพประกอบ : The Verge)

เมื่อเดือนสิงหาคม 2021 ที่ผ่านมา Tinder แพลตฟอร์มหาคู่ออนไลน์ชื่อดัง ได้ประกาศว่าจะมีการนำ ID verification หรือการยืนยันตัวตนเข้ามาใช้งานกับผู้ใช้งาน Tinder ทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัย และมั่นใจว่าคู่เดทที่ผู้ใช้งาน swift และ match ที่ได้จากการใช้งาน Tinder นั้นเป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง และสามารถควบคุมได้ว่าจะสร้างปฏิสัมพันธ์กับใคร 

โดยการนำฟีเจอร์ ID verification เข้ามาใช้งานนั้น ผู้ใช้งาน Tinder สามารถยืนยันตัวตนได้โดยการอัพโหลดเอกสารเข้ามาในแอปพลิเคชัน โดยเอกสารที่สามารถใช้ในการยืนยันตัวตนจะแตกต่างกันออกไปตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศ เช่น ในประเทศญี่ปุ่นที่มีการปล่อยฟีเจอร์ ID Verification ให้ใช้งานตั้งแต่เมื่อปี 2019 กำหนดให้ใช้พาสปอร์ต หรือเอกสารอื่นๆที่มักจะใช้ในการยืนยันตัวตนได้

นอกจากนั้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา Tinder มีการปล่อยฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ใช้งานมากกว่า 10 ฟีเจอร์ ทำให้เห็นว่า Tinder เองนั้นให้ความสำคัญกับการลงทุนในการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการลดโอกาสในการไม่เปิดเผยตัวตน ยกระดับความรับผิดชอบ และช่วยให้ผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัยเมื่อใช้งาน Tinder ด้วยตัวอย่างฟีเจอร์ เช่น Photo verification ที่ผู้สมัครใช้งาน Tinder จะต้องทำการถ่ายรูปเซลฟี่ใบหน้าของตัวเองแบบเรียลไทม์ตามที่ท่าทาง Tinder กำหนดเพื่อเป็นยืนยันตัวตนว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับในรูปโปรไฟล์ หากทำการยืนยันตัวตนด้ายใบหน้าเรียบร้อยแล้ว Tinder จะมีแสดงสัญลักษณ์เครื่องหมายถูกสีฟ้าไว้หลังชื่อผู้ใช้งาน เพื่อทำให้คู่เดทมั่นใจได้ว่าบุคคลนี้เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริง รวมไปถึงฟีเจอร์อื่นๆอย่าง Noonlight เพื่อให้บริการการช่วยเหลือฉุกเฉิน และ Face-to-face video chat อีกทั้ง Tinder ยังได้ประกาศว่าจะร่วมลงทุนใน Garbo แพลตฟอร์มในการตรวจสอบประวัติของแต่ละบุคคล เรียกได้ว่าลงทุนในเทคโนโลยีที่จะสร้างความปลอดภัย และความมั่นใจให้กับผู้ใช้งาน Tinder อย่างเต็มกำลัง 

2. Uber ยกระดับความปลอดภัยให้กับคนขับด้วยฟีเจอร์การยืนยันตัวตนสำหรับผู้ใช้บริการ

การยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ
ขั้นตอนการยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ Uber (Credit ภาพประกอบ : Uber)

เมื่อต้นเดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมา Uber ผู้ให้บริการบริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชันชื่อดังจากประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศใช้ระบบยืนยันตัวตนสำหรับผู้โดยสาร Uber เพื่อแก้ปัญหาเรื่อง Carjacking หรือการจี้รถเพื่อให้ขับไปตามที่คนร้ายต้องการที่เกิดขึ้นที่รัฐชิคาโก้ และยกระดับความปลอดภัยให้กับทั้งคนขับ และผู้ใช้บริการ โดยผู้ใช้บริการ Uber จำเป็นต้องทำการยืนยันตัวในกรณีที่ผู้ใช้บริการเลือกวิธีการชำระค่าโดยสารด้วยบัตรเดบิต บัตรกำนัล (gift card) หรือ การจ่ายเงินผ่าน venmo (บริการ E-wallet ในประเทศสหรัฐอเมริกา) เนื่องจากรูปแบบการชำระเงินเหล่านี้ไม่มีการระบุตัวตนว่าใครเป็นคนชำระเงิน ผู้ใช้บริการ Uber ที่ตั้งค่าบัญชีการใช้งานให้ใช้วิธีการจ่ายเงินที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้เหล่านี้จำเป็นต้องอัพโหลดเอกสารใบขับขี่ บัตรประชาชน หรือพาสปอร์ตเพื่อดำเนินการยืนยันตัวตนก่อนที่จะใช้บริการต่างๆบนแอปพลิเคชัน ซึ่งขั้นตอนการยืนยันตัวตนที่เพิ่มขึ้นมานี้จะช่วยยับยั้งไม่ให้เกิดเคสที่คนต้องการจะใช้แอปพลิเคชันเพื่อก่อเหตุอันตรายได้ อีกทั้งขั้นตอนการยืนยันตัวตนนี้ได้ถูกนำไปใช้กับบริการส่งอาหาร UberEats เช่นกัน

อีกทั้ง Uber ยังมีขั้นตอนในการตรวจสอบการฉ้อโกง และการยืนยันตัวตั้งแต่ต้นจบจบกระบวนการสร้างบัญชีผู้ใช้งาน ขั้นตอนการเดินทาง และกิจกรรมอื่นๆ ตัวอย่างเช่นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา Uber ได้ใช้ฟีเจอร์ที่มีชื่อว่า Social Connect globally ที่จะช่วยยืนยันตัวตนเมื่อมีผู้ใช้บริการที่จ่ายเงินผ่านช่องทางที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ผ่านทางโซเชียลมีเดีย

3. เพิ่มความมั่นใจการซื้อขายทองออนไลน์ด้วยระบบ e-KYC

การยืนยันตัวตนออนไลน์สำหรับการซื้อขายทอง

การลงทุนในทองคำแท่งเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน จึงทำให้ปัจจุบันห้างทอง หรือผู้ให้บริการซื้อขายทองคำแท่งต่างหันมาใช้ช่องทางออนไลน์ในการซื้อขายทองแท่งกันมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ที่สนใจลงทุนในทองสามารถซื้อขายกันได้อย่างสะดวก โดยตามกฎหมายที่ทางปปง. หรือสำนักงานป้องกันและปรามปราบการฟอกเงินได้กำหนดไว้ว่าให้ร้านทองจัดทำขั้นตอนการยืนยันตัวตนของลูกค้าในกรณีที่ลูกค้ามีการทำธุรกรรมตั้งแต่ 1 แสนบาทขึ้นไปหรืออาจมีความเชื่อมโยงต่อเนื่อง โดยการใช้หลักฐานบัตรประชาชนในการยืนยันตัวตน และร้านทองต้องมีการเก็บข้อมูลไว้ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่มีการซื้อ-ขายทองคำ (ปปง.มีโอกาสตรวจสอบ โดยจะพิจารณาตามความเสี่ยง)

4. หมดกังวลเรื่องความไม่โปร่งใสในการเรียนออนไลน์ด้วยการยืนยันตัวตนออนไลน์

การยืนยันตัวตนสำหรับการเรียนออนไลน์

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาทำให้การเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาต้องปรับเป็นการเรียนการสอนแบบออนไลน์กันทั้งหมด โดยการยืนยันตัวตนออนไลน์จะเข้ามาช่วยสถาบันการศึกษา และแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ต่างๆในการเช็คชื่อนักเรียนที่เข้าเรียน และทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่เรียนจนจบคอร์ส เพื่อป้องกันการโกงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยสามารถทำได้โดยการให้ผู้เรียนอัพโหลดบัตรประชาชนลงไปในระบบ หลังจากนั้นผู้เรียนจะต้องถ่ายรูปเซลฟี่จากกล้องของคอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ต ระบบจะทำการเปรียบเทียบรูปถ่ายใบหน้ากับรูปถ่ายในบัตรประชาชนโดยอัตโนมัติเพื่อยืนยันตัวตนว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ หากเป็นคนคนเดียวกันระบบจะทำการเช็คการเข้าเรียนให้ได้โดยอัตโนมัติ เรียกได้ว่าระบบการยืนยันตัวตนออนไลน์จะลดภาระให้กับอาจารย์ผู้สอนในการเช็คชื่อนักเรียน ให้อาจารย์มีเวลาโฟกัสกับการเตรียมเนื้อหา และการสอนได้อย่างเต็มที่นั่นเอง อีกทั้งยังช่วยลดปัญหากลโกงต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นกัน

5. ยกระดับความปลอดภัยด้วยระบบการยืนยันตัวตนสำหรับตัวแทนจำหน่าย

จากเดิมที่ธุรกิจที่ขายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายจะให้ตัวแทนจำหน่ายเข้ามาสั่งซื้อสินค้าในระบบด้วยการล็อกอินเข้าระบบด้วย Username และ Password ซึ่งอาจจะยังมีช่องโหว่ในเรื่องของความปลอดภัยในการทำธุรกรรม โดยอาจจะมีผู้ไม่ประสงค์ดีนำ Username และ Password ไปใช้งานในทางที่ไม่ถูกต้องได้ จึงทำให้หลายๆ ธุรกิจที่จำหน่ายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่ายได้นำการยืนยันตัวตนออนไลน์เข้ามาใช้งานแทนการใช้ระบบ Username และ Password แบบเดิมเพื่อยกระดับความปลอดภัยในการให้ตัวแทนจำหน่ายเข้าใช้งานระบบของธุรกิจ ทำให้ธุรกิจมั่นใจได้ว่าผู้ที่เข้าใจงานเป็นตัวแทนจำหน่ายที่ได้ลงทะเบียนไว้ และทำให้ตัวแทนจำหน่ายทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างปลอดภัย และสะดวกมากยิ่งขึ้น

6. ลงทะเบียนระบบสมาชิกของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัยด้วยระบบยืนยันตัวตนสมาชิก

ธุรกิจที่ต้องมีให้สมาชิก หรือคู่ค้าทางธุรกิจลงทะเบียนสมาชิกเพื่อรับสิทธิพิเศษต่างๆ จึงทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบในการยืนยันตัวตนของสมาชิกเพื่อให้มั่นใจได้ว่าคนที่จะได้รับผลประโยชน์ หรือสิทธิพิเศษต่างๆ จากธุรกิจนั่นเป็นบุคคลคนเดียวกันกับบุคคลที่ได้ยืนยันตัวตนไว้ และยังช่วธุรกิจประหยัดเวลา และอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ต้องการเป็นสมาชิกให้สามารถยืนยันตัวตนได้ผ่านทางช่องทางออนไลน์ได้จากทุกที่ และทุกเวลาโดยที่ไม่ต้องเดินทางเข้ามาที่สำนักงานของธุรกิจ เพื่อให้ขั้นตอนทางธุรกิจทำได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจด้วยบริการที่สะดวก ทันสมัย และปลอดภัย

กำลังมองหาระบบ e-KYC ยืนยันตัวตนออนไลน์ไปใช้งานกับธุรกิจ

การยืนยันตัวออนไลน์ หรือ e-KYC สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายธุรกิจไม่จำกัดอยู่แค่เพียงธุรกิจการเงิน และธนาคาร โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อยกระดับความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน รวมถึงในมุมของธุรกิจเองทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ที่มาสมัครใช้บริการเป็นบุคคลเดียวกันกับในข้อมูลที่ได้กรอกเข้ามาในระบบ เรียกได้ว่า win-win กันทั้งสองฝ่ายทั้งฝั่งของผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการ โดยระดับของการยืนยันตัวตนจะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของธุรกรรมตามที่กฏหมายต่างๆได้กำหนดไว้นั่นเอง

ธุรกิจไหนที่กำลังมองหาโซลูชันการยืนยันตัวตนออนไลน์ หรือ AI-Powered e-KYC ไปใช้งาน ผู้เชี่ยวชาญ AI GEN ยินดีให้บริการคำปรึกษาการนำ e-KYC ไปใช้กับธุรกิจตั้งแต่การวางแผนจนถึงการเชื่อมต่อระบบ สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเราได้ที่นี่

AIGEN Live chat