Share

การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) คืออะไร

KYC หรือ Know Your Customer คือการที่ธุรกิจต้องรู้จักตัวตนของลูกค้าที่มาทำธุรกรรมด้วย ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครครั้งแรก และการยืนยันตัวตนเพื่อทำธุรกรรมในครั้งต่อๆไป ซึ่งทุกวันนี้มีข้อกฎหมายมากมายจากการป้องกันการฟอกเงิน การป้องกันการสนับสนุนการก่อการร้าย หรือเป็นกฎที่ไว้คุ้มครองผู้บริโภคจากการทุจริต ที่บังคับให้ธุรกิจต้องมีการทำ KYC ส่วนการทำ e-KYC หรือ electronic KYC นั้นก็คือการทำความรู้จักลูกค้า และสามารถยืนยันตัวตนผ่านทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้นั่นเอง

KYC โดยทั่วไปต้องครอบคลุมถึง

  • การเก็บ และตรวจสอบความแท้จริงของหลักฐานเอกสารประกอบการยืนยันตัวตน เช่น บัตรประชาชน หรือ เอกสารที่ได้รับการรับรองสำหรับการยืนยันอัตลักษณ์
  • การตรวจสอบว่าลูกค้าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับในเอกสารนั้นหรือไม่
  • การเก็บข้อมูลการยืนยันตัวตนไว้อย่างปลอดภัย และสามารถนำมาใช้ได้เมื่อลูกค้ากลับมาทำธุรกรรมใหม่
ภาพประกอบ : Canva

การทำ e-KYC นั้น สามารถทำได้โดยใช้คนในลักษณะ Face-to-face ผ่านระบบ VDO conference แต่ในทุกวันนี้ การพิสูจน์ตัวตนทางไกลผ่านสมาร์ทโฟนโดยอัตโนมัติจากการใช้เทคโนโลยี AI สามารถทำได้ง่ายมากขึ้น เช่น การเทียบใบหน้าที่ถ่ายจากการทำ selfie กับรูปถ่ายบนบัตรประชาชนว่าเป็นคนคนเดียวกันหรือไม่ แต่ในบางกรณีที่ธุรกรรมมีความเสี่ยงต่อความเสียหายมาก อาจมีความจำเป็นต้องใช้วิธีที่รัดกุมมากกว่านั้น เช่น การต้องใช้ข้อมูลจาก dip chip ที่ฝังอยู่ในบัตรประชาชนเพื่อยืนยันว่าเป็นตัวบัตรประชาชนของจริง ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องอ่านพิเศษตามสาขาหรือตู้ให้บริการตามจุดต่างๆ ทุกวันนี้ ประเทศไทยมีแพลตฟอร์มบริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (National Digital ID or NDID) ไว้ให้บริการโดยส่วนใหญ่เป็นธนาคารที่ได้รับอนุญาตการให้บริการการยืนยันตัวตนผ่านแพลตฟอร์มกลางของ NDID ซึ่งเริ่มจากการไปยืนยันตัวตนที่สาขาของธนาคารกับพนักงาน และใช้เครื่องอ่านบัตรประชาชนแบบเอนกประสงค์เพื่อทำการเก็บข้อมูลชีวมิติ ได้แก่ ใบหน้า และหลังจากนั้น สามารถทำการยืนยันตัวตนทางไกลผ่านการใช้ smart device เช่น สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตได้เลยโดยไม่ต้องไปที่สาขา ส่วนธุรกรรมบางอย่างที่ไม่ได้มีความเสี่ยงสูง การทำ e-KYC โดยอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น AI ที่ได้มาตรฐานสากลหรือมาตรฐานที่ยอมรับโดยทั่วไปอย่างเดียวก็อาจเพียงพอ

การเทียบหน้ากับรูปบนบัตรประชาชน

ภาพประกอบ : Canva

วิธีการทำ e-KYC รูปแบบหนึ่งที่สามารถอาศัยเทคโนโลยี AI ให้ทำการวิเคราะห์โดยอัตโนมัติ คือการเปรียบเทียบใบหน้าผู้ใช้กับรูปถ่ายบนบัตรประชาชน หลายคนคงสงสัยว่ารูปถ่ายบนบัตรประชาชนที่ถ่ายมาหลายปีแล้วจะยังใช้ได้หรือ โดยทั่วไปความสามารถในการเทียบหน้าทำได้ด้วยความแม่นยำสูงตราบใดที่หน้าตาไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก ไม่ใช่รูปถ่ายเมื่อเด็กเทียบกับตอนนี้ที่เป็นผู้ใหญ่ หรือมีการทำศัลยกรรมใบหน้าจนเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน การทำงานของเทคโนโลยีก็ยังใช้ได้ดีอยู่ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่าง คือ รูปบนบัตรประชาชนมีขนาดค่อนข้างเล็ก และเบลอจากมือที่ถือบัตรมีการเคลื่อนไหว หรือมีแสงเงาสะท้อนจากลายน้ำ ที่เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความแม่นยำ ดังนั้นผู้ใช้ควรวางบัตรบนที่ราบก่อนถ่าย และสังเกตคุณภาพรูปถ่ายว่าชัดเจนดีพอ ส่วนผู้ให้บริการก็ควรจะมีการแนะนำด้วยกรอบที่ให้ผู้ใช้ใช้ประกอบการวางบัตร หรือมีฟังก์ชัน auto capture ที่สามารถตรวจจับการจัดวางตำแหน่ง หรือขนาดของหน้าทั้งจากการถ่ายเซลฟี่และจากบัตรก่อนนำไปใช้

การอ่านตัวเลขหลังบัตร

ภาพประกอบ : Canva

หลายคนอาจสงสัยว่าตัวเลขหลังบัตรประชาชนนั้นสำคัญอย่างไร ตัวเลขเหล่านี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า Laser Code เป็นตัวเลขที่สามารถนำไปตรวจสอบความแท้จริง และสถานะของตัวบัตรประชาชนผ่านบริการออนไลน์ของกรมการปกครอง(DOPA)ได้ เพื่อให้แน่ใจว่าบัตรยังไม่หมดอายุ และเจ้าของบัตรที่แท้จริงยังมีชีวิตอยู่ การตรวจสอบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบ AI นอกเสียจากว่าผู้ให้บริการต้องการเก็บข้อมูลรูปภาพไว้เป็นหลักฐาน และต้องการให้บริการที่เป็นอัตโนมัติแก่ผู้ใช้บริการ ก็สามารถใช้เทคโนโลยี OCR (Optical Character Recognition) เพื่ออ่านตัวเลขเหล่านี้จากภาพถ่ายก่อนจะนำไปเช็คกับกรมการปกครองต่อไป

Liveness problem

ภาพประกอบ : Canva

การทำธุรกรรมบางอย่างมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงหากผู้ทำธุรกรรมไม่ใช่เจ้าตัวจริงๆ นอกจากการเทียบหน้าว่าเป็นบุคคลเดียวกันแล้ว สำหรับธุรกรรมเหล่านี้บางครั้งมีความจำเป็นต้องทำการตรวจด้วยว่าหน้าที่อยู่ตรงนั้น มาจากคนเป็นๆจริงๆ ไม่ใช่มีบุคคลที่สามแอบอ้างนำรูปถ่ายคนๆนั้นจากคลังรูปในโทรศัพท์มือถือ หรือพิมพ์รูปหน้าใส่กระดาษเท่าของจริงออกมาแล้วชูใส่กล้องในจังหวะที่ทำการเทียบ จึงเป็นที่มาของการทำ Liveness Detection หรือบางครั้งเรียกว่า Anti-spoofing (Spoof คือการพยายามหลอกลวงระบบนั่นเอง) เช่นเดียวกับระบบการรักษาความปลอดภัยอื่นๆที่เป็นการแข่งขันระหว่างโจรกับระบบป้องกัน วิธีการโกงที่สลับซับซ้อนก็ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่สามารถป้องกันได้สลับซับซ้อนมากขึ้นตาม เช่น เทคนิคในการตรวจจับ liveness จากภาพนิ่งอาจใช้ไม่ได้ดีกับภาพถ่ายที่สมจริง หรือโจรที่ทำหน้ากากยางของบุคคลนั้น (ถ้าโจรลงทุนทำขนาดนั้น มันต้องเป็นอะไรที่คุ้มค่าในการโกงอย่างแน่นอน!) การทำ Liveness Detection จากภาพเคลื่อนไหวผสมผสานกับวิธีการทางด้านความปลอดภัยอื่นๆอาจจำเป็นต้องนำมาใช้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อเทคนิคเหล่านี้

ประโยชน์ของการยืนยันตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC)

การทำ e-KYC หรือการยืนยันตัวตนอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ทุกคนเข้าถึงการทำธุรกรรมได้ง่าย สะดวกรวดเร็วมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง AI มาช่วยในการทำ e-KYC เมื่อใช้ร่วมกับขั้นตอนการตรวจสอบอื่นอย่างเหมาะสมกับสภาพความเสี่ยงของธุรกรรม จะช่วยลดเวลาและกำลังคนที่ต้องดำเนินการ และสามารถลดความผิดพลาดระหว่างดำเนินการได้อีกด้วย แม้ทุกวันนี้การทำ e-KYC จะมีให้เห็นแต่ในธุรกิจ และการทำธุรกรรมทางการเงิน ในความเป็นจริงแล้ว e-KYC สามารถใช้ได้กับทุกธุรกรรมที่ต้องการทำการยืนยันตัวตนทางไกล เช่น การยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้บริการในแพลตฟอร์มออนไลน์ การเข้างานทางไกล ซึ่งเราน่าจะได้เห็นการใช้งานในลักษณะนี้มากขึ้นจาก Lifestyle ที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะจากสถานการณ์โรคระบาด ที่ทำให้คนต้องใช้บริการและทำธุรกรรมทางไกลมากขึ้น

AI-Powered e-KYC Gateway บริการยืนยันตัวออนไลน์สำเร็จรูปจาก AIGEN

ขั้นตอนการทำงาน AI-Powered e-KYC Gateway จาก AIGEN

AIGEN ได้พัฒนาบริการ AI-Powered e-KYC Gateway เป็นบริการระบบการยืนยันตัวตนออนไลน์สำเร็จรูปพร้อมให้ธุรกิจนำไปเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของธุรกิจที่มีอยู่ได้โดยทันทีผ่านทาง URL ธุรกิจสามารถเรียกใช้งานเพื่อส่งให้ลูกค้าไปทำ e-KYC ที่หน้า AIGEN e-KYC Gateway โดยผลการยืนยันตัวตนจะถูกนำส่งให้ธุรกิจนำไปใช้ดำเนินการต่อไป ทำให้ User Journey ของธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งานในแอปพลิเคชันเดิมต่อได้โดยทันทีหลังจากทำ e-KYC เสร็จ โดยบริการ Standalone e-KYC นั้นทำให้เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันเพิ่มฟีเจอร์การยืนยันตัวตนได้โดยที่ไม่ต้องพัฒนาโปรแกรมขึ้นเอง และทำให้การยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งานบริการต่างๆ ของธุรกิจทำได้แบบอัตโนมัติโดยที่ลูกค้าสามารถทำการยืนยันตัวตนได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ และสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานด้วยบริการที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

โดยบริการ e-KYC Gateway จาก AIGEN มาพร้อมกับฟีเจอร์การยืนยันตัวตนที่ครบครัน ตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องการนำระบบการยืนยันตัวตนออนไลน์ไปใช้งานได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว

หากธุรกิจของคุณกำลังมองหาบริการ e-KYC Gateway ไปใช้งาน เพื่อยกระดับขั้นตอนการยืนยันตัวตนให้ทำได้บนช่องทางออนไลน์จากทุกที่ และทุกเวลา และยกระดับการทำธุรกรรมให้มีปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ผู้เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การออกแบบขั้นตอนการทำงาน จนถึงการนำบริการ Standalone e-KYC  ไปใช้งานให้ประสบผลสำเร็จ ติดต่อเพื่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่

AI GEN Live chat