Share

เปิดเคสความสำเร็จ! ขององค์กรที่นำ AI มาใช้ในการทำงาน

เมื่อการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ กลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการทำงาน ทำให้เรากำลังก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง ยิ่งธุรกิจยุคใหม่ไม่อาจพึ่งพาทรัพยากรมนุษย์เพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป แต่ควรจะต้องนำนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วันนี้เราจะพาไปส่องกรณีศึกษา จากตัวอย่างการใช้ AI ในองค์กรชั้นนำระดับโลก เพื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง ว่าเทคโนโลยี AI สามารถนำมาต่อยอดและพัฒนาธุรกิจจนประสบความสำเร็จได้อย่างไรบ้าง

กรณีศึกษาเกี่ยวกับองค์กรที่นำ AI มาใช้ในการทำงาน

เริ่มต้นทำความเข้าใจ AI ไม่ได้เท่ากับหุ่นยนต์

หลาย ๆ ครั้งที่ AI มักจะถูกเข้าใจว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของหุ่นยนต์สำหรับใช้เพื่อการทำงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งนี้เป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างของการนำ AI มาปรับใช้ในองค์กรเท่านั้น เนื่องจาก AI คือ “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” ที่ถูกพัฒนาให้สามารถตอบโจทย์กับการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ โดยต้นกำเนิดของปัญญาประดิษฐ์นั้น มีต้นแบบความสามารถมาจากมนุษย์ ที่จำลองทั้งความสามารถในการเรียนรู้ และการทำความเข้าใจถึงเรื่องต่าง ๆ จนสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างชาญฉลาด

พัฒนาการของปัญญาประดิษฐ์

จุดเริ่มต้นของการสร้างปัญญาประดิษฐ์หรือเทคโนโลยี AI นั้น เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 โดยมีจุดประสงค์ที่จะนำมาเป็นโซลูชัน เพื่อใช้ตอบสนองต่อความต้องการ และช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานของทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในงานที่มนุษย์รับผิดชอบอยู่แล้ว ไปจนถึงภาระงานบางอย่างที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ หรือทำได้ไม่ดีมากพอ โดยองค์กรที่นำ AI มาใช้ในช่วงแรกนั้นจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีเสียเป็นส่วนใหญ่

สรุปไทม์ไลน์พัฒนาการของปัญญาประดิษฐ์

  • โครงข่ายประสาทเทียม (1950-1970) ยุคแรกเริ่มของ AI ที่พัฒนาเกี่ยวกับโครงข่ายประสาทเทียม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เครื่องจักรมีความคิด และเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่สร้างความประหลาดใจอย่างมากให้กับคนในยุคนั้น
  • การเรียนรู้ของเครื่องจักร (1980-2010) เข้าสู่ช่วงของการพัฒนาศาสตร์การศึกษา ทั้งระบบอัลกอริทึม และการเรียนรู้ที่เกิดจากการศึกษาตัวอย่างและประสบการณ์ โดยมีพื้นฐานมาจากหลักการที่เชื่อว่าทุกสิ่งจะมีแบบแผนในตัวเอง ก่อนจะนำไปประยุกต์ใช้เพื่อคาดการณ์ถึงความน่าจะเป็น
  • การเรียนรู้เชิงลึก (2010-ปัจจุบัน) ก้าวเข้าสู่ยุคปัจจุบันที่ปัญญาประดิษฐ์ถูกพัฒนา จนสามารถเข้าใจองค์ความรู้ในเชิงลึกได้ พร้อมนำไปปรับใช้กับเครื่องจักรที่มีความซับซ้อนของโมเดลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภทการเรียนรู้ของปัญญาประดิษฐ์

1. Knowledge-based System (ความฉลาดเชิงฐานความรู้)

เป็นระบบที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้เป็นฐานในการเรียนรู้ของ AI ก่อนจะนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน โดยพื้นฐานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อยได้ดังนี้

  • Expert System เป็นระบบที่นำเอาองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มารวบรวมเพื่อทำการสร้าง AI ที่สามารถตอบสนองกับความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปฏิบัติงานได้เสมือนผู้เชี่ยวชาญที่แนะนำผู้อื่นได้ ตัวอย่างเช่น การนำ AI ไปใช้ในองค์กรด้านการเงินและธนาคาร สำหรับแนะนำด้านการลงทุนให้กับผู้ใช้บริการโดยเฉพาะ เป็นต้น
  • Intelligent Agent เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ทำหน้าที่แทนมนุษย์ เน้นการปฏิบัติงานตามข้อมูลที่ป้อนเอาไว้ สามารถตอบสนองตามสถานการณ์ได้อย่างหลากหลาย ตัวอย่างเช่น การใช้ aiNLP Chatbot ในองค์กรที่ต้องการยกระดับงานบริการลูกค้าให้รวดเร็ว และครอบคลุมความต้องการได้ตลอด 24 ชั่วโมง

2. Computational Intelligence (ความฉลาดเชิงคำนวณ)

ระบบที่ขึ้นตรงต่อความสามารถในการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ เน้นไปทางความฉลาดในการคำนวณข้อมูลที่ซับซ้อนเกินกว่าจะแปลเป็นภาษาไบนารี (Binary) ได้ โดยลักษณะการเรียนรู้ความฉลาดเชิงคำนวณจะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อยได้ดังนี้

  • Machine Learning เป็นระบบที่มีการเรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลตามรูปแบบที่ป้อนข้อมูลเอาไว้ หรืออาจเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองจากลักษณะข้อมูล สำหรับ Deep Learning ก็ถือว่าเป็น Machine Learning อีกรูปแบบหนึ่งเช่นเดียวกัน ที่เรียนรู้ผ่านรูปภาพ เสียง และข้อมูลที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Swarm Intelligence เป็นระบบที่มีการเรียนรู้แบบกลุ่ม เพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมมากที่สุด โดยจะใช้กระบวนการคิดคำนวณแบบชุด พร้อมปรับให้ได้คำตอบตามชุดข้อมูลที่ดีที่สุดในขณะนั้น ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ AI ประเภทนี้ มักนิยมใช้ในองค์กรโลจิสติกส์ สำหรับค้นหาเส้นทางขนส่งสินค้า เพื่อช่วยประหยัดเชื้อเพลิงให้ได้มากที่สุด เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้ AI ในองค์กรชั้นนำระดับโลก

ตัวอย่างการใช้ AI ในองค์กรชั้นนำระดับโลก

1. FINNIX by SCB

แอปพลิเคชันสินเชื่อดิจิทัลฟินนิกซ์ (FINNIX) จากธนาคารไทยพาณิชย์ ตัวอย่างขององค์กรที่นำ AI มาใช้ในขั้นตอนการยืนยันตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) เพื่อตอบสนองกับความรวดเร็วในกระบวนการ Digital Lending ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบตัวตนให้สำเร็จได้ภายใน 60 วินาที ด้วยการถ่ายรูปตนเองและบัตรประจำตัวประชาชนด้วยกล้องสมาร์ตโฟน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเกิดความเชื่อมั่น ทั้งในด้านความปลอดภัยของข้อมูลและความสะดวกสบายในการใช้บริการ

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง : AI-Powered e-KYC Gateway Solution

2. Babylon

แอปพลิเคชันจากบริษัทสตาร์ทอัพที่ให้บริการเกี่ยวกับสุขภาพจากประเทศอังกฤษ ตัวอย่างการนำ AI มาใช้ในองค์กรเพื่อตอบสนองต่อการทำงานที่รวดเร็วอย่างครอบคลุม เช่น การนำไปใช้สำหรับการสนทนาเพื่อซักประวัติ และวินิจฉัยโรคเบื้องต้น อีกทั้งยังสามารถติดตามข้อมูลด้านสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยภายหลัง นอกจากนี้ ยังสามารถเปิดระบบติดต่อแพทย์โดยตรงผ่านไลฟ์วิดีโอได้อีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง : aiNLP Chatbot , aiScript

3. Starbucks

ส่งท้ายกันด้วยแฟรนไชส์ร้านกาแฟยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง Starbucks ซึ่งเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่นำ AI มาใช้ ในรูปแบบของ Chatbot ในนามของ My Starbucks Barista ที่ช่วยให้การชำระเงินผ่านแอปพลิเคชันเป็นไปได้อย่างสะดวกสบาย พร้อมให้ลูกค้าสั่งกาแฟและจ่ายเงินล่วงหน้าได้โดยไม่ต้องรอ เพียงแค่ก้าวเข้ามาหน้าร้านก็รับกาแฟกลับบ้านได้เลย

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง : aiNLP Chatbot

สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่สนใจนำเทคโนโลยี AI ไปเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและยกระดับการบริการลูกค้า และพร้อมต่อกรกับคู่แข่งในกลุ่มธุรกิจประเภทเดียวกัน สามารถปรึกษา AI GEN ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่พร้อมให้คำแนะนำ และพัฒนาโซลูชันให้เหมาะสมกับธุรกิจของคุณได้ที่นี่!

AIGEN Live chat