Share

ส่องโซลูชันยกระดับอุตสาหกรรม “Image Processing” คืออะไร?

เพราะโลกธุรกิจในปัจจุบัน กำลังถูกขับเคลื่อนด้วย “ข้อมูล” เป็นหลัก จึงไม่แปลกที่ธุรกิจในทุก ๆ อุตสาหกรรมจะแสวงหาวิธีใหม่ ๆ เพื่อนำมาพัฒนาธุรกิจให้เกิดความต่อเนื่องและก้าวนำหน้าคู่แข่ง โดยเฉพาะการนำข้อมูลเชิงลึกมาวิเคราะห์เพื่อให้รู้ถึงความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด 

โดยหนึ่งในการนำข้อมูลมาช่วยขับเคลื่อนธุรกิจ คงจะต้องรวมกระบวนการ Image Processing เอาไว้ด้วย ยิ่งถ้ามีเทคโนโลยี AI เข้ามาผสมผสาน ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกได้มากยิ่งขึ้น และในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับ Image Processing ว่าคืออะไร มีรูปแบบการทำงานอย่างไร และจะสามารถนำมาช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับองค์กรของคุณได้อย่างไรบ้าง ติดตามกันได้เลย 

การประมวลผลด้วยกระบวนการ AI Image Processing คืออะไร?

รู้จักกระบวนการ Image Processing สิ่งนี้คืออะไร?

Image Processing คือกระบวนการที่นำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือชิปประมวลผลอัจฉริยะ และเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในการประมวลผลภาพ โดยสามารถใช้ควบคู่กับเลนส์กล้องได้แบบเรียลไทม์ เพื่อทำการวิเคราะห์และหาจุดโฟกัสที่เหมาะสม ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลาย ๆ กระบวนการ ทำให้ข้อมูลที่ได้มีในหลากหลายแง่มุม 

การใช้ Image Processing ที่มี AI เป็นผู้ช่วยหลัก

การประมวลผลภาพด้วย AI Image Processing คือการใช้เทคนิคปัญญาประดิษฐ์มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูล เช่น การเรียนรู้ของเครื่องและคอมพิวเตอร์วิทัศน์ เพื่อวิเคราะห์และตีความข้อมูลภาพ ด้วยการฝึกอบรมอัลกอริทึมบนชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ทำให้โมเดล AI สามารถเรียนรู้และจดจำรูปแบบ วัตถุ และคุณสมบัติภายในรูปภาพ พร้อมช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการวิเคราะห์ ตลอดจนการตัดสินใจด้วยกระบวนการอัตโนมัติได้อย่างแม่นยำ โดยที่พบเห็นได้บ่อยในปัจจุบันคือการนำไปใช้กับระบบตรวจจับใบหน้า และการตรวจสอบในสายงานผลิตตามโรงงานอุตสาหกรรม  

หลักการทำงานของ AI Image Processing

การประมวลผลภาพด้วย AI เป็นการทำงานผ่านการผสมผสานระหว่างอัลกอริทึมขั้นสูง โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial neural networks: ANN) และการประมวลผลข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ ตีความ และจัดการภาพดิจิทัล ทำให้เกิดกระบวนการทำงานที่อัจฉริยะ ทดแทนในสิ่งที่สายตามนุษย์ไม่สามารถจับสังเกตได้ ภายใต้หลักการทำงาน ดังนี้

  • รวบรวมและประมวลผลข้อมูลล่วงหน้า

เริ่มต้นด้วยกระบวนการจัดการและประมวลผล Big Data ที่มาในรูปแบบของรูปภาพ โดยมีป้ายกำกับที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายของอุตสาหกรรม เช่น การจดจำวัตถุ ชิ้นส่วนการผลิต ตลอดจนการจัดหมวดหมู่รูปภาพ และค่อยนำไปประมวลผลล่วงหน้าที่อาจเกี่ยวข้องกับการปรับขนาด การจัดการมาตรฐาน ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงประสิทธิภาพโมเดล AI

  • การสกัดคุณลักษณะของลำดับภาพ

เป็นการใช้ Convolutional Neural Networks (CNN) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมการเรียนรู้เชิงลึกประเภทหนึ่ง มักนำมาใช้ในการทำ AI Image Processing โดยจะปล่อยให้ CNN เรียนรู้และแยกคุณลักษณะแบบลำดับชั้นจากรูปภาพโดยอัตโนมัติ จากเลเยอร์ที่มีตัวกรองการตรวจจับรูปแบบ เช่น ขอบ พื้นผิว และคุณสมบัติที่ซับซ้อนมากขึ้น ก่อนจะส่งไปยังขั้นตอนการฝึกอบรมจากการจำลองผล

  • การฝึกอบรมแบบจำลอง

หลังจากที่ได้ภาพการประมวลผลล่วงหน้ามาแล้ว จะถูกส่งไปยังโมเดล CNN เพื่อทำการฝึกแบบจำลองผล โดยในขั้นตอนนี้จะเป็นการปรับน้ำหนักและมุมมองภายในตามความแตกต่าง ซึ่งอัลกอริทึมจะทำการอัปเดตพารามิเตอร์ของแบบจำลองซ้ำ ๆ เพื่อลดข้อผิดพลาดในการคาดการณ์สำหรับสถานการณ์ใช้งานจริง

  • การอนุมานและการประยุกต์

เมื่อฝึกฝนจนแบบจำลองพร้อมสำหรับการอนุมาน โมเดล AI Image Processing จะทำการวิเคราะห์คุณสมบัติของภาพ คาดการณ์ พร้อมสรุปผลที่ตรวจจับได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเกิดจากการฝึกจำลองและพัฒนาซ้ำ ๆ จนเกิดการเรียนรู้ 

ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่มีการใช้ AI Image Processing

ระบบตรวจจับใบหน้า หนึ่งในโซลูชันที่มี AI Image Processing

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในยุคดิจิทัลไม่ว่าจะใช้บริการอะไร หรือทำงานในกระบวนการใด เทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนช่วยในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่ง AI Image Processing ก็เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้กับโซลูชันและอุปกรณ์ที่หลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในภาคอุตสาหกรรม และนี่ก็คือ 3 ตัวอย่างอุตสาหกรรม ที่มีการใช้งานเทคโนโลยี AI Image Processing อย่างจริงจัง ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  • อุตสาหกรรมการเงินและการลงทุน

AI Image Processing คือหนึ่งในโซลูชันสำคัญ ที่ช่วยพัฒนาระบบความปลอดภัย ในการทำธุรกรรมการเงินและการลงทุน โดยได้นำไปใช้ในระบบตรวจจับใบหน้า สำหรับยืนยันตัวตนและดำเนินการทางเอกสาร การอนุมัติ ที่ให้ผลลัพธ์อย่างแม่นยำ รวมถึงการเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต

  • อุตสาหกรรมการผลิต

ในอุตสาหกรรมการผลิต เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างสำคัญของการนำไป AI Image Processing ไปปรับใช้ กล่าวคือ เป็นการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ควบคู่กับอุปกรณ์ตรวจจับในกระบวนการผลิต อย่างกล้องเซนเซอร์ เพื่อทำการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า รวมถึงด้านความปลอดภัยของพนักงาน ตลอดจนการใช้ร่วมกับโคบอทและส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการตรวจสอบสภาพการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรม และติดตามผลได้แบบ Real-time

  • อุตสาหกรรมการแพทย์ 

ปิดท้ายด้วยตัวอย่างการใช้งานที่มาแรงอย่างมาก กับการนำ AI Image Processing ไปปรับใช้กับอุตสาหกรรมการแพทย์ โดยนำไปทำงานร่วมกับเครื่อง MRI สำหรับการถ่ายรูปอวัยวะผ่านระนาบต่าง ๆ ที่ไม่ใช่กระดูก ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยส่งเสริมให้การวิเคราะห์และวินิจฉัยเป็นไปอย่างแม่นยำ เนื่องจากเป็นการให้ข้อมูลทางกายภาพและเคมีที่ลงลึก ที่ความสามารถของมนุษย์อาจทำได้ไม่เทียบเท่า 

ยกระดับธุรกิจด้วยกระบวนการ Image Processing ผ่านโซลูชัน aiFace ระบบตรวจจับใบหน้าอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ ภายใต้การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของ AIGEN ที่พร้อมให้ผู้ประกอบการ และธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลาย รับประกันว่าจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน และตอบโจทย์ทุกความต้องการภายในองค์กร หากสนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย

ข้อมูลอ้างอิง

  1. The Complete Guide to AI Image Processing. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 จาก https://nanonets.com/blog/ai-image-processing/ 
  2. AI Image Recognition in 2024 – New Examples and Use Cases. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 จาก https://addepto.com/blog/using-artificial-intelligence-ai-for-image-recognition/  
AIGEN Live chat