Share

รู้จักกับ Hyperautomation เริ่มต้นนำไปใช้งานกับธุรกิจอย่างไร?

ในปัจจุบันหลายธุรกิจได้นำระบบ automation เข้าใจใช้งานเพื่อยกระดับ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานภายในองค์กร รวมถึงทำให้ขั้นตอนการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ประหยัดเวลา ทำให้พนักงานมีเวลาโฟกัสกับงานที่ต้องสร้างมูลค่าให้กับองค์กรได้มากขึ้น จึงทำให้ระบบ automation ได้รับความนิยมจากธุรกิจในยุคปัจจุบันที่ต้องการความสะดวก และรวดเร็วในการทำงาน 

โดยระบบ automation เองนั้นได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้เราอยู่ในยุคที่ขั้นตอนการทำงานทุกอย่างแทบจะสามารถทำงานได้แบบอัตโนมัติ หรือที่เรียกกันว่า Hyperautomation ซึ่งถือเป็นรูปแบบ หรือแนวทางที่เกิดขึ้นใหม่ภายใต้การเกิดขี้นของ digital transformation  ในบทความนี้ AI GEN จะพามารู้จักกับ Hyperautomation พร้อมทั้งแนะนำวิธีการเริ่มต้นนำ Hyperautomation ไปใช้กับธุรกิจ

Hyperautomation-คือ-อะไร
ภาพประกอบ : Canva

Hyperautomation คืออะไร

Hyperautomation คือแนวคิดของการทำให้การทำงานทุกอย่างภายในองค์กรเป็นไปโดยอัตโนมัติในสิ่งที่สามารถทำให้เป็นอัตโนมัติได้ องค์กร หรือธุรกิจที่นำระบบ hyperautomation มาใช้งานมุ่งหวังที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานทั่วทั้งองค์กรโดยการใช้ AI หรือปัญญาประดิษฐ์, robotic process automation (RPA) และเทคโนโลยีอื่นๆมาช่วยในการทำงานโดยที่ไม่ต้องมีคน หรือพนักงานเข้ามาแทรกแซง

Hyperautomation ถือเป็นรูปแบบใหม่ของการทำ automation แต่ Gartner ได้ระบุให้ Hyperautomation เป็น 1 ใน 10 เทรนด์ของกลยุทธ์ทางเทคโนโลยี โดย Gartner ได้ทำการสำรวจและพบว่า 85% ของผู้ตอบบอกว่าองค์กร หรือธุรกิจของพวกเขานั้นจะยังเพิ่มสัดส่วนการลงทุน หรือยังคงลงทุนการนำ hyperautomation มาใช้งานภายใน 12 เดือนข้างหน้านี้ และอีกมากกว่า 56% ได้มีการริเริ่มนำ hyperautomation มากกว่า 4 อย่างไปใช้กับธุรกิจ จากข้อมูลของ Gartner ได้กล่าวไว้ว่า “Hyperautomation สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากสิ่งที่เป็นทางเลือกเป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจรอดได้” โดยกระบวนการทำงานที่ล้าสมัยเป็นปัญหาที่อยู่เป็นลำดับแรกของปัญหาในการทำงาน

รวมถึงการเกิดโรคระบาดโควิด-19 ทั่วโลกเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หลายธุรกิจนำระบบ hyperautomation ไปใช้กันรวดเร็วมากขึ้น ตามมาด้วยการให้ความสำคัญกับการทำ digital transformation และการริเริ่มนำ hyperautomation มาใช้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยระบบนิเวศทางธุรกิจที่ดำเนินแบบกระจายตัว hyperautomation เข้ามาช่วยลดภาระงานต่างๆโดยเฉพาะกระบวนการที่ต้องทำแบบซ้ำๆไปมา และโครงสร้างพื้นฐานแบบเดิมที่เกิดขึ้นกับองค์กร และทรัพยากรภายในองค์กร การเปลี่ยนแปลงในการนำระบบ hyperautomation มาใช้งานทำให้องค์กรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลทำให้ต้นทุนโดยรวมลดลง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจได้มากขึ้น

โครงสร้างพื้นฐาน และกระบวนการทำงานขององค์กรในรูปแบบเดิมนั้นอาจทำให้องค์กรปรับเปลี่ยนได้ช้า และส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ รูปแบบการทำงานแบบอัตโนมัติตามหน้าที่ที่ไม่ได้มีความซับซ้อนไม่ได้ตอบโจทย์การทำงานแบบ cross-function ที่จะขับเคลื่อนการตัดสินใจ และผลลัพธ์ทางธุรกิจได้ Hyperautomation สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับองค์กร หรือธุรกิจโดยทำให้กระบวนการและหน้าที่งานต่างๆทำได้เองโดยอัตโนมัติให้ได้มากที่สุด

ความแตกต่างระหว่าง Automation กับ Hyperautomation

ความแตกต่างระหว่าง automation และ hyperautomation มักจะไม่ชัดเจน โดย automation มักจะหมายถึงการทำงานให้สำเร็จได้โดยไม่ต้องมีการทำงานแบบแมนนวลเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่มักจะเป็นสเกลงานขนาดเล็ก และสร้างโซลูชันที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับงานแต่ละอย่าง ในทางตรงกันข้าม Hyperautomation จะหมายถึงงานที่ต้องใช้เครื่องมือในการทำงานได้แบบอัตโนมัติที่หลากหลายที่ซึ่งทำให้เกิดเป็น intelligent automation ได้รวมถึงการนำ machine learning และ RPA มาใช้ในการริเริ่มในการทำ automation

เริ่มต้นนำระบบ Hyperautomation มาใช้งานกับธุรกิจ

เพียงไม่กี่ขั้นตอน และองค์ประกอบช่วยให้ธุรกิจ หรือองค์กรค้นหาเส้นทางของการนำ hyperautomation งานภายในองค์กรได้ โดยขั้นตอนมีดังต่อไปนี้

  1. รวบรวม insights ในขั้นตอนการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงานต่างๆ และใช้ process mining หรือการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเหล่านั้นเพื่อที่จะศึกษาถึงกระบวนการทำงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างไร ช่องว่าง หรือ gaps ที่มีอยู่ในส่วนไหน สิ่งที่แอบแฝง และจุดที่ติดขัดอยู่ตรงไหน เป็นโอกาสที่ทำให้องค์กรระบุถึงขั้นตอนที่สามารถนำระบบ automation เข้ามาใช้งานได้ เพื่อที่จะทำให้เห็นภาพของกระบวนการทำงานในปัจจุบันได้อย่างชัดเจน บางองค์กรได้จำลองโมเดลการทำงานในรูปแบบปัจจุบัน หรือที่เรียกกันว่า digital twin โดย digital twin เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อจำลองภาพระบบนิเวศทางธุรกิจ (ecosystem) เพื่อทำให้เห็นภาพกระบวนการทำงาน  สิ่งที่ต้องใช้ (input) และผลลัพธ์ที่จะได้รับได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงสามารถระบุถึงสิ่งที่ต้องพัฒนาเพิ่ม และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  2. ระบุถึงข้อมูลทั้งแบบ structured และ unstructured และข้อมูลอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้เพื่อทำให้กระบวนการทำงานประสบความสำเร็จ
  3. คาดการณ์ถึงผลลัพธ์ที่จะได้รับในรูปแบบของประสิทธิภาพในการทำงาน และผลตอบแทนในการลงทุน (ROI)
  4. ตัดสินใจเลือกแพลตฟอร์มสำหรับการทำ automation และเทคโนโลยี automation ที่ตอบโจทย์ธุรกิจได้มากที่สุด โดยสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือหรือเทคโนโลยี และอัลกอริทึ่มที่มีอยู่แล้วได้ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี Robotic process automation, Optical character recognition หรือ ocr, AI และ Machine learning รวมกับเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์อื่นๆ เพื่อที่จะออกแบบบอท (bot) ที่ถูกสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่จะทำงานได้แบบอัตโนมัติ
  5. ทำให้กระบวนการทำงาน และหน้าที่งานของธุรกิจและเทคโนโลยีที่ซับซ้อนให้เป็นแบบอัตโนมัติ โดยการนำระบบอัตโนมัติมาใช้งานนั้นมักมีวัตถุปรสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้มากยิ่งขึ้นหรือช่วยในการลดต้นทุน
  6. ใช้เครื่องมือ AI เพื่อให้งานที่ได้กำหนดไว้ประสบผลสำเร็จ รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น cognitive learning, OCR และ natural language processing (NLP) เทคโนโลยี low-code หรือ no-code ซึ่งใช้ GPI หรือ graphical user interface ในการตั้งค่าสามารถถูกรวมเข้าไปในระบบ automation ได้อย่างง่ายดายโดยไม่จำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคมากนัก และสามารถ deploy ระบบได้เร็วมากขึ้นอีกด้วย
การนำ Hyperautomation ไปใช้กับธุรกิจ
ภาพประกอบ : Canva

ตัวอย่างการนำ Hyperautomation มาใช้งานกับธุรกิจ

  • Document digitization : การนำเทคโนโลยี AI-Powered OCR มาใช้ร่วมกับ workflow automation ทำให้การจัดการ ดึงข้อมูล และประมวลผลข้อมูลในเอกสารทำได้โดยอัตโนมัติแบบ end-to-end หรือตั้งแต่ต้นจนจบ เนื่องจาก AI-Powered OCR สามารถแยกประเภทของเอกสารว่าเอกสารนี้เป็นบัตรประชาชน ใบขับขี่ สมุดบัญชีธนาคาร ใบแจ้งหนี้ หรืออื่นๆ และยังจัดประเภทของข้อมูลในเอกสารได้แบบอัตโนมัติอีกด้วย รวมทั้งหลังจาก AI ดึงข้อมูลแต่ละประเภทออกมาจากเอกสารเรียบร้อยแล้ว สามารถส่งต่อข้อมูลเหล่านี้เข้าไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลขององค์กรได้ตามต้องการแบบอัตโนมัติเช่นกัน ประหยัดเวลาในการทำงาน ลดการทำงานแบบแมนนวล และลดความผิดพลาดของข้อมูลที่แต่เดิมต้องใช้คนในการกรอกข้อมูลเข้ามาในระบบได้อีกด้วย
  • การยืนยันตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) : การนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้ในการตรวจสอบใบหน้าเทียบกับรูปถ่ายในบัตรประชาชน หรือใบขับขี่ได้แบบอัตโนมัติ เพิ่มความปลอดภัยในการทำธุรกรรมต่างๆบนอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า AI-Powered e-KYC  อำนวยความสะดวกให้กับฝั่งผู้ให้บริการหรือธุรกิจ และผู้ใช้บริการที่สามารถยืนยันตัวตนได้ด้วยตนเองผ่านช่องทางต่างๆ
  • แชทบอทผู้ช่วยอัจฉริยะ : การนำแชทบอทมาให้บริการลูกค้าเพื่อคัดกรองลูกค้าได้แบบอัตโนมัติว่าลูกค้าคนไหนที่สามารถใช้แชทบอทให้บริการได้ หรือลูกค้าคนไหนที่ต้องส่งให้กับพนักงานให้บริการ ลดเวลาการรอของลูกค้า ทำให้ลูกค้าได้รับบริการอย่างรวดเร็ว และยังสามารถให้บริการได้ 24 ชั่วโมง ด้วยความสามารถของ AI-Powered Chatbot ทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ และทำได้โดยอัตโนมัติ ยกระดับความพึงพอใจในการสร้างประสบการณ์การให้บริการได้เป็นอย่างดี

ประโยชน์ของการนำ Hyperautomation มาใช้งานกับธุรกิจ

ตามที่ได้กล่าวไปในด้านบน Hyperautomation ได้ขยายความสามารถหลักของระบบ automation ขององค์กร โดยนำเทคโนโลยี RPA, OCR, AI และ Machine learning รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆมาใช้ประโยชน์ โดยการนำเทคโนโลยีหลายตัวมาใช้ร่วมกันทำให้องค์กรได้ประโยชน์ในหลากหลายด้านดังต่อไปนี้

  • ขยายขอบเขตการทำงานแบบอัตโนมัติ

ด้วยการนำ Robotic process automation มาใช้งานทำให้องค์กรสามารถทำให้งานที่ต้องทำแบบซ้ำๆไปมาสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ ทำให้พนักงานทำงานได้ง่ายขึ้น แต่ hyperautomation ทำได้มากกว่านั้น ด้วยระบบ hyperautomation ทำให้องค์กรสามารถรวมองค์ประกอบต่างๆตั้งแต่เทคโนโลยี เครื่องมือ และส่วนประกอบอื่นๆที่จะเพิ่มระดับของการทำงานแบบอัตโนมัติให้กับธุรกิจได้ โดยไม่เพียงแต่จะทำให้การทำงานรูปแบบเดิมง่ายขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอีกด้วย

  • สนับสนุนการทำงานร่วมกัน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

Hyperautomation ช่วยให้บริษัทต่างๆ มีช่องทางในการเชื่อมต่อการทำงานของพนักงานเข้าด้วยกันด้วยเครื่องมือที่พวกเขาใช้ทุกวัน การเปลี่ยนแปลงรูปแบบใหม่ที่ธุรกิจจะต้องเจอผ่านวิธีนี้จะกระตุ้นให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ ด้วยเทคโนโลยี RPA ร่วมกับซอฟต์แวร์ huperautomation และเครื่องมืออื่นๆ จะทำให้ผู้ใช้งานภายในองค์กรพบว่าสามารถทำงานร่วมกันได้ง่านมากยิ่งขึ้น

  • เพิ่มความคล่องตัวในการทำธุรกิจ

Business agility หรือความคล่องตัวของธุรกิจหมายถึงบริษัทสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่ต้องการได้มากน้อยแค่ไหน การนำระบบ hyperautomation เข้ามาใช้งานนั้นทำให้องค์กร หรือธุรกิจมั่นใจได้ว่าองค์กรสามารถขยาย scale ธุรกิจได้ตามที่ความต้องการ และ requirement ทางธุรกิจใหม่ๆ เครื่องมืออัตโนมัติอัจฉริยะที่เกี่ยวข้องสามารถช่วยให้ธุรกิจเปลี่ยนแปลงและก้าวตามตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกำลังเติบโตได้ง่ายขึ้นเช่นกัน

  • ยกระดับการมีส่วนร่วม และความพึงพอใจของพนักงาน

ระบบ Hyperautomation มีความสามารถที่จะยกระดับคุณภาพของการทำงานได้โดยใช้เทคโนโลยีต่างๆที่ทำให้งานที่เป็นแมนนวลสามารถสำเร็จได้ง่ายมากขึ้น และจากการพัฒนาของระบบ automation จึงทำให้สามารถคาดการณ์ระดับความพึงพอใจของพนักงานที่จะมากขึ้นตามไปด้วย

  • พัฒนาการเข้าถึงข้อมูล และการเก็บข้อมูล

เนื่องจากการนำระบบ hyperautomation เข้ามาใช้นั้นอาศัยการผสานรวมซอฟต์แวร์ยุคใหม่ และกระบวนการที่ทันสมัยเพื่อประสิทธิภาพที่มากขึ้นเข้าด้วยกัน ธุรกิจสามารถคาดหวังปฏิสัมพันธ์ที่ราบรื่นยิ่งขึ้นระหว่างผู้ใช้งาน และโครงสร้างพื้นฐาน ความแพร่หลายของเทคโนโลยีไฮบริดและมัลติคลาวด์ยังทำให้การรวมกันของระบบเป็นส่วนสำคัญของ digital transformation

เมื่อระบบขององค์กรสามารถเชื่อมต่อกันอย่างง่ายดาย ทำให้มั่นใจได้ว่าทุกๆองค์ประกอบสำคัญสามารถเข้าถึงได้จากฐานข้อมูลส่วนกลาง โดยการใช้งานระบบ hyperautomation AI และ machine learning สามารถใช้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อระบบ และข้อมูลในส่วนนี้ได้เช่นกัน

  • ผลตอบแทนการลงทุนที่สูงขึ้น

วัตถุประสงค์หลักในการนำการเปลี่ยนแปลง หรือไอเดียใหม่ๆมาใช้กับธุรกิจคือเพื่อบรรลุการสร้างผลกำไรให้กับธุรกิจได้มากขึ้น โดยระบบ hyperautomation มีความเป็นไปได้อย่างมากที่จะช่วยเพิ่มผลตอบแทนในการลงทุน หรือ ROI ให้กับธุรกิจในยุคปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ระบบ hyperautomation สามารถนำมาใช้กับการประมวลผลใบแจ้งหนี้โดยทำให้กระบวนการทำงานเป็นไปแบบอัตโนมัติตั้งแต่ต้นจนจบโดยให้ผลลัพธ์ที่เป็นที่น่าพอใจ และให้ผลตอบแทนที่ประสบผลสำเร็จได้

หากธุรกิจของคุณกำลังมองหาโซลูชัน AI มาใช้งานเพื่อยกระดับให้ขั้นตอนการทำงานเป็นแบบ Automation และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานภายในองค์กร รวมถึงต้องการที่ปรึกษา และพาร์ทเนอร์คู่คิดให้กับธุรกิจของคุณ ปรึกษาพวกเรา AI GEN (ไอเจ็น) ได้ที่นี้เลยค่ะ

ส่งท้ายบทความ

Hyperautomation ถือเป็นการรวมเอาความสามารถของหลายๆเทคโนโลยี หรือเครื่องมือมาไว้ด้วยกัน เพื่อขยายขอบเขตของกระบวนการทำงานให้สามารถทำงานได้แบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ธุรกิจในปัจจุบันที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว และความคล่องตัวในการทำงาน รวมถึงทำให้พนักงานภายในองค์กรทำงานร่วมกันได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย Hyperautomation ประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายธุรกิจ ตั้งแต่ธุรกิจการเงินและธนาคาร ประกัน การผลิต ขนส่ง ภาครัฐ และอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดปริมาณที่ต้องทำซ้ำๆไปมา  เพื่อสร้างแตกต่าง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจได้ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

AIGEN Live chat