Share

ปลอดภัยกว่า! ด้วยการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC)

ปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่สังคมกำลังจับตามองกันอย่างมาก ว่าภาครัฐและเอกชนจะมีมาตรการเพื่อรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร เพราะหากปล่อยเอาไว้นานอาจสร้างความเสียหายได้อย่างไม่รู้จบ ในขณะเดียวกันยังจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อองค์กรที่ให้บริการอีกด้วย 

แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ยังมีอีกหนึ่งโซลูชันที่สามารถช่วยแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นก็คือ “ระบบการยืนยันตัวตนอัจฉริยะ” ที่มีการนำทั้งระบบ KYC กับ e-KYC มาใช้ในการยืนยันตัวตน แต่ทั้ง 2 รูปแบบจะมีความแตกต่างกันอย่างไร และแบบไหนจะตอบโจทย์กับการนำไปใช้กับธุรกิจได้มากกว่ากัน ไปหาคำตอบกันได้เลย

การยืนยันตัวตนอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) คืออะไร

การทำ KYC คืออะไร?

KYC ย่อมาจาก Know Your Customer ซึ่งหมายถึงกระบวนการที่ธุรกิจจะทำความรู้จักกับตัวตนของลูกค้าที่เข้ามาทำธุรกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครครั้งแรก ไปจนถึงขั้นตอนการยืนยันตัวตนเพื่อทำธุรกรรมในครั้งต่อไป ซึ่งทุกวันนี้มีข้อกฎหมายมากมายที่บังคับให้ธุรกิจต้องมีการทำ KYC เพื่อการยืนยันตัวตน และคุ้มครองสิทธิ์ของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายการป้องกันการฟอกเงิน กฎหมายป้องกันการสนับสนุนการก่อการร้าย หรือกฎหมายที่มีไว้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคจากการทุจริต เป็นต้น

ซึ่งในปัจจุบัน ระบบการยืนยันตัวตนผู้ใช้ด้วยการทำ KYC คือกระบวนการที่มีความสำคัญและไม่ควรมองข้าม เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ครอบคลุม ที่องค์กรต่าง ๆ สามารถนำไปต่อยอดกับการทำธุรกิจได้ในหลายด้าน เช่น 

  • เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

การทำ KYC จะช่วยให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่า ผู้ให้บริการธุรกรรมต่าง ๆ ได้ปฏิบัติตามกฎหมายและสร้างมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยปกป้องลูกค้าจากความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจทำให้สูญเสียทรัพย์สิน

  • ลดความเสี่ยงทางธุรกิจ 

การทำ KYC จะช่วยลดความเสี่ยง ต่อการที่องค์กรจะถูกฟ้องร้องหรือถูกลงโทษตามกฎหมาย หากพบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ผิดกฎหมายที่ถูกกระทำผ่านทางบริการของธุรกิจ

  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 

การทำ KYC จะช่วยให้สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการสินทรัพย์ดิจิทัล และผู้ให้บริการธุรกรรมต่าง ๆ สามารถตรวจสอบตัวตนของลูกค้าได้อย่างง่ายดายซึ่งช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้

  • ช่วยป้องกันการก่ออาชญากรรมทางการเงิน 

การยืนยันตัวตนด้วยการทำ KYC จะช่วยให้ธุรกิจได้เป็นส่วนหนึ่งในการป้องกันการก่ออาชญากรรมทางการเงิน เช่น การฟอกเงิน การจัดหาเงินทุนของผู้ก่อการร้าย และการฉ้อโกงด้วยวิธีต่าง ๆ เพราะธุรกิจจะสามารถตรวจสอบตัวตนของลูกค้าได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง และไม่ควรเข้าถึงบริการทางการเงินหรือสินทรัพย์ดิจิทัลสามารถแอบอ้าง สวมรอย เพื่อทำธุรกรรมต่าง ๆ 

KYC โดยทั่วไปต้องครอบคลุมอะไรบ้าง?

  • การเก็บ และตรวจสอบความแท้จริงของหลักฐานอย่างเอกสารประกอบการยืนยันตัวตนที่ใช้ในระบบ KYC เช่น บัตรประชาชน หรือเอกสารที่ได้รับการรับรองสำหรับการยืนยันอัตลักษณ์อื่น ๆ
  • การตรวจสอบว่าลูกค้าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับในเอกสารนั้นหรือไม่
  • การเก็บข้อมูลการยืนยันตัวตนไว้อย่างปลอดภัย และสามารถนำมาใช้ได้เมื่อลูกค้ากลับมาทำธุรกรรมในครั้งต่อไป

การยืนยันตัวตนแบบ e-KYC ทางออนไลน์

สำหรับการทำ e-KYC หรือ electronic KYC  เป็นอีกหนึ่งระบบที่สามารถนำมาใช้ทำความรู้จักกับลูกค้าเช่นเดียวกับ KYC เพียงแต่จะมีความสะดวกสบายมากกว่า เพราะสามารถทำการยืนยันตัวตนผ่านทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในลักษณะของ Face-to-Face ผ่านระบบ VDO Conference หรือแม้กระทั่งใช้ร่วมกับเทคโนโลยี AI ที่ช่วยให้การยืนยันตัวตนสามารถทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

แต่ในขณะเดียวกัน ในบางกรณีที่การทำธุรกรรมอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายสูง อาจทำให้การยืนยันผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยได้อย่างเพียงพอ ทางสถาบันการเงินจึงต้องพิจารณาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่มีความรัดกุมมากกว่าเดิม เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น

  • การต้องใช้ข้อมูลจาก Dip Chip ที่ฝังอยู่ในบัตรประชาชนเพื่อยืนยันว่าเป็นตัวบัตรประชาชนของจริง
  • การยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (National Digital ID or NDID) โดยการเก็บข้อมูลทางชีวภาพที่ธนาคารต้นสาขา เพื่อทำการยืนยันตัวตนทางไกลในการทำธุรกรรมอื่น ๆ ภายหลัง

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เป็นการทำธุรกรรมบางอย่างที่ไม่ได้เข้าข่ายว่ามีความเสี่ยงสูง การยืนยันตัวตนแบบ e-KYC ด้วยระบบอัตโนมัติที่มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเป็นตัวกลางในการดำเนินงานเพียงอย่างเดียว เช่น AI ที่ได้มาตรฐานสากล หรือมาตรฐานที่ได้การยอมรับทั่วไป ก็ถือว่าเพียงพอต่อความปลอดภัยแล้ว

KYC กับ e-KYC ต่างกันอย่างไร?

KYCe-KYC
ต้องเก็บรวบรวม และใช้เอกสารตัวจริงหรือสำเนา และข้อมูลที่มีอยู่ในการยืนยันตัวตนใช้เทคโนโลยีและระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และยืนยันตัวตน
ต้องนัดหมาย และเดินทางไปยืนยันตัวตนที่สาขาของสถาบันการเงิน หรือผู้ให้บริการต่าง ๆสามารถยืนยันตัวตนแบบออนไลน์เมื่อไหร่ก็ได้ ทั้งยังสามารถทำได้ทุกที่
ใช้เวลานานในการยืนยันตัวตน ทั้งเวลาในการเดินทาง รอคิว และรอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลใช้เวลาดำเนินการเฉลี่ยเพียงแค่ 3 นาที ไม่ต้องเดินทาง ไม่มีคิว และไม่ต้องรอการทำงานของเจ้าหน้าที่
มีหลายขั้นตอนในการยืนยันตัวตน รวมถึงต้องจัดเตรียมเอกสารเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันตัวตนด้วยยืนยันตัวตนได้ง่าย ๆ ในไม่กี่ขั้นตอน ใช้เอกสารน้อยมาก ไม่ต้องเดินทาง จึงสะดวกสบาย และรวดเร็ว
ความปลอดภัย และแม่นยำในการยืนยันตัวตนขึ้นอยู่กับความรอบคอบของเจ้าหน้าที่มีความแม่นยำและปลอดภัยสูง เนื่องจากมีการนำใช้เทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

รูปแบบการยืนยันตัวตนด้วยโซลูชัน e-KYC สำหรับธุรกิจ

การยืนยันตัวตนด้วยโซลูชัน e-KYC สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ ตามมาตรการที่แตกต่างกันไปของผู้ให้บริการ หรือจะใช้ทุกวิธีเพื่อยกระดับการทำธุรกรรมให้มีความปลอดภัยแบบสูงสุดก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันรูปแบบของ e-KYC จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 วิธี ดังนี้

KYC กับ e-KYC ทำงานแตกต่างกันอย่างไร

1. การเทียบหน้ากับรูปบนบัตรประชาชน

เป็นวิธีการยืนยันตัวตนแบบ e-KYC ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์แบบอัตโนมัติ โดยจะทำการเปรียบเทียบใบหน้าของผู้ใช้กับรูปถ่ายบนบัตรประชาชน เพื่อระบุตัวตนก่อนยืนยันสิทธิ์การเข้าถึงในการทำธุรกรรมต่างๆ

โดยทั่วไปแล้ว ความสามารถในการเทียบหน้าของ AI มีความแม่นยำค่อนข้างสูง ตราบเท่าที่ใบหน้าไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหนึ่งตัวแปรที่ส่งผลให้ความแม่นยำเหล่านั้นลดลง นั่นคือขนาดของรูปบนบัตรประชาชนที่ค่อนข้างเล็ก รวมไปถึงความเบลอที่เกิดจากการสั่นในขณะที่ถ่ายภาพ หรืออาจมีแสงเงาที่สะท้อนจากลายน้ำจนทำให้เกิดความไม่ชัดเจน  

ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดเหล่านี้ ผู้ใช้ควรวางบัตรในแนวราบก่อนถ่าย และตรวจสอบคุณภาพของรูปก่อนทำการยืนยันตัวตนผ่าน e-KYC และในส่วนของผู้ให้บริการก็ควรจะมีการแนะนำให้กับผู้ที่จะทำการยืนยันตัวตนด้วย หรืออาจมีการใช้กรอบสำหรับการวางบัตร หรือมาพร้อมกับฟังก์ชัน Auto Capture ที่สามารถตรวจจับการจัดวางตำแหน่ง รวมถึงขนาดของหน้าทั้งจากการถ่ายเซลฟีและจากบัตรประชาชนก่อนนำไปใช้

2. การอ่านตัวเลขหลังบัตร

Laser Code หรือตัวเลขหลังบัตรประชาชน เป็นหนึ่งในรูปแบบการยืนยันตัวตน โดยการนำไปตรวจสอบสถานะของตัวบัตร ผ่านทางออนไลน์ของกรมการปกครอง (DOPA) เพื่อให้แน่ใจว่าบัตรยังไม่หมดอายุ และเจ้าของบัตรที่แท้จริงยังมีชีวิตอยู่ 

สำหรับวิธีการตรวจสอบในขั้นตอนนี้ ไม่ได้มีความจำเป็นจะต้องใช้ระบบ AI เข้ามาช่วยวิเคราะห์ นอกเสียจากว่าผู้ให้บริการจะมีความประสงค์ในการเก็บข้อมูลรูปภาพเอาไว้เป็นหลักฐาน และต้องการให้บริการที่เป็นอัตโนมัติแก่ผู้ใช้งาน ในส่วนนี้จึงสามารถใช้เทคโนโลยี OCR (Optical Character Recognition) เพื่ออ่านตัวเลขเหล่านี้จากภาพถ่าย ก่อนจะนำไปเช็กกับกรมการปกครองต่อไปได้

3. Liveness Detection

การทำธุรกรรมบางอย่างมีความเสี่ยงสูง นอกจากการเทียบหน้าด้วยระบบ AI แล้ว ยังต้องยกระดับความปลอดภัยเพิ่มขึ้นด้วยการตรวจสอบบุคคลตรงหน้า ว่าผู้ใช้เป็นคนจริง ๆ ไม่ใช่บุคคลที่สามมาแอบอ้าง ด้วยการใช้รูปในคลังโทรศัพท์ หรือพิมพ์รูปลงบนหน้ากระดาษ

ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของการทำ Liveness Dectection หรือที่เรียกกันว่า Anti-spoofing (Spoof คือการพยายามหลอกลวงระบบนั่นเอง) เช่นเดียวกับระบบการรักษาความปลอดภัยอื่น ๆ ที่เป็นการแข่งขันกันระหว่างโจรไซเบอร์กับระบบการป้องกัน เพื่อปิดช่องโหว่และช่วยป้องกันการฉ้อโกงที่มีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าเดิม

ประโยชน์ของการยืนยันตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) สำหรับธุรกิจ

  • เสริมความสะดวกสบายในการยืนยันตัวตน

การยืนยันตัวตนด้วยวิธี e-KYC ผ่านทางออนไลน์จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ในการใช้บริการและทำธุรกรรมต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า เพราะสามารถยืนยันตัวตนได้จากทุกที่ เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่ต้องเดินทางไปยังสำนักงาน หรือสาขาของผู้ให้บริการ

  • เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการยืนยันตัวตน

เนื่องจากการทำ e-KYC นั้นมีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับการยืนยันตัวตน เช่น เทคโนโลยี AI-OCR และ เทคโนโลยี AI-Face Recognition ทำให้มีความปลอดภัย แม่นยำ และช่วยลดความผิดพลาดในการยืนยันตัวตนได้มากยิ่งขึ้น 

  • เพิ่มความเป็นอัตโนมัติในการทำงาน ช่วยประหยัดเวลา และทรัพยากรในการยืนยันตัวตน

การทำ e-KYC จะช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรบุคคล รวมถึงต้นทุนในการดำเนินงานให้กับธุรกิจได้ ด้วยการเพิ่มความเป็นอัตโนมัติในการตรวจสอบข้อมูล เพื่อการยืนยันตัวตนที่สมบูรณ์  

  • ช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างสอดคล้องกับข้อกฎหมาย

การทำ e-KYC  ยังจะช่วยให้ธุรกิจสามารถปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยืนยันตัวตน จึงช่วยให้ผู้ใช้บริการใช้งานได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ

  • เพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า

เพราะการยืนยันตัวตนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำได้จากทุกที่ ทุกเวลา จึงช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องรอคิว หรือรอการดำเนินงานนาน ๆ ส่งผลให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจต่อธุรกิจ 

  • ช่วยให้ลูกค้าสามารถเริ่มใช้งาน และทำธุรกรรมได้รวดเร็ว

การยืนยันตัวตนผ่านทางออนไลน์ หรือการทำ e-KYC จะช่วยให้ลูกค้าสามารถเริ่มต้นทำธุรกรรมต่าง ๆ ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เพราะสามารถได้รับการอนุมัติและเปิดใช้บัญชีได้ในไม่กี่นาทีหลังจากยืนยันตัวตนสำเร็จ 

แม้ทุกวันนี้การยืนยันตัวตนแบบ e-KYC จะมีให้เห็นแต่ในธุรกิจการเงินและการลงทุน แต่ในความเป็นจริงแล้ว e-KYC สามารถใช้ได้กับทุกธุรกรรมที่ต้องการทำการยืนยันตัวตนทางไกล เช่น การยืนยันตัวตนก่อนเข้าใช้บริการในแพลตฟอร์มออนไลน์ การเข้างานทางไกล ซึ่งเราน่าจะได้เห็นการใช้งานในลักษณะนี้มากขึ้นจากไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะจากสถานการณ์โรคระบาด ที่ทำให้คนต้องใช้บริการและทำธุรกรรมทางไกลมากขึ้น

บริการ AI-Powered e-KYC Gateway ระบบยืนยันตัวออนไลน์สำหรับธุรกิจ จาก AIGEN

AIGEN ได้พัฒนาบริการยืนยันตัวตนอย่าง AI-Powered e-KYC Gateway เพื่อให้บริการออนไลน์แบบสำเร็จรูป พร้อมให้ธุรกิจนำไปเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของธุรกิจที่มีอยู่ได้ทันทีผ่านทาง URL อีกทั้งยังมาพร้อมกับฟีเจอร์การใช้งานที่ครบครัน ตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องการนำระบบการยืนยันตัวตนออนไลน์ไปใช้งานได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว

หากธุรกิจของคุณกำลังมองหาบริการยืนยันตัวตนแบบ e-KYC Gateway เพื่อช่วยยกระดับขั้นตอนการยืนยันตัวตนให้สามารถทำได้บนช่องทางออนไลน์จากทุกที่ และทุกเวลา และยกระดับการทำธุรกรรมให้มีปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ผู้เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การออกแบบขั้นตอนการทำงาน จนถึงการนำบริการ Standalone e-KYC  ไปใช้งานให้ประสบผลสำเร็จ ติดต่อเราเพื่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่

AIGEN Live chat