Share

Large Language Model (LLM) คืออะไร ? สำคัญกับธุรกิจอย่างไร

เมื่อไม่นานมานี้ Topic สุดฮอตอย่าง ChatGPT หรือ แชตบอทอัจฉริยะจาก OpenAI ที่ฉลาดล้ำจนดังเป็นพลุระเบิดสำหรับชาว IT รวมถึงผู้คนมากมายมายที่ไม่พูดถึงไม่ได้ เนื่องจาก ChatGPT ได้กลายมาเป็นผู้ช่วยอัจฉริยะของใครหลาย ๆ คนในการช่วยเหลือ แนะนำ และตอบคำถามต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคำถามทั่วไป หรือคำถามเฉพาะ อย่างเช่นการเขียนโค้ด หรือการเขียนบทความ เป็นต้น

และเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะเคยได้ยินคำว่า “LLM” หรือ “โมเดลภาษาขนาดใหญ่” กันมาบ้างพอสมควร เนื่องจาก Large Language Model หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า LLM ได้กลายมาเป็นนวัตกรรมสำคัญสำหรับการพัฒนาระบบ AI โดยใช้ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของข้อความจำนวนมหาศาลในการเทรนระบบให้เรียนรู้ วิเคราะห์ข้อความ หรือถอดรหัสข้อความได้ และแม้ว่าข้อความอาจจะไม่สมบูรณ์ ​LLM ก็สามารถตีความ คาดการณ์ และโต้ตอบกลับมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ ราวกับพูดคุยกับมนุษย์

ยกตัวอย่างการทำงานของ LLM ที่โด่งดังที่ผ่านมา คือ โมเดล GPT-3 และ GPT-4 จาก OpenAI ที่ถูกเทรนด้วยข้อมูลขนาดใหญ่บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งโมเดลเหล่านี้สามารถตอบคำถาม เขียนบทความ แปลภาษา สร้างคอนเทนต์ต่าง ๆ รวมถึงทำงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยในบทความนี้ AIGEN (ไอเจ็น) จะพาทุกท่านไปรู้จักกับ  Large Language Model หรือ LLM ให้มากขึ้น ว่าเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกการทำงานขององค์กรต่าง ๆ ได้อย่างไรกันบ้าง

Large Language Model (LLM) คืออะไร ?

Large Language Model หรือ โมเดลภาษาขนาดใหญ่ เป็นรูปแบบหนึ่งของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI โดย LLM จะถูกเทรนด้วยข้อมูลจำนวนมากเพื่อให้โมเดลการเรียนรู้เชิงลึกขนาดใหญ่ (Deep Learning) สามารถเข้าใจ และสร้างการโต้ตอบด้วยภาษาธรรมชาติ รวมถึงสร้างเนื้อหาประเภทอื่น ๆ เพื่อการทำงานที่หลากหลาย เช่น การสร้างข้อความทางการตลาด การเขียนบทความ การให้การช่วยเหลือในการเขียนโค้ด เป็นต้น

Large Language Model (LLM) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจได้อย่างไร ?

ธุรกิจต่าง ๆ สามารถนำ LLM มาพัฒนาต่อยอดเป็นโซลูชัน หรือพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ สำหรับองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างจุดแข็ง หรือข้อได้เปรียบให้กับธุรกิจ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในยุคดิจิทัลที่ขับเคลื่อนไปด้วยข้อมูล

ตัวอย่างการใช้งาน LLM ในธุรกิจ

1. Sentiment Analysis 

Sentiment Analysis หรือการวิเคราะห์ความรู้สึกของลูกค้าสามารถนำ LLM มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลข้อความต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อความในโพสต์บนโซเชียลมีเดีย บทวิจารณ์ หรือคำติชมจากแบบสอบถามหลังจากใช้บริการ ฯลฯ ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยให้ธุรกิจได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความคิดเห็น และระดับความพึงพอใจของลูกค้า ที่จะทำให้ธุรกิจนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้ไปพัฒนา และปรับปรุงการให้บริการลูกค้าได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น

ด้วยความสามารถของ Natural Laguage Processing (NLP) และ LLM ทำให้ระบบสามารถแบ่งประเภทความรู้สึกออกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ เชิงบวก เชิงลบ หรือเป็นกลาง นอกจากนี้ ระบบยังสามารถวิเคราะห์ความรู้สึกแบบละเอียดถี่ถ้วนได้ เช่น การระบุเปอร์เซ็นต์ของความรู้สึกในเชิงบวก หรือเชิงลบ หรือการวิเคราะห์ และจัดหมวดหมู่คำตอบ Free–text ได้แบบอัตโนมัติ เป็นต้น

📍 อ่านบทความ รู้จักกับ Sentiment analysis ตัวช่วยธุรกิจในการวิเคราะห์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

2. Knowledge Management System

Knowledge Management System หรือระบบจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กร เป็นอีกหนึ่งโซลูชันสำหรับที่องค์กรสามารถนำ LLM มาใช้ตอบคำถามเฉพาะหรือให้ความช่วยเหลือผู้ใช้งาน เช่น พนักงานภายในองค์กร โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกอัปโหลดลงในระบบส่วนกลาง เช่น เอกสารนโยบายบริษัท ข้อมูลพนักงาน ปฏิทินวันหยุดประจำปี ฯลฯ เพื่อให้พนักงานค้นหาคำตอบผ่านระบบได้เลยโดยไม่ต้องเสียเวลามาถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล

นอกจากนี้ LLM ยังสามารถพัฒนาเป็นระบบตอบกลับอัตโนมัติ เพื่อให้ลูกค้าสามารถค้นหาข้อมูลสินค้า และบริการได้บนเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของธุรกิจ ที่สามารถให้บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง

📍 รู้จักกับ aiKMS หรือ AI-Powered Knowledge Managementระบบจัดการ และค้นหาข้อมูลภายในองค์กร ตัวช่วยในการค้นหาข้อมูล และคำตอบภายในองค์กรได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และแม่นยำ

3. Customer Service

ธุรกิจสามารถนำ LLM มาใช้งานเพื่อสร้างระบบการให้บริการลูกค้าแบบอัตโนมัติ ที่สามารถโต้ตอบ และให้ความช่วยเหลือลูกค้าในเบื้องต้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อกับพนักงาน ทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่รวดเร็วทันใจ

    ยกตัวอย่างเช่น  ธุรกิจสามารถนำ LLM มาใช้งาน และพัฒนา AI-Chatbot ที่สามารถตอบคำถาม ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหา รวมถึงให้บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงในทุกที่ ทุกเวลา หรือพัฒนาเป็น Virtual sales assistants หรือเซลส์ AI ที่สามารถแนะนำสินค้า และบริการให้กับลูกค้า ไปตลอดการปิดการขายได้ เป็นต้น 

    📍 สร้าง AI Chatbot ให้กับองค์กรด้วยโซลูชัน AI-Powered Chatbot Solution  ตอบคำถามลูกค้า หรือพนักงานภายในองค์กรได้เหมือนกับการสนทนากับมนุษย์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

    เรียกได้ว่า Large Language Model หรือ LLM  ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของธุรกิจยุคใหม่ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ช่วยเสมือนในการตอบคำถามต่าง ๆ โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานในด้านต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม 

    อย่างไรก็ตาม การทำงานของ LLM นั้นจะมีประสิทธิภาพ และให้คำตอบได้อย่างแม่นยำได้ ก็ต่อเมื่อมีข้อมูลที่มากเพียงพอที่จะคลอบคลุมคำถามทั้งหมด และอาจจะไม่ได้ให้คำตอบที่ถูกต้องเสมอไป 100 % เนื่องจากโมเดล AI นั้นต้องการได้รับการเทรนข้อมูลอยู่ตลอดเวลา รวมถึงควรจะมีขั้นตอน Human-loop เพื่อตรวจสอบข้อมูลการตอบคำถามของ LLM ก่อนจะนำข้อมูลไปใช้งานอยู่เสมอ

    ต้องการนำ Large Language Model (LLM)  ไปใช้งานในธุรกิจ

    หากธุรกิจของคุณกำลังมามองหาวิธีการนำ LLM ไปใช้งานเพื่อยกระดับขั้นตอนการทำงานภายในธุรกิจ ทาง AIGEN (ไอเจ็น) มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI & Machine Learning ที่พร้อมให้คำปรึกษา และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำ LLM ไปประยุกต์ใช้งานภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์การทำงานขั้นสุด ติดต่อเราได้ที่นี่

    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    neurosys , aws.amazon , stepstraining
    AIGEN Live chat