Knowledge management system มีประโยชน์กับธุรกิจอย่างไร
เราต่างเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “Knowledge is power” หรือความรู้คือพลัง และในทุกๆวันทำให้เรายิ่งตระหนักรู้ถึงพลังของความรู้ทั้งในชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัว และในไม่กี่ปีที่ผ่านมาปฏิเสธไม่ได้เลยทั่วโลกนั้นขาดทักษะด้านเทคโนโลยีแบบ High end ที่มีความสำคัญกับหลายๆธุรกิจ รวมถึงบริษัทขนาดใหญ่
แน่นอนว่าการหาพนักงานที่มีความสามารถสูงย่อมใช้การลงทุนที่สูงเช่นกัน หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่ธุรกิจสามารถทำได้คือการตระหนักรู้ ดูแล และฝึกฝนพนักงานที่มีความรู้ และความสามารถเหล่านั้นตั้งแต่แรก ความรู้ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าเป็นอย่างมาก 74%ขององค์กรได้คาดการณ์ว่าการจัดกระบวนการขององค์ความรู้ที่ดีนั้นจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับองค์กรได้สูงถึง 10-40% เมื่อคำนึงถึงเรื่องนี้จึงไม่แน่แปลกใจว่าถ้าองค์กร หรือธุรกิจไหนที่ไม่ได้มีการจัดการองค์ความรู้อย่างเป็นระบบนั้นสามารถสร้างความเสียหายให้กับองค์กรสูงถึงปีละ 31,500 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ (สำหรับธุรกิจที่อยู่ใน Fortune 500 )
Knowledge management system คืออะไร และเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง

Knowledge management หรือการจัดการองค์ความรู้ คือชุดเครื่องมือ กระบวนการ วิธีการ การนำไปใช้ และพฤติกรรมที่ต้องการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับองค์กร โดยเป็นการฝึกฝนในการสนับสนุนให้ใช้วิธีการผสมผสานในการระบุ เก็บ ประเมิน ดึง และแชร์ข้อมูลที่มีอยู่ทั่วทั้งองค์กร โดยข้อมูลอาจจะรวมถึงฐานข้อมูล หรือ database ต่างๆ ขั้นตอนการทำงาน เอกสาร นโยบายการทำงาน รวมถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะบุคคลที่แต่เดิมไม่สามารถจัดเก็บให้อยู่ในรูปของข้อมูลได้
สำหรับองค์กรนั้น มักจะเรียก Knowledge management ว่าเป็นการบริหารจัดการธุรกิจที่ขับเคลื่อนโดยความรู้ โดยการจัดการความรู้ทำให้การใช้การแชร์ความรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้เกิดขึ้นได้ทั่วทั้งองค์กร
Knowledge management นั้นจะโฟกัสในเรื่องของจะจัดเก็บความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างไร โดยเกี่ยวข้องกับการหา insight และสื่อสารออกไปในรูปแบบที่จะดึงดูดทำให้คนสนใจได้ และทำให้คนยิ่งอยากเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆมากยิ่งขึ้น แล้วคุณจะมีวิธีการในการจัดเก็บข้อมูลอย่างไรโดยยังคงไว้ซึ่งอารมณ์ และบริบทที่ต้องการจะสื่อ? วิธีที่ดีที่สุดคือการเพิ่มการใช้งานของสื่อต่างๆภายในองค์กร และพัฒนาการสร้างช่องทางผ่านทางโซเชียลมีเดียเพื่อทำให้คุณอยู่ในการสนทนาอยู่ตลอด
การจัดการองค์ความรู้นั้นมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับวิธีการทำงาน และพฤติกรรมต่างๆ วัฒนธรรมองค์กรที่ถูกสร้างขึ้น สนับสนุน และหล่อเลี้ยงองค์กรมา หรือแม้แต่การเผชิญหน้ากันในฐานะผู้นำองค์กร และในบางกรณีคุณอาจจะต้องเจอกับวัฒนธรรมที่ “ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นที่นี้” เพื่อที่จะสนับสนุนและทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยที่จะแชร์ประสบการณ์ที่เคยล้มเหลวมาเช่นเดียวกับการแชร์ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ Knowledge management ครอบคลุมเรื่องราวทั้งหมดนี้ ตั้งแต่กระบวนการทำงาน พฤติกรรม การเรียนรู้ เทคโนโลยี และเครือข่ายต่างๆ และนี่คือสิ่งที่ทำให้การจัดการองค์ความรู้เป็นศาสตร์ที่น่าสนใจ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ประเภทของ Knowledge management system
มีความรู้ทั้งหมด 3 ประเภทที่ต้องใช้ในการรวบรวม ได้แก่
- Explicit knowledge
เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบเอกสาร และสามารถแปลงไปเป็นบทความต่างๆได้ โดยจะเป็นคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องราวนั้นๆ หรือขั้นตอนการทำงานต่างๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น ขั้นตอนการวัดเสื้อผ้า และข้อมูลเกี่ยวกับผ้า หรือจะสามารถเปลี่ยนข้อมูล login ได้ที่ไหนสำหรับการใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆ สามารถรวบรวมข้อมูล explicit knowledge ผ่านการค้นหาข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ
- Implicit knowledge
เป็นข้อมูลที่ลูกค้าต้องใช้การอนุมาน หรือสรุปเอาจากข้อมูล explicit knowledge โดยลูกค้าจะต้องตีความ หรือแปลความหมายจากชุดข้อมูลเดิมที่มีอยู่ใน explicit knowledge หรือจากข้อมูลทั่วไปเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น จะนำฟีเจอร์ซอฟต์แวร์เหล่านี้ไปใช้งานอย่างไรเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจ การรวบรวม implicit knowledge โดยทำเป็นเอกสารเพื่อบอกลูกค้าถึง use case การนำไปใช้กับธุรกิจ และอธิบายให้ทราบว่าจะต้องใช้ร่วมกับความรู้ประเภทอื่นๆอย่างไรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ลูกค้าต้องการ
- Tacit knowledge
เป็นความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์ และโดยทั่วไปมักจะต้องใช้บริบท และการฝึกฝนเพื่อให้ได้ข้อมูลเหล่านี้มา ตัวอย่างเช่น รู้ได้ทันทีว่าจะต้องทำอย่างไรเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือรองเท้ายี่ห้อหนึ่งไม่รองรับส่วนโค้งของเท้าคุณได้เพียงพอ tacit knowledge มักจะรวบรวมความรู้ได้ยากเนื่องจากมักจะเป็นเรื่องที่ถูกทดสอบเฉพาะบุคคล หรือเป็นเรื่องราวของแต่ละบุคคล ให้เริ่มต้นจากการนำผู้เชี่ยวชาญ หรือพนักงานอาวุโสภายในทีมมาร่วมกันเผยแพร่ความรู้ที่มีความซับซ้อน และใช้สิ่งเหล่านั้นในการสร้างคอนเทนต์ในการเทรนนิ่งต่อไป
เมื่อรวมความรู้ทั้ง 3 ประเภทนี้เข้าด้วยกัน Explicit knowledge คือรู้ว่าอะไรคือแอปเปิ้ล อบเชย แป้งและน้ำตาล Implicit knowledge คือรู้ว่าสามารถนำส่วนประกอบเหล่านี้มาทำเป็นพายได้ ส่วน Tacit knowledge คือรู้ว่าต้องใช้ส่วนผสมแต่ละอย่างเท่าไหร่เพื่อให้ได้ออกมาเป็นพายที่อร่อยที่สุดนั่นเอง
ทำไมธุรกิจถึงต้องใช้ Knowledge management system
ระบบ Knowledge management จะทำให้องค์กรมีการจัดการที่ดี และมีข้อมูลที่อัพเดทอยู่เสมอเมื่อเกี่ยวกับเรื่องเอกสารภายในองค์กร ไม่ว่าบริษัทของคุณจะเป็นบริษัทที่ให้บริการทางด้านซอฟต์แวร์ที่ต้องซัพพอร์ตกลุ่มลูกค้าธุรกิจประเภทต่างๆ สินค้าอุปโภคบริโภคที่ขายบนช่องทางออนไลน์ หรือผู้จัดการฝ่ายช่วยเหลือพนักงาน (Helpdesk manager) ที่เป็นคนคอยจัดการและแก้ไขปัญหาให้กับพนักงานภายในองค์กรในด้านต่างๆ โดยการนำระบบ knowledge management portal มาใช้งานจะทำให้เราสามารถที่จะนำส่งข้อมูลให้กับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. ลูกค้าสามารถหาคำตอบที่ต้องการได้ด้วยตนเอง
ลูกค้าไม่จำเป็นต้องโทรมาเพื่อคุยกับพนักงานเพื่อให้แก้ไขปัญหาให้เสมอไป ถ้าลูกค้าสามารถค้นหาข้อมูลผ่านทางออนไลน์ และได้คำตอบที่ลูกค้าต้องการ ทำให้ลูกค้าไม่ต้องมาเสียเวลารอสายเพื่อที่จะพูดคุยกับพนักงาน
Self-service หรือการที่ลูกค้าสามารถหาคำตอบในเรื่องนั้นๆได้ด้วยตนเองผ่านเอกสารในรูปแบบต่างๆที่บริษัทได้เตรียมไว้ให้เป็นหนึ่งในวิธีที่ตอบโจทย์มากที่สุดวิธีหนึ่งในการที่จะซัพพอร์ตลูกค้า โดยการนำระบบ KMS หรือ ระบบ knowledge Management System เข้ามาใช้งานถือเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยลดจำนวน ticket หรือคำถามจากลูกค้าที่มีเข้ามาที่ศูนย์บริการลูกค้าจำเป็นจะต้องจัดการ
ซอฟต์แวร์ Knowledge management ทำให้ธุรกิจสามารถให้บริการได้แบบ 24 ชั่วโมง โดยลูกค้าสามารถหาคำตอบที่ลูกค้าต้องการได้ในทุกเวลาที่ลูกค้าต้องการ
2. จัดเตรียมคำตอบสำหรับคำถามที่ถูกถามเข้ามาบ่อยๆ
การให้คำตอบสำหรับคำถามที่น่าสนใจกับคนที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นลูกค้าของคุณนั้นมีโอกาสที่จะเปลี่ยนจากผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ให้เป็นลูกค้าได้ ระบบ KMS สามารถระบุถึงคำที่ถูกค้นหาในระบบบ่อยที่สุด และหน้าเว็บไซต์ที่ลูกค้าเยี่ยมชมบ่อยที่สุด โดยที่คุณไม่ต้องทายเลยว่าลูกค้าของคุณอยากรู้เรื่องอะไร ระบบจะเป็นคนบอกคุณเอง!
3. ข้อมูลอัปเดตอยู่เสมอ และค้นหาได้ง่าย
Knowledge management system ช่วยทำให้องค์กรระบุ หรือบ่งชี้ได้ว่าข้อมูลอันไหนที่ล้าสมัย หรือไม่อัพเดทแล้ว และสามารถอัพเดทข้อมูลใหม่เข้าไปแทนได้ สิ่งนี้ถือเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญเมื่อเทียบกับการจัดเก็บเอกสารไว้ในโฟลเดอร์ เมื่อข้อมูลในโฟลเดอร์มีเยอะ และจัดเก็บแบบไม่เป็นระเบียบ ระบบ KMS จะจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญไว้ให้อย่างเป็นระเบียบ ด้วยวิธีการจัดการที่ชัดเจนและความสามารถในการค้นหาที่มีประสิทธิภาพ ทำให้พนักงานทุกคนในองค์กร หรือลูกค้าภายนอกสามารถหาข้อมูลที่ต้องการได้ในเวลาที่ต้องการ
หากมีระบบการให้คะแนน หรือ rating system ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการสามารถแจ้งเตือนให้กับธุรกิจรู้ได้ว่าบทความนี้ไม่ตอบโจทย์ หรือไม่ได้ให้ข้อมูลตามที่ลูกค้าต้องการ เพื่อให้ทีมภายในบริษัทที่เป็นคนจัดเตรียมข้อมูลนี้ใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาข้อมูลให้ตรงตามที่ลูกค้าต้องการได้ เพราะข้อมูลที่ไม่อัพเดทอาจทำให้ลูกค้าเข้าใจผิด และทำให้เสียลูกค้าไปได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ธุรกิจจะต้องดูแลเรื่องการอัพเดทข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
อีกทั้งองค์กร หรือธุรกิจยังสามารถใช้บทความฐานข้อมูลองค์ความรู้เพื่อแจ้งเตือนลูกค้าเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหาชั่วคราวในขณะที่กำลังดำเนินการแก้ไขอยู่ โดยการจัดหมวดหมู่บทความชั่วคราว และบทความถาวรให้ชัดเจน เพื่อทำให้ง่ายต่อการกลับไปรีวิวบทความต่างๆ หรือนำบทความชั่วคราวลงเมื่อบทความตัวจริงได้อัพโหลดเข้าไปในเว็บไซต์ หรือฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
4. เปลี่ยนรูปแบบการส่งอีเมลเป็นการส่งบทความที่อยู่ในระบบ Knowledge management
พนักงานบริการของคุณต้องเสียเวลาในการเขียนรายละเอียดอีเมล์เพื่อส่งให้ลูกค้าหรือไม่? ถ้าคุณใช้งานระบบ KMS ที่ทันสมัย คุณสามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ KMS โดยเปลี่ยนจากการส่งอีเมล์ที่เป็นการบรรยายเป็นการส่งบทความที่ให้ความรู้แทนได้ ในขณะที่กำลังพูดคุยกับลูกค้า พนักงานเพียงส่งต่อการตอบกลับไปยังที่อยู่อีเมล์ของฐานความรู้ขององค์กร จากนั้นระบบจะสร้างแบบร่างบทความให้พนักงานของคุณโดยอัตโนมัติ
ประหยัดเวลาจากการที่ไม่จำเป็นต้องเขียนอีเมล์เพื่ออธิบายขั้นตอนต่างๆแบบซ้ำๆ และรวบรวมข้อมูลให้อยู่ที่ข้อมูลส่วนกลางที่ทุกคนในบริษัทสามารถเข้าถึง และนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้งานได้
Knowledge management system ช่วยยกระดับการให้ประสบการณ์การให้บริการลูกค้าได้อย่างไร
ไม่เพียงแต่ระบบ Knowledge management ส่งผลดีกับธุรกิจของคุณเท่านั้น ยังมีประโยชน์กับลูกค้าที่มาใช้บริการอีกด้วย เมื่อลูกค้าพบกับปัญหาเล็กๆน้อยๆ ลูกค้าไม่จำเป็นต้องโทรศัพท์เข้ามาที่บริษัท รอสาย และอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับพนักงานฟัง สิ่งที่ลูกค้าอยากจะทำก็คือหาข้อมูลที่ต้องการได้จากเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของธุรกิจของคุณ และสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้ด้วยตัวเอง
การเตรียมฐานข้อมูล และความรู้ไว้อย่างละเอียดถือเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยให้ลูกค้าสามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยระบบการจัดการความรู้จะช่วยให้ธุรกิจของคุณยกระดับการให้ประสบการณ์ของลูกค้าได้ 3 วิธีดังต่อไปนี้
1. ลดเวลาการรอคอย
ลูกค้าใช้เวลาในการค้นหาคำตอบด้วยตัวเองในฐานความรู้ที่ธุรกิจได้จัดเตรียมไว้ได้เร็วกว่าการที่ต้องโทรติดต่อเข้ามาหาพนักงาน นอกจากนั้นศูนย์การให้บริการช่วยเหลือออนไลน์นั้นเปิดให้บริการตลอดเวลา และพร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวัน หรือตอนกลางคืนที่ลูกค้าของคุณต้องการความช่วยเหลือ ระบบจัดการความรู้อยู่พร้อมให้บริการลูกค้าตลอด
จากการที่ลูกค้าจำนวนมากสามารถหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง คุณจะเริ่มเห็นว่าจำนวนเคสจากลูกค้า หรือจำนวน ticket ที่เข้ามาเริ่มมีจำนวนที่น้อยลง นั่นหมายความว่าลูกค้าที่จำเป็นที่ต้องคุยกับพนักงานของคุณได้รับความช่วยเหลือ หรือบริการที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น การเปลี่ยนรูปแบบเกี่ยวกับคำถามวิธีการใช้ง่ายๆ โดยการใช้ซอฟต์แวร์การจัดการความรู้เป็นสิ่งที่ดีสำหรับลูกค้าทั้งหมดของคุณ
2. ทำให้ลูกค้าแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง
จากการสำรวจของ Harvard business review พบว่า 81% ของลูกค้าทั้งหมดพยายามที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองก่อนที่จะติดต่อไปหาศูนย์บริการลูกค้า อีกทั้ง 91% ของลูกค้าบอกว่าพวกเขาจะใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบจัดการความรู้ของบริษัทถ้าข้อมูลเหล่านั้นตอบโจทย์พวกเค้า จะเห็นได้ว่าลูกค้าชอบที่จะหาคำตอบ และแก้ไขในเรื่องต่างๆด้วยตนเองมากกว่าที่โทรศัพท์เข้ามาที่ศูนย์บริการลูกค้าเพื่อขอความช่วยเหลือ เพื่อที่ตอบโจทย์ลูกค้า และทำให้ลูกค้ามีความสุข สิ่งที่ดีที่สุดที่ทีมซัพพอร์ตสามารถทำได้คือเตรียมช่องทางการช่วยเหลือ (Help center) ที่ใช้งานได้ง่ายไว้ให้พร้อม รวมถึงการพัฒนาข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารกับลูกค้าอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดอัตราการเลิกใช้บริการของลูกค้าลงได้ เพิ่มความซื่อสัตย์ที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ และลดต้นทุนในการหาลูกค้าใหม่ให้กับธุรกิจ เรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่ Win-win กันทุกฝ่าย
3. ให้ความช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างละเอียด
มีอะไรมากมายที่คุณสามารถสื่อสารผ่านอีเมล หรือโทรศัพท์ได้ ระบบ Knowledge management ทำให้คุณสามารถรวมสื่อในหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกันได้ซึ่งทำให้สามารถช่วยเหลือลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น
ลูกค้าทุกๆคนมีวิธีที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง ไม่ว่าจะผ่านทางข้อความ หรือตัวหนังสือ วิดีโอ หรือรูปภาพ การจัดเตรียมสื่อในรูปแบบต่างๆไว้ให้พร้อมในศูนย์ความช่วยเหลือลูกค้าทำให้ธุรกิจมั่นใจได้ว่าลูกค้าที่เข้ามาทุกคนจะได้รับความช่วยเหลือไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าคนนั้นจะชอบการอ่านคอนเทนต์บนสื่อออนไลน์หรือไม่ก็ตาม
นอกจากนั้นแทนที่พนักงานให้บริการลูกค้าจะต้องนั่งเขียนอีเมล์แบบละเอียดในทุกครั้ง พนักงานเพียงแค่แนบลิ้งค์ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ Knowledge management ให้กับลูกค้า ทำให้ประหยัดเวลา และกระตุ้นทำให้ลูกค้าสามารถหาคำตอบได้ด้วยตนเองในอนาคตอีกด้วย
ยกระดับ Knowledge management system ด้วยเทคโนโลยี AI

จากสถิติที่ได้กล่าวมาในด้านบนจะเห็นได้ว่าลูกค้าพยายามที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเองด้วยข้อมูล และความรู้ที่บริษัท หรือธุรกิจต่างๆได้จัดเตรียมไว้ในระบบศูนย์ความช่วยเหลือออนไลน์ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจที่จะต้องเตรียมข้อมูลที่ลูกค้าต้องการไว้ให้พร้อมในระบบจัดการความรู้ และอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ระบบ Knowledge management ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นคือเทคโนโลยี AI ที่จะทำให้ระบบจัดการความรู้ภายในองค์กรเป็นเรื่องที่ง่าย เป็นระบบ และตอบโจทย์พฤติกรรมของลูกค้าในยุคปัจจุบัน
โดย AI-Powered Knowledge Management จะจัดการข้อมูลภายในองค์กรที่อยู่ใน format ต่างๆไม่ว่าจะข้อมูลนั้นจะอยู่ในรูปแบบของเอกสาร หรือ FAQ ถาม-ตอบที่เป็นไฟล์ csv หรือแม้แต่เอกสารสแกนให้มารวมอยู่ในฐานข้อมูลด้วยกันได้อย่างรวดเร็ว โดยธุรกิจสามารถอัพโหลดข้อมูลเข้ามาในระบบจัดการความรู้ และจะมี AI ที่ใช้ในการประมวลข้อมูลในเอกสารได้แบบอัตโนมัติ ในการดึงข้อมูลที่อยู่ในเอกสาร หรือรูปภาพต่างๆที่ยังไม่ได้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลเข้ามาเก็บไว้ในระบบจัดการความรู้ พร้อมทั้งทำการประมวลผล แบ่งแยกข้อความ และจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ ให้พร้อมต่อการสืบค้น และผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึง และจัดการข้อมูลองค์ความรู้สามารถเข้าสู่ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ใส่หัวข้อหรือเพิ่มรูปประกอบคำตอบได้ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ อีกทั้งเมื่อใช้งานจริงสามารถเพิ่ม Keyword ที่เฉพาะสำหรับแต่ละธุรกิจได้
อีกทั้งธุรกิจ หรือองค์กรยังสามารถเชื่อมต่อระบบ Knowledge management นี้เข้ากับช่องทางการสื่อสารต่างๆของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ภายในองค์กร หรือสามารถต่อยอดเป็นแชทบอทที่เชื่อมต่อกับ Facebook messenger, Line และ Slack ได้ เพื่อทำให้ลูกค้า หรือพนักงานสามารถเข้ามาใช้งาน และค้นหาคำตอบได้อย่างสะดวก และแม่นยำ ด้วยความสามารถของเทคโนโลยีการประมวลภาษาธรรมชาติ หรือ NLP ที่สามารถเข้าใจบริบทคำถามที่มีความซับซ้อนได้อย่างแม่นยำ และรองรับทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษทำให้ตอบโจทย์ทั้งลูกค้า และกระบวนการให้บริการของธุรกิจเอง
เรียกได้ว่าโซลูชัน AI-Powered Knowledge Management ทำให้การจัดระบบจัดการความรู้สามารถทำได้โดยกึ่งอัตโนมัติตั้งแต่การนำเข้าข้อมูล จนถึงการนำข้อมูลไปใช้งาน เพิ่มความสามารถให้กับธุรกิจในการเข้าถึงข้อมูลเป็นจำนวนมาก และรวบรวมข้อมูลไว้ให้อยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน ช่วยให้ธุรกิจประหยัดเวลา และจำนวนบุคลากรที่ต้องใช้ในการตอบคำถาม หรือค้นหาข้อมูลได้เป็นอย่างดี เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจในยุคปัจจุบันที่ต้องการความสะดวก รวดเร็วทั้งในการทำงาน และการให้บริการลูกค้า
ต้องการนำระบบ Knowledge management มาใช้กับธุรกิจ
ระบบจัดการความรู้ หรือ Knowledge management นั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับแต่ละองค์กร หรือธุรกิจ โดยทำให้องค์ความรู้ขององค์กรรวบรวมไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน และทำได้โดยอัตโนมัติ ง่ายต่อการค้นหา และนำข้อมูลไปใช้งานทั้งสำหรับพนักงาน และลูกค้า สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ อีกทั้งการมีระบบศูนย์ความช่วยเหลือออนไลน์นั้นทำให้ลูกค้าสามารถแก้ไขปัญหาบางอย่างเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง ลดเวลาการรอสายของลูกค้า ทำให้พนักงานมีเวลาที่จะโฟกัสกับเคสลูกค้าที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนได้มากขึ้น ส่งผลทำให้ความพึงพอใจของการให้บริการในภาพรวมดีขึ้นอีกด้วย
หากองค์กร หรือธุรกิจของคุณกำลังมองหาโซลูชัน AI-Powered Knowledge Management ไปใช้งาน เพื่อยกระดับการจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร เรามีผู้เชี่ยวชาญทางด้าน AI และธุรกิจที่พร้อมให้คำแนะนำให้กับธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นพาร์ทเนอร์คู่คิดให้กับธุรกิจ ปรึกษาพวกเรา AI GEN (ไอเจ็น) ได้ที่นี่เลยค่ะ