Share

รู้จัก “เทคโนโลยียืนยันตัวตน” และการนำไปใช้เพื่อทำ e-KYC

การยืนยันตัวตนบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการทำ e-KYC (Electronic Know Your Customer) เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากกับหลาย ๆ ธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจธนาคาร และผู้ให้บริการแอปพลิเคชันทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ เพราะต้องเน้นถึงความปลอดภัยในการใช้งานเป็นหลัก อีกทั้งยังจะต้องมาพร้อมกับระบบที่สามารถช่วยป้องกันการแอบอ้างตัวตน จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยเพื่อสร้างความปลอดภัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลในการทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก

ในบทความนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับเทคโนโลยียืนยันตัวตนว่ามีกี่แบบ และแต่ละแบบมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง

เทคโนโลยียืนยันตัวตนคืออะไร มีกี่แบบ

เปิดโลก “เทคโนโลยียืนยันตัวตน” ช่วยป้องกันความปลอดภัย

เทคโนโลยียืนยันตัวตน (Identity Verification Technology) เป็นสิ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตรวจสอบ และยืนยันสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลหรือบริการที่จำเป็นของตัวบุคคลหรือองค์กร ซึ่งข้อดีของการใช้เทคโนโลยียืนยันตัวตน จะช่วยป้องกันการปลอมแปลงตัวตน พร้อมเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ รวมถึงสร้างความเชื่อมั่น ว่าพวกเขาจะไม่ถูกละเมิดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลสำคัญทางธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต

ประเภทของเทคโนโลยียืนยันตัวตนที่ควรรู้

1. Password

ระบบการใช้ชุดตัวอักษรและตัวเลขเพื่อสร้างรหัสผ่าน ถือเป็นรูปแบบทั่วไปของการตรวจสอบและยืนยันตัวบุคคลแบบเบื้องต้น โดยผู้ใช้งานที่ต้องการจะเข้าถึงระบบ ข้อมูล หรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่มีการป้องกันด้วยระบบนี้ จะต้องทำการระบุรหัสผ่านเฉพาะ เพื่อรับสิทธิ์การเข้าถึงก่อนเสมอ 

2. Biometrics

การยืนยันตัวตนโดยระบบไบโอเมตริกซ์ (Biometrics) ถือเป็นอีกขั้นที่ช่วยยกระดับความปลอดภัย และได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีข้อดีเรื่องความปลอดภัยที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นการยืนยันผ่านอัตลักษณ์ทางกายภาพของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังเป็นเทคโนโลยีที่สะดวก รวดเร็วในการใช้งาน เพียงแค่สแกนลายนิ้ว ใบหน้า ม่านตา หรือการใช้เสียงของผู้ที่มีสิทธิ์เข้าถึงก็สามารถเข้าถึงอุปกรณ์หรือฐานข้อมูลได้ในทันที

3. Two-factor authentication (2FA)

ในส่วนของเทคโนโลยียืนยันตัวตนแบบ Two-factor authentication (2FA) หรือการรับรองความถูกต้องแบบสองปัจจัย เป็นระบบการรักษาความปลอดภัยที่ให้ผู้ใช้ระบุตัวตนถึง 2 ขั้น จึงจะสามารถเข้าถึงข้อมูลหรือระบบได้ 

โดยจุดประสงค์หลักของการรักษาความปลอดภัยแบบ 2FA นั้น เป็นการพัฒนาขึ้นมาเพื่อเสริมความปลอดภัยให้กับระบบการใส่รหัสผ่าน ยกตัวอย่างเช่น หากบัญชีถูกแฮกเกอร์พยายามเข้าถึงด้วยการสุ่มรหัสผ่าน ระบบที่มีการรักษาแบบ 2FA จะส่งขั้นตอนขอยืนยันสิทธิ์ไปถึงเจ้าของบัญชีที่แท้จริง เพื่อให้กดยืนยันตัวตนการเข้าถึง ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถรู้เท่าทันและป้องกันก่อนการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ได้ เป็นต้น สำหรับประเภทของ 2FA ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันจมีดังนี้

  • รหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียวตามเวลา (TOTP): รหัสหกหลักที่เปลี่ยนทุก ๆ 30 วินาที และสร้างขึ้นโดยแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์มือถือของผู้ใช้
  • รหัสผ่านครั้งเดียวที่ใช้ SMS (OTP): รหัสหกหลักที่ส่งทาง SMS ไปยังอุปกรณ์มือถือของผู้ใช้
  • โทเค็นความปลอดภัย: อุปกรณ์ขนาดเล็กที่สร้างรหัสเฉพาะทุกครั้งที่ผู้ใช้กดปุ่ม
  • ยืนยันตัวตนด้วย Biometrics: การใช้ลายนิ้วมือของผู้ใช้ การจดจำใบหน้า หรือการจดจำเสียงเป็นปัจจัยที่สอง

ซึ่งการใช้เทคโนโลยียืนยันตัวตนแบบ 2FA ถือเป็นการยกระดับที่ช่วยรักษาความปลอดภัยของระบบ บัญชี และข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีหลากหลายธุรกิจนิยมนำไปปรับใช้เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มธุรกิจด้านการเงิน ธนาคาร การดูแลสุขภาพ และบริการออนไลน์

4. Multi-factor authentication (MFA)

Multi-factor authentication (MFA) หรือการรับรองความถูกต้องแบบหลายปัจจัย (MFA) มีความคล้ายคลึงเป็นอย่างมากกับ 2FA เพียงแต่จะใช้ปัจจัยในการยืนยันตัวตนที่หลากหลายรูปแบบมากกว่า โดยจะยืนยันปัจจัยตั้งแต่สามอย่างขึ้นไป อาจประกอบไปด้วยรหัสผ่าน โทเค็นความปลอดภัย และการระบุตัวตนทางกายภาพ เป็นต้น

การใช้เทคโนโลยียืนยันตัวตนใน e-KYC

 เทคโนโลยียืนยันตัวตนที่ใช้ทำระบบ e-KYC

ระบบ e-KYC (Electronic Know Your Customer) ถือเป็นระบบรวบรวมเครื่องมือที่ใช้ในการยืนยันตัวตนเอาไว้ด้วยกัน และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในธุรกิจการเงินและธนาคาร รวมถึงธุรกิจประเภทอื่นๆ ที่ต้องให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ โดยจะมีการใช้ซอฟต์แวร์ OCR ในการช่วยตรวจสอบเอกสาร และข้อมูลการสมัครใช้งานร่วมกับเทคโนโลยียืนยันตัวตนแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • เทคโนโลยียืนยันตัวตนแบบ Biometrics: การสแกนใบหน้าเพื่อเทียบกับรูปถ่ายในบัตรประชาชน หรือลายนิ้วมือ
  • การยืนยันความปลอดภัยแบบ 2FA หรือ MFA: รับรองความถูกต้องด้วยรหัส OTP ที่ส่งไปยัง SMS หรืออีเมลส่วนบุคคล
  • การตรวจสอบลายเซ็นดิจิทัล ใช้ใบรับรองลายเซ็นดิจิทัลเพื่อยืนยันตัวตนของผู้ใช้ ใบรับรองลายเซ็นดิจิทัลออกโดย Certifying Authority (CA)

หลังจากได้รู้กันไปแล้วว่าเทคโนโลยียืนยันตัวตนคืออะไร และมีกี่แบบที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาระบบ e-KYC ให้กับธุรกิจของคุณได้ หากผู้ประกอบการท่านใดมีความสนใจในเทคโนโลยีนี้และต้องการนำไปปรับใช้ AIGEN ขอแนะนำ AI-Powered e-KYC Gateway Solution เทคโนโลยีที่ทำงานระหว่าง aiScript ในการดึง และประมวลผลข้อมูลจากเอกสาร ร่วมกับ aiFace เทคโนโลยียืนยันตัวตนด้วยใบหน้า อีกหนึ่งโซลูชันที่จะช่วยยกระดับความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ติดต่อเพื่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่

AIGEN Live chat