Share

ตอบชัด Generative AI VS Traditional AI มีอะไรบ้างที่แตกต่าง

หันไปทางไหนก็เหมือนโดนเทคโนโลยี AI ล้อมเอาไว้เสียหมด ตั้งแต่การใช้งานในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการใช้สำหรับทำงานภายในองค์กร แต่รู้ไหมว่า AI ที่รู้จักกันนั้น ปัจจุบันสามารถจำแนกได้สองประเภทใหญ่ นั่นคือ Generative AI และ Traditional AI หากอยากรู้ว่าคืออะไร มีอะไรบ้างที่แตกต่างกัน เรามีคำตอบ

Generative AI คืออะไร มีประโยชน์มากแค่ไหน

Generative AI คืออะไร ?

Generative AI  คือ ปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ ที่ AI สามารถผลิตคอนเทนต์ใหม่ ๆ โดยเลียนแบบรูปแบบข้อมูลที่เคยเห็นหรือเรียนรู้มา เช่น ข้อความ รูปภาพ หรือเสียง หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ซ้ำ และนำไปปฏิบัติ เพื่อสร้างชิ้นงานใหม่ ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับข้อมูลที่เคยเรียนรู้มานั่นเอง

หลักการทำงานของ Generative AI

หลักการทำงานของ Generative AI เป็นการทำงานโดยใช้ Neural Network หรือโครงข่ายประสาทเทียมเข้ามาช่วยในการเรียนรู้ และประมวลผล โดยอ้างอิงลักษณะมาจากสมองของมนุษย์ รวมไปถึงแบบจำลองสถิติ เพื่อทำการสร้างข้อมูลจากการวิเคราะห์ผ่านสิ่งที่มีอยู่ มาใช้เพื่อสร้างข้อมูลที่มีความสมจริง ทำให้สามารถเรียนรู้ได้เองโดยไม่ต้องมีผู้กำหนด

ส่งผลให้ Generative AI สามารถคิด จดจำ และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดี ไม่ว่าจะเป็น รูปร่าง ตัวอักษร สี หรือพื้นผิว รวมไปถึงเสียง จากนั้นระบบจะนำข้อมูลเหล่านี้ไปต่อยอด ประมวลผลเพื่อ “สร้างสิ่งใหม่ ๆ” ที่ไม่ใช่การทำซ้ำขึ้นมา 

Generative AI มีอะไรบ้าง ?

  • Text Generation (ข้อความ) : มีความสามารถในการทำความเข้าใจ สรุป และสร้างคำพูดโดยใช้ AI เข้ามาช่วยเหลือในด้านของการเรียบเรียงข้อมูล พร้อมเพิ่มความเป็นธรรมชาติและความสร้างสรรค์โดยอาศัยการเรียนรู้รูปแบบการใช้ภาษาจากข้อมูลที่ป้อนเข้าไป เช่น การเขียนอีเมล, การเขียนบทความ, การเขียนสคริปต์ ตลอดจนการตรวจสอบไวยากรณ์ และการเสนอรูปแบบการเขียนงานต่าง ๆ 
  • Code Generation (โค้ด) : Generative AI ที่มุ่งเน้นไปที่การสร้างโค้ดโปรแกรม โดยอาศัยการเรียนรู้รูปแบบและโครงสร้างของภาษาคอมพิวเตอร์จากระบบประมวลผล Large Language Model (LLM) ให้สามารถเขียนโค้ดได้เร็วและมีประสิทธิภาพ 
  • Image Generation (รูปภาพ) : ใช้ในการสร้างภาพ โดยการป้อนข้อความ คีย์เวิร์ด หรือทำการ Prompt เพื่อบอกสิ่งที่ต้องการให้ AI ทำการสร้างรูปภาพขึ้น จากการเรียนรู้ผ่านมุมมอง ประเภทภาพ และรูปแบบงานดีไซน์ที่ป้อนเข้าไป
  • Audio Generation (เสียง) : แปลงข้อความเป็นเสียงพูด (Text-to-Speech) และแปลงเสียงพูดเป็นข้อความ (Speech-to-Text) ได้อย่างแม่นยำ โดยใช้กระบวนการ Machine Learning เข้ามาช่วยประมวลผลข้อมูลแบบ Input แล้วแปลงออกไปเป็น Output ที่ต้องการ

นอกเหนือจาก Generative AI พื้นฐานที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั้ง 3 แบบที่ยกมาแล้ว ในปัจจุบันยังมี Generative AI อื่น ๆ อีกมากมายที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อรองรับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะ เช่น Generative AI สำหรับออกแบบผลิตภัณฑ์โดยอัตโนมัติ และ Generative AI เพื่อการวิเคราะห์และคาดคะเนข้อมูล

ข้อดีของ Generative AI

  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างสร้างสรรค์ รวดเร็ว และสดใหม่ ตอบโจทย์ได้ทุกอุตสาหกรรม
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาด นำไปบูรณาการวางแผนทั้งด้านข้อมูลเชิงลึก และการผลิตสื่อโฆษณาการตลาดได้อย่างมั่นใจ
  • จบปัญหาการบริหารจัดการข้อมูล พร้อมเข้าถึงการวิเคราะห์และคาดคะเน เพื่อสรุปเป็นข้อมูลเชิงลึกได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ
  • ลดเวลาและภาระงานด้านความสร้างสรรค์ กำหนดไอเดียสดใหม่ได้ด้วยการใช้ Generative AI ที่ตอบโจทย์

Traditional AI คืออะไร ?

Traditional AI หมายถึง ระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ทำงานเฉพาะจุด โดยเลียนแบบกระบวนการคิดของมนุษย์ โดย AI ประเภทนี้ จะเรียนรู้จากข้อมูลที่ป้อนเข้าไป วิเคราะห์ และคาดการณ์ผลลัพธ์ให้ “แต่ไม่ได้สร้างผลงานชิ้นใหม่ขึ้นมา”

ความแตกต่างของ Traditional AI VS Generative AI คืออะไร

หลักการทำงานของ Traditional AI

หลักการทำงานของ Traditional AI จะเป็นการทำงานจากการเรียนรู้แบบ Machine Learning เป็นหลัก ส่งผลให้ AI ดั้งเดิมสามารถตอบสนองได้ดีกับการใช้ทำงานแบบเน้นเฉพาะจุด เนื่องจากระบบจะถูกออกแบบมาให้สามารถตอบสนองต่อชุดข้อมูลที่ป้อนเข้าไป และทำการตัดสินใจหรือคาดเดาเหตุการณ์ตามชุดข้อมูลนั้น ๆ ได้อย่างเต็มที่ แต่ไม่ได้มีความสามารถในการเรียนรู้และเข้าใจข้อมูลจำนวนมาก จนสามารถสร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้ 

Traditional AI มีอะไรบ้าง ?

ในปัจจุบันมี AI แบบดั้งเดิมอยู่มากมาย ที่ผ่านการพัฒนาชุดข้อมูลเพื่อให้ตอบสนองต่อการใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยจะยกตัวอย่าง 3 รูปแบบ Traditional AI ที่หลายคนคุ้นชินกัน ดังนี้

  • Expert Systems: ระบบที่ออกแบบมาเพื่อเลียนแบบความรู้ ความเชี่ยวชาญของมนุษย์ในแต่ละสาขาเฉพาะ เพื่อให้สามารถตอบสนองการวิเคราะห์ข้อมูล คาดคะเน และแนะนำได้อย่างเหมาะสม เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข ที่ใช้เพื่อวินิจฉัยโรค หรือระบบผู้เชี่ยวชาญการเงินที่ออกแบบมาเพื่อคาดคะเนแนวโน้มการลงทุน การเงิน พร้อมมอบคำแนะนำที่ลงลึก เจาะได้ตรงจุด
  • Decision Trees: เป็นระบบที่ใช้เพื่อการตัดสินใจตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ผ่านชุดข้อมูลที่ถูกป้อนให้ได้เรียนรู้ เช่น การตัดสินใจว่าจะอนุมัติการสมัครขอสินเชื่อหรือไม่ จากข้อมูลของลูกค้าสถาบันการเงินที่มีในระบบ เป็นต้น
  • Natural language processing (NLP): ระบบ NLP ใช้เพื่อทำความเข้าใจและสร้างภาษาของมนุษย์ โดยระบบ NLP ถูกใช้ใน Search Engines, Chatbots และ Machine Translation Systems โดยมีจุดเด่นคือการทำความเข้าใจในภาษา และตอบโต้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ เหมาะสำหรับใช้ประยุกต์ในระบบบริการลูกค้า และระบบ KMS เพื่อบริหารข้อมูลในองค์กร

ข้อดีของ Traditional AI

  • สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานที่ต้องวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากหรือทำการตัดสินใจซ้ำ ๆ
  • มีประสิทธิภาพการทำงานสูงมาก ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชุดข้อมูลที่ได้รับ หากได้ชุดข้อมูลคุณภาพสูง มีประโยชน์ ถูกต้อง และแม่นยำ ก็จะยิ่งช่วยดึงศักยภาพการทำงานของ Traditional AI ให้พุ่งสูงยิ่งขึ้น
  • เข้าใจง่าย ใช้งานสะดวก เพราะเป็นระบบที่ทำงานบนพื้นฐานของกฎเกณฑ์และโมเดลการเรียนรู้ที่มีแบบแผนชัดเจน

ครบทุกโซลูชัน ทั้ง Generative AI และ Traditional AI ที่ AIGEN

สัมผัสสุดยอดของประสบการณ์ทำงานโดยโซลูชันอัจฉริยะภายในองค์กร กับบริการจาก AIGEN ผู้เชี่ยวชาญและพัฒนา AI ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ จึงพร้อมที่จะพัฒนาทุกโซลูชัน AI ในการใช้งาน ตั้งแต่งานเอกสาร สรุป และจัดประเภทของข้อความ AI Chatbot และระบบ Knowledge Management (KM) เพื่อใช้สำหรับธุรกิจ ให้ตอบโจทย์กับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม

หากสนใจใช้งานโซลูชัน AI สำหรับธุรกิจ พร้อมตอบสนองการใช้งานองค์รวมด้วย Knowledge Management ตัวช่วยสร้างระบบค้นหา และระบบถาม-ตอบที่ทรงพลัง โดยอาศัยข้อมูลภายในองค์กร สามารถติดต่อเราเพื่อสอบถามเพิ่มเติมได้เลย ที่นี่ 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. เทคโนโลยี AI ค้าปลีกไม่รู้ไม่ได้แล้ว. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567 จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/business/business/1125007 
  2. What is generative AI?. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2567 จาก https://research.ibm.com/blog/what-is-generative-AI
AIGEN Live chat