เพิ่มศักยภาพในการทำการตลาดยุคใหม่ด้วย AI Marketing
ในอดีตการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาใช้กับธุรกิจอาจจะดูเป็นเรื่องที่ยังไกลตัวอยู่มาก แต่ในปัจจุบันด้วยการพัฒนา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การนำ AI เข้ามาใช้ในธุรกิจไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป AI ได้แทรกซึมอยู่ในบริการต่างๆ ของธุรกิจที่เราได้ใช้บริการกันอยู่บ่อยๆ ตั้งแต่การสแกนใบหน้าเพื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน การถ่ายรูป และอัพโหลดเอกสารเข้าไปในเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน การพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่อาจจะเป็นแชทบอท เรียกได้ว่า AI ได้เป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา และพบเจอได้ทั่วไป เพียงแต่เราอาจจะไม่รู้ว่ากลไกเหล่านี้มี AI เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังสำคัญ
AI ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับหน้าที่งานหลากหลายฟังก์ชันในภาคธุรกิจ ตั้งแต่การบัญชี และการเงิน การผลิต การให้บริการลูกค้า จนถึงการตลาด ซึ่งการทำการตลาดยุคใหม่นั้นมีความซับซ้อนมากขึ้น โดยที่ทุกธุรกิจต้องไปอยู่ในทุกที่ที่ลูกค้าอยู่ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์ หรือออฟไลน์ทำให้ต้องอาศัยตัวช่วยที่จะทำให้การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า ความต้องการของตลาด การประมวลผลข้อมูล การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อช่วยโน้มน้าวให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า และบริการของธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า AI เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนให้การทำตลาดในปัจจุบันมีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น
AI Marketing คืออะไร
AI Marketing คือการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการตัดสินใจได้แบบอัตโนมัติโดยพิจารณาจากการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกค้า หรือเทรนด์ของเศรษฐกิจที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการทำการตลาด AI มักจะถูกนำมาใช้การทำตลาดในยุคปัจจุบันที่ความเร็วถือเป็นสิ่งสำคัญ เครื่องมือ AI ใช้ข้อมูล และโปรไฟล์ของลูกค้าเพื่อที่จะเรียนรู้วิธีการสื่อสารกับลูกค้าได้ดีที่สุด หลังจากนั้นจึงส่งข้อความที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละรายในเวลาที่เหมาะสมโดยไม่ต้องมีการแทรกแซงจากทีมการตลาด เพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพที่สูงที่สุด สำหรับนักการตลาดยุคใหม่ การนำ AI มาใช้งานนั้นเพื่อช่วยเสริมทีมการตลาด หรือเพื่อทำหน้าที่เชิงกลยุทธ์บางอย่างที่อาจจะใช้คนในการทำงานน้อยลงได้
ตัวอย่างการนำ AI Marketing มาใช้งาน ได้แก่
- การวิเคราะห์ข้อมูล
- การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural language processing)
- การซื้อสื่อ
- การตัดสินใจแบบอัตโนมัติ
- การสร้างคอนเทนต์
- การทำ Personalization แบบเรียลไทม์
องค์ประกอบที่สำคัญของ AI Marketing
Harvard business review ได้แบ่งการทำงานของ AI Marketing ออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ ระดับของความอัจฉริยะ และในมิติของการเป็นโปรแกรมแบบ Stand-alone หรือเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม บางเทคโนโลยี เช่น แชทบอท หรือระบบการให้คำแนะนำ (Recommendation engine) สามารถจัดอยู่ในหมวดหมู่ใดก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับวิธีการนำไปใช้งานภายในแต่ละแอปพลิเคชันที่จะเป็นตัวกำหนดการจัดประเภท
ทำความรู้จักกับระดับความอัจฉริยะของ AI
- Task automation
การนำ AI ไปใช้งานในรูปแบบ Task automation นั้น AI จะจัดการทำงานที่ต้องทำซ้ำไปมา เป็นหน้าที่งานที่มีขั้นตอนที่ชัดเจน ซึ่งไม่ได้จำเป็นต้องใช้ระดับความอัจฉริยะมากนัก โดย AI ถูกออกแบบมาให้ทำงานตามกฎ หรือดำเนินการตามลำดับของขั้นตอนการทำงานที่กำหนดไว้ล่วงหน้า แต่จะไม่สามารถจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อนได้ เช่น คำขอของลูกค้าที่มีความละเอียด และซับซ้อน ตัวอย่างของการทำงานรูปแบบนี้ เช่น ระบบสามารถส่งอีเมลต้อนรับลูกค้าใหม่แต่ละคนได้แบบอัตโนมัติ แชทบอทที่สามารถสามารถเชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดียได้ โดยที่แชทบอทเหล่านี้สามารถให้ความช่วยเหลือลูกค้าในเบื้องต้นได้ โดยนำคำถาม หรือคำร้องขอของลูกค้าไปสู่โครงสร้างการตัดสินใจที่ได้กำหนดไว้ แต่แชทบอทในรูปแบบนี้ไม่สามารถที่จะแยกแยะเจตนาของลูกค้าได้ ไม่สามารถที่จะให้คำตอบแบบรายบุคคล หรือเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าแต่ละครั้งได้
- Machine learning
อัลกอริทึมเหล่านี้ถูกเทรนโดยใช้ข้อมูลจำนวนมากคาดการณ์ และตัดสินใจในเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน ตัวอย่างเช่น โมเดลสามารถจดจำภาพ ถอดรหัสข้อความ จัดกลุ่มลูกค้า และคาดการณ์ได้ว่าลูกค้าจะตอบสนองกับเรื่องต่างๆ อย่างไร เช่น การจัดโปรโมชั่น เทคโนโลยี Machine learning ได้กระตุ้นให้เกิดเป็นโปรแกรมการซื้อโฆษณาออนไลน์ ระบบให้คำแนะนำสินค้าในแพลตฟอร์ม E-commerce และโมเดลในการแนวโน้มของการขายในระบบ CRM โดยที่ตัวแปรที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้เทคโนโลยี Deep learning เป็นเทคโนโลยีที่มาแรงที่สุดใน AI และและกำลังกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในด้านการตลาดอย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจว่าการนำ Machine learning มาใช้งานในปัจจุบันนั้นสามารถใช้ได้กับงานบางอย่าง และจำเป็นต้องเทรนโมเดลด้วยข้อมูลจำนวนมาก
มารู้จักกับการนำไปใช้งานแบบ Stand-alone กับแบบ Integrated AI กันบ้าง
- Stand-alone
เป็นโปรแกรม AI ที่แบ่งอย่างชัดเจน หรือสามารถแยกออกได้ โดยที่โปรแกรม AI แบบ Stand-alone นั้นจะถูกแยกออกจากช่องทางหลักที่ลูกค้าใช้ในการหาข้อมูล หรือซื้อสินค้า รวมทั้งการติดต่อสอบถามข้อมูล หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ คือลูกค้าหรือพนักงานจะต้องใช้ช่องทางพิเศษนอกเหนือจากช่องทางการติดต่อหลักเพื่อใช้ AI
- การเชื่อมต่อการใช้งาน (Integrated AI)
เป็นรูปแบบการใช้งาน AI ที่ฝังอยู่ในโปรแกรมเดิมที่มีอยู่ แอปพลิเคชัน AI เหล่านี้มักจะมองเห็นได้น้อยกว่าแอปพลิเคชันแบบ Stand-alone สำหรับลูกค้า นักการตลาด และพนักงานขายที่ใช้แอปพลิเคชันเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น Machine learning ที่สามารถตัดสินใจได้ในเสี้ยววินาทีว่าจะส่งโฆษณาตัวไหนให้ผู้ใช้งานนั้นถูกสร้างอยู่ในแพลตฟอร์มที่จัดการ และดูแลเกี่ยวกับการซื้อขายโฆษณาแบบครบวงจร รวมทั้ง Machine learning ที่อยู่ใน Netflix ได้นำเสนอวิดีโอ หรือซีรีส์ให้กับลูกค้าแต่ละคนมามากกว่า 10 ปี โดยที่การเลือกนำเสนอของ Netflix จะปรากฏในเมนูข้อเสนอที่ผู้ใช้งานเห็นเมื่อเข้าไปในแอปพลิเคชันของ Netflix ถ้าระบบในการแนะนำเป็นรูปแบบ Stand-alone ผู้ใช้งานก็จะต้องเข้าไปในอีกแอปพลิเคชัน และทำการรีเควสการให้คำแนะนำ ซึ่งอาจจะไม่สะดวกกับผู้ใช้งาน
ผู้พัฒนาระบบ CRM เองต่างเพิ่มความสามารถด้าน Machine learning เข้าไปในระบบ ตัวอย่างเช่น Salesforce มีความสามารถในหลากหลายด้าน รวมถึงการใช้ AI ในการให้ทำ Lead scoring แบบอัตโนมัติ โดยจัดลำดับตามแนวโน้มลูกค้าที่มีโอกาสซื้อ
ตัวอย่างการนำ AI Marketing มาใช้งานกับธุรกิจ
AI ได้ถูกนำไปใช้ในความคิดริเริ่มทางการตลาดในหลายรูปแบบ และในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการเงิน และธนาคาร หน่วยงานภาครัฐ ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจสุขภาพ ธุรกิจค้าปลีก และอื่นๆ แต่ละตัวอย่างการนำไปใช้งานย่อมให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่การพัฒนาปรับปรุงไปจนถึงประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาด การยกระดับประสบการณ์ลูกค้า หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด
มีหลายวิธีที่ธุรกิจสามารถนำ AI และ Machine learning ไปใช้งานเพื่อสร้างเป็นแผนการตลาดที่ครอบคลุมได้มากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างการใช้งานดังต่อไปนี้
1. การประมูลในการซื้อสื่อออนไลน์
ปัญหาที่ทีมการตลาดมักจะต้องเจออยู่บ่อยๆ คือตัดสินใจว่าจะโฆษณาที่ไหนด้วยข้อความ หรือ Key message อย่างไร ทีม Marketing สามารถที่จะทำแพลนตามสิ่งที่ลูกค้าต้องการ แต่ทีมอาจจะไม่ได้มีความยืดหยุ่น หรือคล่องตัวมากพอที่จะปรับเปลี่ยนแผนตามข้อมูลลูกค้าล่าสุด นักการตลาดจึงได้นำ AI มาใช้งานเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นผ่านทาง Programmatic advertising แพลตฟอร์มการโฆษณาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Machine learning เพื่อที่จะทำการประมูลพื้นที่โฆษณาที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ การประมูล หรือการเสนอราคาจะพิจารณาจากความสนใจ สถานที่ ประวัติการซื้อสินค้า ความตั้งใจซื้อของลูกค้า และอื่นๆ ทำให้ทีมการตลาดสามารถที่จะใช้ช่องทางที่ใช่ได้ในเวลาที่ใช่ ในราคาที่แข่งขันได้ แพลตฟอร์มการซื้อโฆษณาออนไลน์เป็นโปรแกรมที่แสดงตัวอย่างวิธีการที่ Machine learning สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำการตลาดเพื่อตอบสนองลูกค้าเมื่อความต้องการ และความสนใจเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
2. เลือกข้อความที่ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
ลูกค้าแต่ละคนตอบสนองกับข้อความที่แตกต่างกันในแต่ละช่องทาง ลูกค้าบางคนอาจจะชอบข้อความที่ดึงดูดอารมณ์ ชอบอารมณ์ขำขัน หรือโลจิคอื่นๆ AI Marketing สามารถติดตามได้ว่าข้อความแบบไหนที่ลูกค้าให้การตอบสนอง และสร้างเป็นโปรโฟล์ของลูกค้าที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จากจุดนี้จะทำให้ทีม Marketing สามารถที่จะปรับแต่งข้อความให้เหมาะกับโปรไฟล์แต่ละรายได้มากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น Netflix ใช้ Machine learning เพื่อทำความเข้าใจประเภทหนัง หรือซีรีส์ที่คนอื่นสนใจ หลังจากนั้นทำการปรับแต่งตัว Artwork เพื่อเหมาะกับความสนใจของผู้ใช้งานแต่ละราย
เมื่อนำ AI Marketing และ Machine learning มาใช้งาน ทำให้แพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่มีค่าซึ่งทำให้ทีมการตลาดนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการเพิ่ม Conversion rate และยกระดับประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้ โดยทีมการตลาดสามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้เพื่อสร้างเป็นมุมมองเกี่ยวกับลูกค้าที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น แม้จะพิจารณาปัจจัยเพิ่มเติม เช่น หากผู้ใช้งานจะดูชื่อเรื่องอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงรูปภาพ และลักษณะดังกล่าวส่งผลต่อการส่งข้อความในอนาคตหรือไม่
3. การทำ Personalization อย่างละเอียด
ระดับของการทำ Personalization หรือการตลาดแบบรายบุคคลนั้นเป็นสิ่งที่ลูกค้ายุคใหม่คาดหวังจากธุรกิจ ข้อความทางการตลาดควรถูกออกแบบให้เหมาะกับความสนใจของลูกค้า ประวัติการสั่งซื้อ สถานที่ ปฏิสัมพันธ์ที่ลูกค้ามีกับแบรนด์ในอดีต และจุดที่ทำให้เกิดข้อมูลอื่นๆ AI Marketing ช่วยทำให้ทีมการตลาดใช้ข้อมูลได้มากกว่าข้อมูลมาตรฐานทางภูมิศาสตร์เพื่อที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับความสนใจของลูกค้าอย่างละเอียดในระดับรายบุคคล ซึ่งช่วยให้แบรนด์สร้างประสบการณ์ลูกค้าได้ตามรสนิยมของลูกค้าแต่ละรายได้
ตัวอย่างเช่น Spotify ใช้เครื่องมือ AI Marketing ในการสร้างเพลย์ลิสต์สำหรับลูกค้าแต่ละรายโดยดูจากข้อมูลเพลงที่ลูกค้าเคยรับฟังในอดีต เพลงฮิตในแต่ละประเภท และเพลงที่กำลังเป็นที่พูดถึงอยู่ และนำชุดข้อมูลเหล่านี้มาสร้างเป็นเพลย์ลิสต์เฉพาะบุคคล และสร้างประเภทของเพลย์ลิสต์โดยดูจากชื่อศิลปินที่ปรากฏอยู่ในบทสนทนา หรือบทความเป็นต้น ด้วยข้อมูลเหล่านี้ทำให้ Spotify กลายเป็นบริการ Music streaming ชั้นนำของโลก และให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ลูกค้าผ่านการทำ Personalization
อีกเทรนด์หนึ่งที่น่าสนใจที่นำ AI มาใช้ในการทำ Personalization คือคอนเทนต์แบบเรียลไทม์ นั่นก็คือ AI เรียนรู้ถึงความชอบของลูกค้า และดึงชิ้นงานจากคลังข้อมูลที่มีอยู่เพื่อสร้างเป็นอีเมลเฉพาะบุคคล และนำเสนอลูกค้าด้วยรูปภาพ วิดีโอ หรือบทความที่เกี่ยวข้อง
4. แชทบอท และประสบการณ์การสนทนา
ด้วยการพัฒนาการประมวลผลภาษาผ่านทาง AI ทำให้แชทบอทถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มความสามารถของพนักงานให้บริการ ลูกค้าที่มีคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับสินค้า และบริการสามารถสอบถามกับแชทบอทได้ โดยที่แชทบอทสามารถให้คำตอบที่แม่นยำได้โดยทันที นอกจากนั้นแชทบอทยังสามารถใช้ประโยชน์จากคำถาม และข้อมูลที่ลูกค้าเคยสอบถามมาในอดีตเพื่อที่จะให้คำตอบเฉพาะบุคคลได้ และยังทำให้พนักงานให้บริการมีเวลามากขึ้นในการจัดการคำร้องขอของลูกค้าที่มีความซับซ้อน และจำเป็นต้องใช้คนในการแก้ไขปัญหา
5. Predictive Marketing Analytics
เมื่อมีข้อมูลไหลเข้ามาในองค์กรอยู่ในทุกวันทำให้ทีมการตลาดมีความยากลำบากในการที่จะดึง Insight ออกมาจากข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เครื่องมือ AI Marketing ทำให้ทีมการตลาดใช้ประโยชน์ได้จากข้อมูลได้อย่างเต็มที่ด้วยการใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ หรือ Predictive analytics ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากการรวมตัวกันของเทคโนโลยีทั้ง Machine learning อัลกอริทึม โมเดล และชุดข้อมูลในการคาดการณ์พฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้ทีมดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งเข้าใจว่าลูกค้ากำลังมองหาสินค้าประเภทไหน และต้องการใช้งานเมื่อไหร่ ทำให้ทีมการตลาดสามารถวางแผนแคมเปญได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น Amazons ใช้การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์เพื่อแนะนำสินค้าให้กับลูกค้าโดยดูจากประวัติ และพฤติกรรมการซื้อสินค้าในอดีต เพื่อเพิ่มยอดขาย และความพึงพอใจของลูกค้า นอกจากนั้น AI Marketing ยังช่วยให้ทีมการตลาดสามารถติดตามตัวเลขต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น ทำให้ทีมเห็นว่าแคมเปญไหนที่ทำให้เกิดยอดขายมากที่สุด
6. การดำเนินงานทางการตลาด
การนำ AI Marketing ไปใช้งานที่สำคัญอีกอย่างคือการเพิ่มประสิทธิภาพให้ขั้นตอนการทำงาน โดยที่ AI สามารถทำให้กระบวนการทำงานบางอย่างทำได้โดยอัตโนมัติ เช่น การจัดหมวดหมู่คำตอบลูกค้าจากแบบสอบถาม ตอบคำถามที่ลูกค้ามักสอบถามมาบ่อยๆ และดำเนินการอนุมัติความปลอดภัย เพื่อทำให้ทีมการตลาดมีเวลาโฟกัสกับงานที่เป็นเชิงกลยุทธ์ และการวิเคราะห์ได้มากยิ่งขึ้น
7. การตั้งราคาแบบยืดหยุ่น (Dynamic pricing)
AI Marketing สร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับแบรนด์ด้วยการใช้การตั้งราคาแบบยืดหยุ่น หรือ Dynamic pricing โดยที่แพลตฟอร์ม AI สามารถแนะนำราคาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละสินค้าได้แบบเรียลไทม์โดยประเมินจากข้อมูลในอดีตที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก กลยุทธ์นี้ใช้ได้ผลเป็นอย่างมากโดยเฉพาะกับธุรกิจค้าปลีก ทำให้แบรนด์สามารถปรับเปลี่ยนราคาที่สะท้อนถึงความต้องการของแต่ละสินค้าได้ เพื่อเพิ่มยอดขาย และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้
ประโยชน์ของ AI Marketing
มีตัวอย่างการใช้งานมากมายในการทำ AI Marketing ไปใช้กับแผนการตลาดดิจิทัล และการนำไปใช้งานในแต่ละอย่างทำให้ธุรกิจได้ประโยชน์ในมิติที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น สามารถใช้นำ AI Marketing ไปใช้ในได้หลากหลายมิติ เช่น ลดความเสี่ยง เพิ่มความเร็วในการทำงาน ยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า เพิ่มรายได้ และอื่นๆ โดยที่ประโยชน์ที่ธุรกิจได้รับนั้นมีทั้งที่สามารถวัดผลเป็นตัวเลขได้ เช่น ยอดขาย หรือที่ไม่สามารถวัดผลเป็นตัวเลขได้ เช่น ความพึงพอใจของลูกค้า และประโยชน์โดยภาพรวมที่ทีมการตลาดจะได้จากการนำ AI Marketing ไปปรับใช้กับธุรกิจ มีดังต่อไปนี้
1. เพิ่ม ROI ให้กับแคมเปญการตลาด
ถ้านำ AI Marketing มาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ทำให้นักการตลาดสามารถยกระดับกิจกรรมทางการตลาดโดยดึง Insight จากชุดข้อมูล และนำมากำหนดเป็นแผน หรือกิจกรรมต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์ โดยที่แพลตฟอร์ม AI สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วว่าจะจัดสรรงบประมาณในแต่ละช่องทางให้ดีที่สุดได้อย่างไร หรือวิเคราะห์ได้ว่า Ad placement ไหนที่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ได้ดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการทำแคมเปญนี้
2. ยกระดับความสัมพันธ์กับลูกค้า และ Real-Time Personalization
AI Marketing สามารถช่วยให้นักการตลาดส่งข้อความเฉพาะรายบุคคลให้กับลูกค้าในช่วงเวลาที่เหมาะสมใน Customer lifecycle และยังช่วยให้นักการตลาดระบุได้ว่าลูกค้าคนไหนที่มีความเสี่ยงว่าจะเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่น และทำการส่งข้อความไปหาลูกค้ารายนั้นเพื่อช่วยสร้างความสัมพันธ์ให้ลูกค้าหันกลับมาใช้สินค้า หรือบริการของแบรนด์อีกครั้ง
3. ยกระดับการวัดผลทางการตลาด
หลายธุรกิจเจอปัญหากับการติดตามข้อมูลจากการทำแคมเปญการตลาดในช่องทางออนไลน์ ทำให้วัดผลความสำเร็จของแต่ละแคมเปญได้ยาก การมีแดชบอร์ดเป็นการใช้ประโยชน์จาก AI Marketing ทำให้ทีมการตลาดช่วยให้มองเห็นสิ่งที่ทำแล้วได้ผลได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น เพื่อให้ทีมสามารถนำข้อมูลไปปรับใช้กับช่องทางอื่นๆ และในงบประมาณที่จัดสรรให้สอดคล้องกันได้
4. ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
AI Marketing ทำให้ทีมการตลาดสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็วมากกว่าที่ใช้คนทำ และใช้ Machine learning ในการสรุปข้อมูลได้อย่างรวดเร็วตามแคมเปญ และบริบทของลูกค้า ทำให้ทีมสามารถโฟกัสกับความคิดริเริ่มเชิงกลยุทธ์ที่สามารถใช้ AI ในการช่วยรันแคมเปญได้ ด้วยการใช้ AI Marketing ทำให้นักการตลาดดิจิทัลไม่จำเป็นต้องรอจนถึงจบแคมเปญถึงจะทำการตัดสินใจ แต่สามารถใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อตัดสินใจในการเลือกสื่อที่ให้ผลดีที่สุดได้
aiSurvey ตัวช่วยนักการตลาดในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แบบอัตโนมัติ
aiSurvey ผู้ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล และจัดหมวดหมู่คำตอบ Free-text ในแบบสอบถามได้แบบอัตโนมัติด้วย AI อัจฉริยะที่ทาง AI GEN ได้พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์นักการตลาดยุคใหม่ให้สามารถวิเคราะห์ และจัดหมวดหมู่คำตอบลูกค้าจากแบบสอบถามจากหลากหลายช่องทางได้อย่างรวดเร็ว และทำได้โดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลานั่งทำเอง เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดได้อย่างทันถ่วงที ด้วยการเปลี่ยนความคิดเห็นให้เป็นข้อมูล Insight ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และอัตโนมัติ ตอบโจทย์การทำการตลาดในยุค Data-driven ได้เป็นอย่างดี โดยมีฟีเจอร์เด่นที่ช่วยให้การทำงานของนักการตลาดง่ายมากยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้
- รองรับแบบสอบถามจากหลายช่องทาง
- วิเคราะห์ และจัดหมวดหมู่คำตอบ Free–text ได้แบบอัตโนมัติ
- เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามได้อัตโนมัติ
- สรุปข้อมูลได้แบบเรียลไทม์
- เทรนโมเดล AI ได้ด้วยตัวเอง
- รองรับ Sentiment analysis
นักการตลาดที่สนใจการนำ AI Marketing ไปใช้เพื่อยกระดับการประมวลผล และการจัดหมวดหมู่ข้อมูลจากการทำแบบสอบถามเพื่อนำมาสรุปเป็น Insight ที่สามารถนำไปใช้ในการกำหนดแผนงานทางการตลาดแบบเรียลไทม์ สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับ aiSurvey เพิ่มเติมได้ที่ Link
ต้องการนำ AI Marketing มาใช้กับธุรกิจของคุณ
AI Marketing ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับการทำการตลาดยุคใหม่ ทำให้นักการตลาดสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว และตัดสินใจด้วยข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำมากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งผู้ช่วยสำคัญของนักการตลาดยุคใหม่
หากธุรกิจของคุณกำลังมองหา AI Marketing เพื่อไปใช้งาน ผู้เชี่ยวชาญของ AI GEN ยินดีให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน และการออกแบบระบบ จนถึงการนำ AI Marketing ไปใช้งานให้ตอบโจทย์ธุรกิจ และประสบผลสำเร็จ ด้วยประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญการให้บริการโซลูชัน AI มากับหลากหลายธุรกิจ สามารถติดต่อเพื่อปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่
ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้าน AI อัจฉริยะ พร้อมช่วยขับเคลื่อนการทำงานของธุรกิจ มีประสบการณ์ให้บริการโซลูชัน AI เพื่อองค์กรระดับประเทศมากมาย