Digital lending กับเทคโนโลยี AI มิติใหม่ของการกู้ยืมเงินในยุคดิจิทัล
“ฟินเทค” หรือ เทคโนโลยีทางการเงินเป็นอีกหนึ่งคำที่ได้ยินกันบ่อยในไม่กี่ปีมานี้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้ให้คำนิยามของฟินเทคไว้ว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความสะดวก รวดเร็ว ความปลอดภัย ลดต้นทุนที่เกิดขึ้น และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการได้ดียิ่งขึ้น และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ธนาคาร และสถาบันการเงินต่างๆต่างนำฟินเทคเข้ามาใช้ในการสร้างสรรค์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินใหม่ๆที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล รวมถึงขั้นตอนการให้บริการที่สะดวก และรวดเร็ว ที่ตอบโจทย์ลูกค้าในยุคปัจจุบัน
Digital lending หรือสินเชื่อดิจิทัลเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางการเงินในการกู้ยืมเงินที่เกิดขึ้น เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีได้มีรายได้ประจำ กลุ่มที่ไม่สามารถพิสูจน์รายได้ และกลุ่มที่ไม่มีหลักประกัน โดยผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลจะพิจารณาในการอนุมัติสินเชื่อผ่านทางข้อมูลทางเลือก (Alternative data) ต่างๆตามที่แบงก์ชาติได้กำหนดไว้ เช่น ข้อมูลการชำระเงิน การซื้อขายสินค้าและบริการผ่าน e-commerce platform เป็นต้น รวมถึงใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการทำธุรกรรมเบิกจ่าย และชำระหนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ
โดยแนวโน้มในการปล่อยสินเชื่อดิจิทัลนั้นมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากทั้งธนาคารพาณิชย์เอง และผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) หันมาให้บริการปล่อยกู้ทางออนไลน์กันมากขึ้น โดยเป็นการนำข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก และเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการพิจารณาสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพ แม่นยำ และรวดเร็วได้มากยิ่งขึ้น ในบทความนี้ AIGEN จะพามาทำความรู้จักกับสินเชื่อดิจิทัลกันอย่างละเอียด พร้อมกับทำความรู้จักกับเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของ Digital lending ที่เป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญในการทำให้ธุรกิจนี้ประสบความสำเร็จ
Digital lending คืออะไร
โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายของ Digital lending หรือสินเชื่อดิจิทัลไว้ว่า หมายถึง กระบวนการให้กู้ยืมเงิน (รับสมัคร/ปล่อยสินเชื่อ) ที่มีการบริหารจัดการหรือดำเนินงานผ่านช่องทางดิจิทัล ในทางปฏิบัติผู้ให้กู้จะนำเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ มาปรับใช้ในกระบวนการให้บริการสินเชื่อ รวมถึงเมื่อปี 2564 แบงก์ชาติได้เปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับวงการสินเชื่อด้วยการต่อยอดไปถึงสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital personal loan) ซึ่งเป็นสินเชื่อยุคใหม่เพื่อคนตัวเล็กที่แตกต่างไปจากการให้สินเชื่อในรูปแบบเดิม และสร้างโอกาสให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงแหล่งทุนในระบบด้วยเทคโนโลยีและข้อมูลทางเลือก (alternative data) และแบงก์ชาติได้ให้ความหมายของสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลไว้ว่าเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลทางเลือก (alternative data) มาใช้ในการให้บริการสินเชื่อในขั้นตอนของการประเมินความสามารถหรือความเต็มใจในการชำระหนี้ การเบิกจ่ายและรับชำระคืนสินเชื่อ และการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ
อีกทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลเมื่อเดือนกันยายน 2563 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ใช้ข้อมูลทางเลือก (Alternative data) ในการพิจารณาสินเชื่อได้ : ข้อมูลการชำระเงิน การซื้อขายสินค้าและบริการผ่าน e-commerce platform ในการประเมินความสามารถหรือความเต็มใจในการชำระหนี้ของผู้บริโภคแทนการพิจารณาฐานะการเงินจากรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน หรือกระแสเงินสดหมุนเวียนในบัญชีเงินฝาก
- ส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีในขั้นตอนการสมัครใช้บริการสินเชื่อ (ช่องทางออนไลน์/mobile application) และกระบวนการตรวจสอบตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC)
- นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการเบิกจ่าย และรับชำระหนี้คืน : เช่น เบิกจ่ายและรับชำระคืนผ่านการโอนเงิน รวมถึงชำระหนี้ผ่านการตัดบัญชีโดยใช้บัญชีสถาบันการเงิน หรือเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-money)
- เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ เช่น อัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียม และการแสดงภาระหนี้ เพื่อสร้างความโปร่งใสและให้ผู้กู้มีข้อมูลที่ชัดเจนในการตัดสินใจ
นอกจากนี้ยังมีกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการให้บริการสินเชื่อบุคคลดิจิทัลไว้ดังต่อไปนี้
- ผู้ประกอบธุรกิจสามารถให้สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลแก่ผู้บริโภคแต่ละรายรวมไม่เกิน 20,000 บาท
- มีกำหนดระยะเวลาการชำระคืนสินเชื่อแต่ละสัญญาไม่เกิน 6 เดือน
- ไม่จำกัดวัตถุประสงค์ในการกู้ยืม
- กำหนดอัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ รวมกันไม่เกินร้อยละ 25 ต่อปี
สินเชื่อส่วนบุคคลแบบดิจิทัลมีการนำเทคโนโลยี และข้อมูลทางเลือกที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก (Alternative data) มาใช้ในการให้บริการ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถประเมินความสามารถหรือความเต็มใจในการชำระหนี้ของผู้กู้ได้ดีขึ้น อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้คนเข้าถึงสินเชื่อได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ได้มีรายได้ประจำ และกลุ่มที่ไม่มีหลักประกัน ลดปัญหาที่คนต้องไปกู้ยืมเงินนอกระบบ รวมทั้งยังเป็นการสร้าง digital footprint ในระบบให้กับผู้ที่มาใช้บริการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการใช้บริการทางการเงินอื่นๆในอนาคตได้
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลทั้งที่เป็นสถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินทั้งหมด 9 รายได้แก่
- บริษัท ซีมันนี่ (แคปปิตอล) จำกัด
- บริษัท แอสเซนด์ นาโน จำกัด
- บริษัท จีฟิน เซอร์วิสเซส (ที) จำกัด (ยังไม่ได้เริ่มให้บริการ)
- บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ยังไม่ได้เริ่มให้บริการ)
- บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด (ยังไม่ได้เริ่มให้บริการ)
- บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด
- ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
Digital lending มาพร้อมกับ Alternative data
ถือเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจกับการอนุญาตให้ใช้ข้อมูลทางเลือก หรือ Alternative data ในการพิจารณาการประเมินความสามารถในการชำระหนี้ได้ ซึ่งแต่เดิมนั้นข้อมูลที่ใช้ในการประเมินความสามารถในการชำระหนี้มักเป็นข้อมูลในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับฐานะทางการเงิน ข้อมูลที่บ่งชี้ด้านรายได้ หรือข้อมูลที่แสดงถึงความสามารถในการบริหารจัดการสินเชื่อของผู้รับบริการ เช่น รายการเดินบัญชี สถานะทางบัญชี สลิปเงินเดือน ยอดขาย หรือคำสั่งซื้อ ประวัติการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านบัตรเครดิต ซึ่งข้อจำกัดของการเก็บข้อมูลเครดิตที่จำกัด คือ ผู้ให้สินเชื่อจะพิจารณาให้สินเชื่อเพียงเพราะทราบข้อมูลในด้านรายได้และประวัติการชำระหนี้เพียงด้านเดียว โดยไม่ทราบถึงข้อมูลในเชิงพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การวิเคราะห์และเชื่อมโยงไปถึง “ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้” ได้
โดย Alternative data จะมาเป็นเครื่องมือในการช่วยตัดสินใจให้กับผู้ให้สินเชื่อ ลบข้อจำกัดของการพิจารณาสินเชื่อแบบเดิมที่ต้องใช้ข้อมูลในการบ่งชี้รายได้ และฐานะทางการเงินเท่านั้น มาเป็นการใช้ข้อมูลทางเลือกอื่นๆที่หลากหลายมากขึ้นในการวิเคราะห์สินเชื่อ เช่น ข้อมูลที่เก็บจากกิจกรรมออนไลน์ เก็บจากการใช้ Social media และ เก็บจากแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการชำระค่าสาธารณูปโภค ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าภาษีอากร และค่าบริการต่างๆ ว่าถูกต้องตรงตามกำหนดเวลาหรือไม่ ทำให้ผู้ให้สินเชื่อสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ขอสินเชื่อเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมในแต่ละบุคคลได้ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้บุคคล หรือกลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้มีรายได้ประจำ หรือไม่ได้มีหลักประกันต่างๆมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบได้ง่ายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
นอกจากนั้นเพื่อให้ผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลนำ Alternative data ไปใช้งานได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว การนำ AI-Powered OCR เข้ามาช่วยในการดึงข้อมูลจากเอกสารประเภทต่างๆได้แบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นใบเสร็จค่าสาธารณูปโภค ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าภาษีอากร และค่าบริการต่างๆ ทำให้ประหยัดเวลา และจำนวนพนักงานที่ต้องใช้ในการกรอกข้อมูลแบบแมนนวล อีกทั้งยังทำให้ผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลสามารถอนุมัติสินเชื่อได้อย่างรวดเร็ว สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการอีกด้วย
>> เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ aiScript ระบบประมวลผลเอกสารแบบอัจฉริยะ ตัวช่วยสำคัญของธุรกิจสินเชื่อในยุคดิจิทัล
ยกระดับการปล่อยสินเชื่อดิจิทัล หรือ Digital lending ด้วย AI
Digital lending เป็นการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เพื่อทำให้คนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบได้ง่ายมากขึ้น โดยกระบวนการกู้ยืมเงินทั้งตั้งแต่การสมัคร และปล่อยสินเชื่อจะต้องผ่านช่องทางดิจิทัลทั้งหมด ดังนั้นเทคโนโลยีจึงมีบทบาทสำคัญในการทำให้กระบวนการของสินเชื่อดิจิทัลประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะเทคโนโลยี AI ที่จะเข้ามาสร้างความแตกต่างให้กับผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลในแต่ละรายได้ เนื่องจาก AI สามารถค้นพบ และเรียนรู้รูปแบบพฤติกรรมของลูกค้าที่ช่วยทำให้ผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปสร้างเป็นจุดขายที่มีความแตกต่าง และโดดเด่นจากคู่แข่งรายอื่นๆในที่มีอยู่ในตลาดได้ โดย AI ได้สร้าง Impact ที่สำคัญให้กับผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลได้ในด้านต่างๆดังต่อไปนี้
1. การหาลูกค้าใหม่ หรือ Customer acquisition
Customer buying journey หรือการเดินทางของลูกค้าสำหรับการขอสินเชื่อนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ และลูกค้าในปัจจุบันอยู่ในโลกออนไลน์แทบจะตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ทำให้ลูกค้าได้ทิ้งร่องรอยของพฤติกรรมบนโลกออนไลน์เอาไว้ในแพลตฟอร์ม เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆของผู้ให้บริการสินเชื่อ รวมถึงการคาดการณ์ว่าลูกค้ามีความสนใจ หรือความตั้งใจที่จะสมัครใช้บริการสินเชื่อมากน้อยเพียงใด
สิ่งที่ AI ทำในขั้นตอนนี้คือสร้างโมเดล หรือต้นแบบของความตั้งใจในการซื้อของลูกค้าโดยใช้ข้อมูลที่ได้จากบนเว็บไซต์ของผู้ให้บริการสินเชื่อเอง ข้อมูลการค้นหา และข้อมูลอื่นๆ ต่อมาระบบจะทำการแบ่งกลุ่มลูกค้าโดยใช้ผลข้อมูลที่ได้จากการทำโมเดล AI นั่นเอง ซึ่งกลุ่มลูกค้าอาจจะแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ “กลุ่มที่ต้องเข้าให้ถึง” “กลุ่มที่ต้องใช้ความพยายามในการเข้าถึงมากกว่านี้” และ “กลุ่มที่ไม่สนใจซื้อ” โดยสามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าให้ละเอียดกว่านี้ได้ขึ้นอยู่กับโจทย์ และวัตถุประสงค์ของธุรกิจ และเมื่อนำข้อมูลกลุ่มลูกค้าเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์จะทำให้ผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลสามารถเข้าถึง และนำเสนอในสิ่งที่กลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่มต้องการได้ และสามารถเข้าถึงได้ตั้งแต่ในช่วงที่ลูกค้าเริ่มมีปฎิสัมพันธ์กับธุรกิจ
นอกจากนั้น AI ยังสามารถช่วยในเรื่องของการนำเสนอ ‘Next Best Offer’ หรือ ‘Next Best Action’ เหมือนกับการตลาดแบบเจาะจง หรือ Precision marketing โดยที่ผู้ให้บริการสินเชื่อสามารถเข้าถึงลูกค้าได้แบบรายบุคคลผ่านการนำเสนอสินค้าแบบ Personalization เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าทำการเปิดใช้บริการสินเชื่อให้สำเร็จ
2. Credit scoring หรือคะแนนเครดิต
NCB หรือ National Credit Bureau ได้ให้ความหมายของ Credit scoring ไว้ว่าคือตัวชี้วัดความน่าจะเป็นในการชำระคืนหนี้ โดยใช้วิธีการทางสถิติในการประมวลผลข้อมูลโดยบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ซึ่งในขั้นตอนการประเมิน Credit scoring ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายที่สำคัญ รวมถึงเป็นจุดที่สำคัญในการใช้สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจสำหรับผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัล นอกจากนี้ในปัจจุบันกระบวนการนี้ยังใช้เป็นรูปแบบแมนนวล หรือแบบใช้กฎเกณฑ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ให้กู้ มากกว่าไปนั้นขั้นตอนของ Credit scoring ยังถูกขับเคลื่อนโดยสาขาของธนาคารโดยผู้จัดการที่ดูแลในเรื่องของคะแนนเครดิตจะเป็นรับผิดชอบในเรื่องการพิจารณาการให้เครดิต โดยสรุปแล้ว Credit scoring เป็นทั้งเรื่องของกระบวนการจัดการ และตัวขับเคลื่อนสำคัญของผู้ให้บริการสินเชื่อ เทคโนโลยี AI สามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนการตรงนี้ให้รวดเร็ว และแม่นยำขึ้นได้ และช่วยทำให้ผู้บริการสินเชื่อดิจิทัลสามารถเพิ่มฐานลูกค้าในพอร์ทให้มากขึ้นได้ แล้ว AI จะเข้ามาช่วยได้อย่างไร? AI ทำให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า Alternate Credit Mechanism หรือกลไกทางเลือกในการพิจารณาเครดิต ซึ่งจะมาเปลี่ยนกระบวนการนี้ให้ดำเนินการแบบอัตโนมัติหรือ Automation ด้วยเทคโนโลยี AI
โดย AI จะใช้ข้อมูลที่ธุรกิจมีอยู่ที่เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของลูกค้า ประวัติทางการเงิน ประวัติการเสียภาษีเงินได้ และอื่นๆ แล้วนำมาคำนวณเพื่อออกมาเป็นผลคะแนน Credit risk ของลูกค้าแต่ละคนได้ ผู้ให้บริการสินเชื่อจะใช้ข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลอื่นๆเพื่อใช้ในการพิจารณาคะแนนเครดิต แต่การนำ AI เข้ามาใช้จะทำให้ผู้ให้บริการสินเชื่อสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลอื่นๆเพื่อนำมาพิจารณาการให้คะแนนเครดิตได้มากยิ่งขึ้น ถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจอีกด้วย
แล้วข้อมูลอื่นๆที่นำมาใช้ในการพิจารณาคะแนนเครดิตคืออะไร? ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ว่าในการพิจารณาสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลนั้นอนุญาตให้ผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลสามารถนำข้อมูลทางเลือก หรือ Alternative data มาใช้ในการพิจารณาการประเมินความสามารถในการชำระหนี้ได้ เช่น ข้อมูลที่เก็บจากกิจกรรมออนไลน์ เก็บจากการใช้ Social media และ เก็บจากแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับการชำระค่าสาธารณูปโภค ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต ค่าภาษีอากร และค่าบริการต่างๆ ว่าได้มีการชำระถูกต้องตรงตามกำหนดเวลาหรือไม่
ซึ่งโมเดล AI สามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ทั้งข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของ Structured และ Unstructured และโมเดลข้อมูลเหล่านี้ขึ้นมาโดยให้ออกมาเป็นผลลัพธ์ที่อยู่ในรูปแบบของ Credit score ได้ โดย Credit score เหล่านี้สามารถคาดการณ์ได้ทั้งแบบเรียลไทม์ หรือแบบออฟไลน์ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลว่าจะเลือกใช้เป็นในรูปแบบไหน
ด้วยการนำ AI มาใช้ในการพิจารณา Credit score นั้นทำให้ผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลสามารถประเมินเครดิตของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ทำได้โดยอัตโนัมติ และให้บริการกับคนจำนวนมากในเวลาเดียวกันได้ อีกทั้งสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเดิมเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติแล้วล่วงหน้า หรือสามารถเข้าถึงผู้ที่มีแนวโน้มที่จะมาเป็นลูกค้าใหม่ได้เช่นกัน ด้วยเทคโนโลยี AI ทำให้ผู้ให้บริการสินเชื่อสามารถส่งข้อความแบบรายบุคคลเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า และในขณะเดียวกันทำให้พอร์ตของสินเชื่อของธุรกิจเติบโตขึ้นได้อีกด้วย อีกทั้งกลไกทางเลือกในการพิจารณาเครดิตที่มี AI เป็นผู้อยู่เบื้องหลังนั้นทำให้ลดความเสี่ยงในการปล่อยกู้ และสร้างมาตรฐานในการพิจารณาการอนุมัติเงินกู้ให้กับธนาคาร และสถาบันการเงินต่างๆได้
3. ยกระดับกระบวนการการปล่อยสินเชื่อด้วยการทำงานแบบอัตโนมัติ
นอกจากจะใช้ AI มาช่วยให้การพิจารณา Credit scoring สามารถทำได้แบบอัตโนมัติแล้วนั้น AI สามารถทำให้กระบวนการการขอกู้ยืมเงินผ่านช่องทางออนไลน์นั้นทำได้โดยอัตโนมัติในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครเพื่อขอใช้บริการ จนถึงขั้นตอนการเบิกจ่าย และชำระเงินคืนที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ว่าผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลจะต้องนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในขั้นตอนการเบิกจ่ายและชำระเงินคืนด้วยเช่นกัน
เริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครเพื่อใช้บริการสินเชื่อดิจิทัล ลูกค้าสามารถกรอกใบสมัครผ่านทางเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชั่นของผู้ให้บริการสินเชื่อต่างๆ หลังจากนั้นระบบจะให้ทำการอัพโหลดหลักฐานเพื่อทำการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-KYC พร้อมทั้งถ่ายรูปใบหน้าเพื่อทำการเปรียบเทียบกับในบัตรประชาชนว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยมี AI เป็นผู้อยู่เบื้องหลังไม่ว่าจะเป็นการใช้ AI-Powered OCR ในการดึงข้อมูลจากบัตรประชาชนแบบอัตโนมัติ และ AI-Powered e-KYC ในการส่งข้อมูลบัตรประชาชนไปตรวจสอบกับกรมการปกครอง และสแกนใบหน้าเพื่อตรวจสอบกับรูปในบัตรประชาชนว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน จนถึงขั้นตอนของการอนุมัติเงินกู้โดยใช้ AI ในการพิจารณา Credit score เพื่อพิจารณาว่าจะอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้าคนนี้หรือไม่อย่างไร โดยการนำ AI มาใช้ในทุกขั้นตอนของการทำ Digital lending ทำให้ผู้ให้บริการสินเชื่อดิจิทัลสามารถพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบโจทย์ และอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่ในปัจจุบันใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนโลกออนไลน์ รวมถึงเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจในพอร์ตสินเชื่อส่วนบุคคลได้อย่างรวดเร็วจากการนำเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยให้ขั้นตอนการทำงานในการอนุมัติสินเชื่อสามารถทำได้โดยอัตโนมัตินั่นเอง
รู้จักกับโซลูชัน AI สำหรับธุรกิจ Digital lending
AIGEN ได้พัฒนา aiLending โซลูชัน AI-Powered digital lending platform บริการโซลูชัน AI ที่จะทำให้ขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อของธนาคาร และ Non bank ทำได้แบบอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น ถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะลดภาระงานแมนนวลของพนักงาน และทำให้ขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อทำได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการของสถาบันการเงินที่ต้องการให้ลูกค้าได้รับเงินสินเชื่อได้แบบรวดเร็ว ทันใจ เพื่อสร้างความแตกต่าง และเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจ
โดยบริการ aiLending นั้นครอบคลุมถึงขั้นตอนการขออนุมัติสินเชื่อออนไลน์ได้แบบครบวงจร ทำให้ลูกค้าผู้ที่สนใจจะใช้บริการสินเชื่อออนไลน์นั้นสามารถสมัครใช้บริการ ยื่นเอกสาร และติดตามผลการอนุมัติสินเชื่อได้เองผ่านทางเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของธุรกิจ ลูกค้าไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่สาขาเพื่อสมัครยื่นขออนุมัติ ตั้งแต่ขั้นตอนการยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้บริการขอสินเชื่อ การยื่น และตรวจสอบข้อมูลในเอกสาร การวิเคราะห์ และประเมินเครดิตของลูกค้า (Credit scoring) การตรวจสอบการทุจริต จนถึงขั้นตอนการอนุมัติสินเชื่อจะสามารถทำได้แบบอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น โดยพนักงานมีหน้าที่ในการตรวจสอบขั้นตอนสุดท้ายเพียงเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนในการอนุมัติสินเชื่อออนไลน์ของสถาบันการเงินทำได้อย่างรวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ายุคใหม่ด้วยบริการที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองผ่านทางสมาร์ตโฟนเพียงเครื่องเดียว
📍อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการ aiLending โซลูชัน AI สำหรับธุรกิจ Digital lending
ต้องการนำ AI ไปใช้งานกับธุรกิจ Digital lending
Digital lending หรือสินเชื่อดิจิทัลเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นเพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ถือเป็นหนึ่งเทคโนโลยีที่สำคัญที่อยู่เบื้องหลังที่ทำให้การปล่อยสินเชื่อทำได้โดยอัตโนมัติ โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการรับสมัคร การยืนยันตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์ จนถึงขั้นตอนการเบิกจ่าย และรับชำระหนี้คืน ตอบโจทย์ลูกค้าในยุคปัจจุบันที่ใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์ และทำให้สถาบันการเงินเองสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ในต้นทุนที่ต่ำลงจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้กระบวนการปล่อยสินเชื่อทำได้โดยอัตโนมัติ อนุมัติสินเชื่อได้อย่างรวดเร็ว และเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ
หากธุรกิจของคุณกำลังมองหาโซลูชัน AI มาใช้งานเพื่อยกระดับให้ขั้นตอนการปล่อยสินเชื่อดิจิทัลให้สามารถทำได้โดยอัตโนมัติ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานภายในองค์กร รวมถึงต้องการที่ปรึกษา และพาร์ทเนอร์คู่คิดให้กับธุรกิจของคุณ ปรึกษาพวกเรา AIGEN (ไอเจ็น) ได้ที่นี่
ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้าน AI อัจฉริยะ พร้อมช่วยขับเคลื่อนการทำงานของธุรกิจ มีประสบการณ์ให้บริการโซลูชัน AI เพื่อองค์กรระดับประเทศมากมาย