Large Language Model (LLM) คืออะไร ? สำคัญกับธุรกิจอย่างไร
เมื่อไม่นานมานี้ Topic สุดฮอตอย่าง ChatGPT หรือ แชตบอทอัจฉริยะจาก OpenAI ที่ฉลาดล้ำจนดังเป็นพลุระเบิดสำหรับชาว IT รวมถึงผู้คนมากมายมายที่ไม่พูดถึงไม่ได้ เนื่องจาก ChatGPT ได้กลายมาเป็นผู้ช่วยอัจฉริยะของใครหลาย ๆ คนในการช่วยเหลือ แนะนำ และตอบคำถามต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคำถามทั่วไป หรือคำถามเฉพาะ อย่างเช่นการเขียนโค้ด หรือการเขียนบทความ เป็นต้น
และเชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะเคยได้ยินคำว่า “LLM” หรือ “โมเดลภาษาขนาดใหญ่” กันมาบ้างพอสมควร เนื่องจาก Large Language Model หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า LLM ได้กลายมาเป็นนวัตกรรมสำคัญสำหรับการพัฒนาระบบ AI โดยใช้ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของข้อความจำนวนมหาศาลในการเทรนระบบให้เรียนรู้ วิเคราะห์ข้อความ หรือถอดรหัสข้อความได้ และแม้ว่าข้อความอาจจะไม่สมบูรณ์ LLM ก็สามารถตีความ คาดการณ์ และโต้ตอบกลับมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ ราวกับพูดคุยกับมนุษย์
ยกตัวอย่างการทำงานของ LLM ที่โด่งดังที่ผ่านมา คือ โมเดล GPT-3 และ GPT-4 จาก OpenAI ที่ถูกเทรนด้วยข้อมูลขนาดใหญ่บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งโมเดลเหล่านี้สามารถตอบคำถาม เขียนบทความ แปลภาษา สร้างคอนเทนต์ต่าง ๆ รวมถึงทำงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยในบทความนี้ AIGEN (ไอเจ็น) จะพาทุกท่านไปรู้จักกับ Large Language Model หรือ LLM ให้มากขึ้น ว่าเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกการทำงานขององค์กรต่าง ๆ ได้อย่างไรกันบ้าง
Large Language Model (LLM) คืออะไร ?
Large Language Model หรือ โมเดลภาษาขนาดใหญ่ เป็นรูปแบบหนึ่งของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI โดย LLM จะถูกเทรนด้วยข้อมูลจำนวนมากเพื่อให้โมเดลการเรียนรู้เชิงลึกขนาดใหญ่ (Deep Learning) สามารถเข้าใจ และสร้างการโต้ตอบด้วยภาษาธรรมชาติ รวมถึงสร้างเนื้อหาประเภทอื่น ๆ เพื่อการทำงานที่หลากหลาย เช่น การสร้างข้อความทางการตลาด การเขียนบทความ การให้การช่วยเหลือในการเขียนโค้ด เป็นต้น
Large Language Model (LLM) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจได้อย่างไร ?
ธุรกิจต่าง ๆ สามารถนำ LLM มาพัฒนาต่อยอดเป็นโซลูชัน หรือพัฒนาแอปพลิเคชันต่าง ๆ สำหรับองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างจุดแข็ง หรือข้อได้เปรียบให้กับธุรกิจ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานในยุคดิจิทัลที่ขับเคลื่อนไปด้วยข้อมูล
ตัวอย่างการใช้งาน LLM ในธุรกิจ
1. Sentiment Analysis
Sentiment Analysis หรือการวิเคราะห์ความรู้สึกของลูกค้าสามารถนำ LLM มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลข้อความต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อความในโพสต์บนโซเชียลมีเดีย บทวิจารณ์ หรือคำติชมจากแบบสอบถามหลังจากใช้บริการ ฯลฯ ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยให้ธุรกิจได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความคิดเห็น และระดับความพึงพอใจของลูกค้า ที่จะทำให้ธุรกิจนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้ไปพัฒนา และปรับปรุงการให้บริการลูกค้าได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น
ด้วยความสามารถของ Natural Laguage Processing (NLP) และ LLM ทำให้ระบบสามารถแบ่งประเภทความรู้สึกออกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ เชิงบวก เชิงลบ หรือเป็นกลาง นอกจากนี้ ระบบยังสามารถวิเคราะห์ความรู้สึกแบบละเอียดถี่ถ้วนได้ เช่น การระบุเปอร์เซ็นต์ของความรู้สึกในเชิงบวก หรือเชิงลบ หรือการวิเคราะห์ และจัดหมวดหมู่คำตอบ Free–text ได้แบบอัตโนมัติ เป็นต้น
อ่านบทความ รู้จักกับ Sentiment analysis ตัวช่วยธุรกิจในการวิเคราะห์ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
2. Knowledge Management System
Knowledge Management System หรือระบบจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กร เป็นอีกหนึ่งโซลูชันสำหรับที่องค์กรสามารถนำ LLM มาใช้ตอบคำถามเฉพาะหรือให้ความช่วยเหลือผู้ใช้งาน เช่น พนักงานภายในองค์กร โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกอัปโหลดลงในระบบส่วนกลาง เช่น เอกสารนโยบายบริษัท ข้อมูลพนักงาน ปฏิทินวันหยุดประจำปี ฯลฯ เพื่อให้พนักงานค้นหาคำตอบผ่านระบบได้เลยโดยไม่ต้องเสียเวลามาถามเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล
นอกจากนี้ LLM ยังสามารถพัฒนาเป็นระบบตอบกลับอัตโนมัติ เพื่อให้ลูกค้าสามารถค้นหาข้อมูลสินค้า และบริการได้บนเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของธุรกิจ ที่สามารถให้บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง
รู้จักกับ aiKMS หรือ AI-Powered Knowledge Managementระบบจัดการ และค้นหาข้อมูลภายในองค์กร ตัวช่วยในการค้นหาข้อมูล และคำตอบภายในองค์กรได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และแม่นยำ
3. Customer Service
ธุรกิจสามารถนำ LLM มาใช้งานเพื่อสร้างระบบการให้บริการลูกค้าแบบอัตโนมัติ ที่สามารถโต้ตอบ และให้ความช่วยเหลือลูกค้าในเบื้องต้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อกับพนักงาน ทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่รวดเร็วทันใจ
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจสามารถนำ LLM มาใช้งาน และพัฒนา AI-Chatbot ที่สามารถตอบคำถาม ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหา รวมถึงให้บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงในทุกที่ ทุกเวลา หรือพัฒนาเป็น Virtual sales assistants หรือเซลส์ AI ที่สามารถแนะนำสินค้า และบริการให้กับลูกค้า ไปตลอดการปิดการขายได้ เป็นต้น
สร้าง AI Chatbot ให้กับองค์กรด้วยโซลูชัน AI-Powered Chatbot Solution ตอบคำถามลูกค้า หรือพนักงานภายในองค์กรได้เหมือนกับการสนทนากับมนุษย์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
เรียกได้ว่า Large Language Model หรือ LLM ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของธุรกิจยุคใหม่ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ช่วยเสมือนในการตอบคำถามต่าง ๆ โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานในด้านต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม
อย่างไรก็ตาม การทำงานของ LLM นั้นจะมีประสิทธิภาพ และให้คำตอบได้อย่างแม่นยำได้ ก็ต่อเมื่อมีข้อมูลที่มากเพียงพอที่จะคลอบคลุมคำถามทั้งหมด และอาจจะไม่ได้ให้คำตอบที่ถูกต้องเสมอไป 100 % เนื่องจากโมเดล AI นั้นต้องการได้รับการเทรนข้อมูลอยู่ตลอดเวลา รวมถึงควรจะมีขั้นตอน Human-loop เพื่อตรวจสอบข้อมูลการตอบคำถามของ LLM ก่อนจะนำข้อมูลไปใช้งานอยู่เสมอ
ต้องการนำ Large Language Model (LLM) ไปใช้งานในธุรกิจ
หากธุรกิจของคุณกำลังมามองหาวิธีการนำ LLM ไปใช้งานเพื่อยกระดับขั้นตอนการทำงานภายในธุรกิจ ทาง AIGEN (ไอเจ็น) มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI & Machine Learning ที่พร้อมให้คำปรึกษา และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการนำ LLM ไปประยุกต์ใช้งานภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์การทำงานขั้นสุด ติดต่อเราได้ที่นี่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
neurosys , aws.amazon , stepstraining