Share

6 รูปแบบที่ธุรกิจสามารถใช้ในการยืนยันตัวตนลูกค้า

ในปัจจุบันความต้องการใช้งานเทคโนโลยีที่ใช้ในการยืนยันตัวตนรูปแบบต่างๆเติบโตขึ้นมากในปัจจุบันทั้งใช้ผ่านช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์ โดยแรงจูงใจในการนำการยืนยันตัวตนมาใช้งานในธุรกิจนั้นแตกต่างกันออกไปตั้งแต่เหตุผลของการควบคุมการเข้าถึงระบบจนถึงการพัฒนาและต่อยอดทางธุรกิจ เช่น มีการเพิ่มฟีเจอร์ E-commerce รวมถึงยกระดับความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน

โดยการยืนยันตัวแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นอีกหนึ่งวิธีการในการยืนยันตัวตนที่ธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐต่างนำมาใช้งานเพื่อให้เป็นไปตามกฎ และข้อบังคับในการทำธุรกิจประเภทนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายป้องกันการฟอกเงิน การป้องกันการสนับสนุนการก่อการร้าย หรือเป็นกฎที่ไว้คุ้มครองผู้บริโภคจากการทุจริต ที่บังคับให้ธุรกิจต้องมีการทำ KYC อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการที่สามารถดำเนินการยืนยันตัวตนได้ด้วยตัวเองตามขั้นตอนที่แต่ละธุรกิจได้กำหนดไว้ และยกระดับความปลอดภัยให้กับการทำธุรกรรมต่างๆ 

การยืนยันตัวตนลูกค้าสามารถทำได้ในหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับเป้าหมาย และโจทย์ทางธุรกิจ รวมถึงกฎหมาย และข้อบังคับต่างๆ ในบทความนี้ AI GEN จะพามารู้จักกับ 6 รูปแบบที่ธุรกิจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการยืนยันตัวตนลูกค้าได้ 

รูปแบบการยืนยันตัวตน

รู้จักกับ 6 รูปแบบที่ธุรกิจสามารถใช้ในการยืนยันตัวตนลูกค้า

การยืนยันตัวตนลูกค้าสามารถทำได้ในหลากหลายรูปแบบ กระบวนการเหล่านี้จะมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป ข้อบังคับของการการทำความรู้จักลูกค้า หรือ KYC และการป้องกันการฟอกเงินเป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีที่ใช้ในการยืนยันตัวตนต่างๆทั่วโลก โดยแต่ละประเทศเองจะมีข้อกำหนด และองค์กรที่เป็นคนดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งในประเทศไทยเองนั้นจะมีธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงาน

พัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในการกำหนดหลักเกณฑ์ และขั้นตอนในการยืนยันตัวตนให้กับแต่ละประเภทธุรกิจ โดยทั่วไปสามารถรูปแบบในการยืนยันตัวตนสามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภทดังต่อไปนี้

  1. การยืนยันตัวตนด้วย Knowledge-Based

การยืนยันตัวตนด้วย Knowledge-Based นั้นเป็นการยืนยันตัวตนของบุคคลโดยกำหนดให้ต้องมีการตอบคำถามเพื่อความปลอดภัย โดยคำถามเหล่านั้นจะถูกออกแบบมาให้ง่ายสำหรับการตอบของบุคคลคนนั้น แต่ยากที่ทุกคนจะตอบคำถามเหล่านี้ได้ ตัวอย่างเช่น คุณมีสัตว์เลี้ยงทั้งหมดกี่ตัว? หรือ อาจารย์คนโปรดของคุณคือใคร? และสิ่งที่เพิ่มเติมสำหรับการยืนยันตัวตนด้วย Knowledge-Based นั้นมักจะกำหนดให้ตอบคำถามภายในเวลาที่จำกัด ประโยชน์ของการใช้การยืนยันตัวตนด้วย Knowledge-Based ที่เห็นได้ชัดที่สุด คือเป็นวิธีการยืนยันตัวตนที่ง่ายที่สุดที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ ส่วนข้อเสียที่เห็นได้ชัดคือสามารถหาข้อมูลคำตอบได้ง่ายผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ และช่องทางการสื่อสารในรูปแบบอื่นๆ

  1. การยืนยันตนเอง 2 ขั้นตอน หรือ Two-Factor Authentication

การยืนยันตนเอง 2 ขั้นตอน หรือการรับรองความถูกต้องโดยใช้หลายปัจจัย (Multi-Factor Authentication)กำหนดให้ผู้ใช้งาน หรือลูกค้าต้องใส่โค้ดที่ผู้ให้บริการส่งไปให้ทางอีเมล์ หรือโทรศัพท์มือถือ วิธีการยืนยันตัวตนในรูปแบบนี้เป็นวิธีปกติที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และเป็นวิธีที่ง่ายสำหรับลูกค้าที่จะใช้งาน การนำ 2FA หรือ MFA มาใช้งานนั้นทำให้ธุรกิจสามารถยืนยันตัวตนลูกค้าได้โดยใช้อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ โดยเป็นเรื่องสำคัญที่ธุรกิจจะต้องแน่ใจว่าลูกค้ากรอกข้อมูลมาให้อย่างถูกต้อง

Two-factor หรือ Muti-factor นั้นกำหนดให้ผู้ใช้ต้องระบุรูปแบบการระบุ หรือยืนยันตัวตน หรือที่เรียกว่า Token นอกเหนือจากการใช้ชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่านปกติก่อนจึงจะสามารถเข้าถึงบัญชีได้ โดย Token จะต้องเป็นข้อมูลบางอย่างที่ผู้ใช้งานสามารถจดจำได้ หรือมีอยู่ในครอบครอง เช่น โค้ดที่ได้รับจาก authentication agency การนำ Token มาใช้งานจะสร้างเครื่องมือป้องกันอันทรงพลังเพื่อป้องกันธุรกรรมการฉ้อโกงได้ การยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอนมักจะเป็นประโยชน์ในการใช้สร้างบัญชีผู้ใช้งาน และตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ อย่างไรก็ตามวิธีนี้กำหนดให้ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีโทรศัพท์มือถือไว้อยู่กับตัวในช่วงขั้นตอนการยืนยันตัวตน

  1. การยืนยันตัวตนโดยใช้ Credit bureau (Credit Bureau-Based Authentication)

การใช้ข้อมูล Credit bureau ในการยืนยันตัวตนจะใช้ข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่านั้นจาก Credit bureau โดย Credit bereau จะเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเครดิตทางการเงินของลูกค้าไว้เป็นจำนวนมาก รวมถึงที่อยู่ และหมายเลขประกันสังคม โดย Credit bereau ในการยืนยันตัวตนจะใช้คะแนนเพื่อสร้างการจับคู่ที่ชัดเจนโดยไม่กระทบต่อประสบการณ์ของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ตามวิธีการนี้อาจจะไม่เหมาะกับคนที่ยังไม่ค่อยมีหลักฐานเครดิตทางการเงิน เช่น คนที่มีอายุน้อย หรือผู้ที่เพิ่งอพยพมาอยู่ที่ประเทศนั้น

  1. การใช้ฐานข้อมูลในการยืนยันตัวตน

วิธีการใช้ฐานข้อมูลในการยืนยันตัวตนนั้นจะใช้ข้อมูลจากหลากหลายแหล่งข้อมูลเพื่อยืนยันบัตรประชาชนของแต่ละบุคคลได้ วิธีการนี้มักจะใช้เพื่อประเมินระดับความเสี่ยงที่ผู้ใช้มี เนื่องจากช่วยลดความจำเป็นที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบได้อย่างมาก ข้อเสียที่เห็นได้ชัดของวิธีการนี้ คือธุรกิจไม่สามารถมั่นใจได้ว่าบุคคลที่เป็นคนให้ข้อมูลนั้นเป็นคนเดียวกับบุคคลที่ได้ทำธุรกรรม ส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการเพิ่มขึ้นของข้อมูลตัวตนที่เป็นเท็จในโลกออนไลน์

  1. การยืนยันตัวตนออนไลน์

การยืนยันตัวตนออนไลน์ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวตัดสินว่าข้อมูลเอกสารที่ทางรัฐเป็นคนออกให้นั้นมีความเกี่ยวข้องกับบุคคลคนนั้นหรือไม่ โดยนำเทคโนโลยี AI, computer vision และการใช้คนในการตรวจสอบ วิธีการยืนยันตัวตนนี้มักจะกำหนดให้ผู้ใช้งานถ่ายรูปตัวเองที่ถือบัตรประชาชนอยู่ เพื่อเป็นการยืนยันว่าบุคคลที่อยู่ในบัตรประชาชน กับบุคคลที่ถือบัตรประชาชนอยู่นั้นเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยวิธีการยืนยันตัวตนออนไลน์นั้นถือเป็นวิธีการที่ปลอดภัยมากวิธีหนึ่ง แต่ในมุมมองของผู้ใช้งานบางรายอาจจะมองว่าการส่งรูปเอกสาร และการถ่ายรูปตัวเองเป็นเรื่องที่ไม่สะดวก และเป็นการรุกล้ำส่วนบุคคล จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้ผู้ใช้งานส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการใช้สมาร์ทโฟนอยู่แล้วน่าจะทำให้มุมมองเหล่านี้ลดลงไปได้มาก อีกทั้งการยืนยันตัวตนออนไลน์ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างมากอีกด้วย 

  1. การยืนยันตัวตนโดยใช้อัตลักษณ์ (ฺBiometrics)

อัตลักษณ์สามารถนำมาใช้ในการระบุ และยืนยันตัวตนโดยใช้ลักษณะทางกายภาพของแต่ละบุคคล เทคโนโลยี biometrics ได้แก่ Facial recognition หรือระบบการรู้จำใบหน้า, Voice recognition หรือระบบการรู้จำเสียง, การอ่านม่านตา และการแสกนลายนิ้วมือ วิธีการเหล่านี้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานได้เป็นอย่างมากเนื่องจากไม่จำเป็นต้องมีการจดจำรหัสผ่านต่างๆ หรือคำถามที่จำเป็นต้องตอบ 

อย่างไรก็ตามวิธีการนี้มีข้อเสียบางอย่างตรงที่หากข้อมูลอัตลักษณ์เหล่านี้โดนขโมยไป เช่น รูปจากโซเชียลมีเดีย โดนอัดเสียงโดยไม่รู้ตัว หรือแม้กระทั่งลายนิ้วมือถูกขโมยไปจากฐานข้อมูล และถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายได้ แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน เช่น ด้วยฟีเจอร์ Liveness detection ที่จะทำให้ระบบสามารถแยกแยะได้ว่าบุคคลที่ยืนยันตัวตนนั้นเป็นบุคคลจริงไม่ได้มีการนำภาพถ่ายมาใช้ในการยืนยันตัวตน เพื่อป้องกันการปลอมแปลงตัวตนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จึงทำให้วิธีการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าเป็นอีกหนึ่งวิธีการยืนยันตัวตนแบบ Biometrics ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน 

ทำไมธุรกิจถึงจำเป็นต้องใช้การยืนยันตัวตน?

บริการยืนยันตัวตนสามารถใช้ได้การยืนยันตัวแบบออนไลน์ และแบบออฟไลน์ เพื่อใช้ในการยืนยันข้อมูลเทียบกับในบัตรประชาชน โดยการยืนยันตัวตนออนไลน์ประยุกต์ใช้ได้กับทั้งธุรกิจการเงิน, E-commerce, เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียต่างๆ และใช้เพื่อควบคุมกิจกรรมหรือธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การฟอกเงินและการฉ้อโกงข้อมูลประจำตัว ตัวอย่างเช่น สำหรับธนาคาร ลูกค้าจำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนเพื่อทำการเปิดบัญชีเป็นต้น หรือแอปพลิเคชัน Tinder ที่ให้ผู้ใช้งานต้องยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าเพื่อยืนยันว่าเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เป็นต้น โดยขั้นตอนในการยืนยันตัวตนเหล่านี้ลูกค้า หรือผู้ใช้งานจำเป็นต้องทำให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ในกรณีดังต่อไปนี้

  • ธุรกิจการเงิน และธนาคาร : โดยเฉพาะการทำธุรกรรมกับธนาคารจะมีการใช้การยืนยันตัวตนเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การเปิดบัญชี การสมัครใช้บริการทางการเงินอื่นๆผ่านช่องทางออนไลน์ล้วนแต่จำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนทั้งสิ้น
  • ธุรกิจโทรคมนาคม และประกัน : ในธุรกิจโทรคมนาคมเองนั้นต้องมีการยืนยันตัวตนเมื่อลูกค้ามีการเปิดเบอร์ใหม่ หรือดำเนินการเปลี่ยนซิมต่างๆ รวมถึงในธุรกิจประกันเองต้องมีการยืนยันตัวตนลูกค้าเช่นกัน
  • ธุรกิจแพลทฟอร์ม และแอปพลิเคชัน : เพื่อเป็นการยืนยันว่าข้อมูลที่ได้สมัครเข้าใช้บริการแพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชันต่างๆเป็นบุคคลคนเดียวกันจริงๆ ธุรกิจแพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชันต่างๆจึงจำเป็นต้องมีการนำการยืนยันตัวตนออนไลน์เข้ามาใช้งาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความปลอดภัย และความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ
  • หน่วยงานภาครัฐ : เพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว หน่วยงานภาครัฐเองได้นำการยืนยันตัวตนออนไลน์มาใช้งานเพื่อให้ประชาชนยืนยันในการรับสิทธิ์ต่างๆจากโครงการของภาครัฐ

ส่งท้ายบทความ

การยืนยันตัวตนได้กลายเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่ขาดไม่ได้สำหรับการทำธุรกิจ เพื่อยกระดับความปลอดภัย และความมั่นใจให้กับผู้ใช้งาน รวมทั้งกับธุรกิจเองที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าที่มาใช้บริการนั้นเป็นบุคคลคนเดียวกันกับคนที่กรอกข้อมูลเข้ามา และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การยืนยันตัวตนสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ และหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการยืนยันตัวตนเองไม่ได้จำกัดอยู่ในเฉพาะธุรกิจการเงิน และธนาคารเท่านั้น ธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆต่างนำการยืนยันตัวตนออนไลน์ หรือ e-KYC ไปใช้ได้เช่นกัน เพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของแต่ละธุรกิจ

หากธุรกิจของคุณกำลังมองหาโซลูชันการยืนยันตัวตนออนไลน์ หรือ AI-Powered e-KYC ไปใช้งาน ผู้เชี่ยวชาญ AI GEN ยินดีให้บริการคำปรึกษาตั้งแต่การวางแผนการเลือกรูปแบบการยืนยันตัวตนที่ตอบโจทย์ธุรกิจของคุณจนถึงการพัฒนาและเชื่อมต่อระบบ สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเราได้ที่นี่

AIGEN Live chat