Share

5 ตัวอย่างการนำระบบ AI-Face recognition มาใช้งานกับธุรกิจ

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยียุคใหม่โดยเฉพาะเทคโนโลยี AI ทำให้ขั้นตอนการเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน และโปรแกรมทางธุรกิจต่างๆ รวมถึงการคัดกรองคนเพื่อเข้าไปในสถานที่ต่างๆ เช่น อาคารสำนักงาน นั้นเปลี่ยนไปด้วยการนำอัตลักษณ์ของแต่ละบุคคลมาใช้เพื่อยืนยันตัวตน และอนุญาตให้แต่ละบุคคลสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้หลังจากทำการยืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้ว

โดยการยืนยันตัวตนด้วยการใช้ใบหน้าที่มีระบบ AI-Face recognition เป็นผู้อยู่เบื้องหลังนั้นเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมจากภาคธุรกิจต่างๆ เป็นอย่างมาก เนื่องจากใบหน้าเป็นอัตลักษณ์เฉพาะบุคคล ซึ่งไม่สามารถขโมยกันได้ ซึ่งช่วยยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมต่างๆ ได้เป็นอย่างมาก ไม่เหมือนกับวิธีเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Password ซึ่งสามารถถูกขโมยได้ หรือการใช้ลายนิ้วมือที่ต้องมีการสัมผัสกับอุปกรณ์ซึ่งไม่ตอบโจทย์กับการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันที่เน้นเรื่องไร้การสัมผัส (Contactless)

วันนี้ AIGEN จะพามาทำความรู้จักกับระบบ AI-Face recognition ที่เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่อยู่เบื้องหลังของการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า พร้อมทั้งตัวอย่างของการนำระบบ AI-Face recognition ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ

ระบบ AI-Face Recognition สำหรับธุรกิจ

ระบบ AI-Face recognition คืออะไร

ระบบ AI-Face recognition คือระบบจดจำ และตรวจจับใบหน้าที่สามารถแยกแยะอัตลักษณ์บนใบหน้าของแต่ละบุคคลได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างเช่น ระยะห่างระหว่างตา ตำแหน่ง และความยาวของจมูก ซึ่งลักษณะจำเพาะเหล่านี้คนก็อาจจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยตาเปล่า และสามารถนำข้อมูลใบหน้าของแต่ละบุคคลไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลได้ และสามารถนำมาใช้เทียบกับลักษณะจำเพาะของรูปหน้าอีกรูปหนึ่งที่ต้องการตรวจสอบ เพื่อเปรียบเทียบว่าใกล้เคียงพอที่จะถือว่าเป็นคนเดียวกันหรือไม่ 

ด้วยความสามารถของ AI ที่ได้รับการเทรนให้เรียนรู้ใบหน้าของคนมาอย่างหลากหลาย โมเดล AI รุ่นใหม่ๆ ที่มีความสามารถเทียบเท่ามนุษย์ได้รับการเทรนจากการเห็นหน้ามาหลายล้านหน้า จึงทำให้ระบบ AI-Face recognition นั้นสามารถที่จะเปรียบเทียบ ระบุ และจับคู่ใบหน้าได้อย่างแม่นยำ และรวดเร็ว

โดยระบบ AI-Face recognition นั้นสามารถแบ่งรูปแบบการทำงานได้เป็น 2 รูปแบบ

1. Face comparison 1:1 (one to one)

รูปแบบ Face comparison

เป็นการเปรียบเทียบระหว่างใบหน้า 2 ใบหน้า และหลังจากนั้นจะได้ผลลัพธ์กลับมา จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ในกระบวนการทางธุรกิจต่อไป โดย aiFace บริการ AI-Face cognition จาก AIGEN ได้พัฒนาฟีเจอร์อื่นๆ เพิ่มเติมที่เพิ่มเติมจากการเปรียบเทียบใบหน้าเพียงอย่างเดียว เพื่อการใช้งานที่ครอบคลุมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบใบหน้าจากรูปถ่ายเซลฟี่ (Real time) กับรูปใบหน้าบนบัตรประชาชน ตรวจสอบความเบลอของรูปภาพ และ Threshold สำหรับการกำหนดเกณฑ์ในการผ่านการตรวจสอบ

นอกจากนั้นหากเป็นธุรกิจที่ต้องการความปลอดภัยสูงยังสามารถนำฟีเจอร์ Liveness detection เข้ามาใช้ควบคู่กับ Face comparison เพื่อตรวจสอบว่าบุคคลนั้นเป็นคนจริงๆ ไม่ใช่นำรูปถ่ายของบุคคลมาใช้ ก่อนที่จะนำรูปภาพนั้นไปใช้ในการเปรียบเทียบบน Face Comparison ซึ่งทาง AIGEN เองมีให้บริการ Liveness detection ในรูปแบบของ Motion detection โดยเป็นวิธีที่ธุรกิจส่วนใหญ่นิยมนำไปใช้ในการยืนยันตัวตนออนไลน์

2. Face retrieval 1:N (one to N)

การทำ Face retrieval

เป็นรูปแบบของการใช้งานที่ใช้ในการค้นหาใบหน้าโดยที่ไม่รู้มาก่อนว่าคนที่จะเข้ามาสแกนใบหน้าคือใคร มักจะใช้กับตรวจสอบใบหน้าผู้ใช้งานกับการเข้าทำงาน การตรวจสอบใบหน้าผู้ใช้งานเพื่อเข้าตึกออฟฟิศ หรือเข้าร่วมงานอีเว้นต์ต่าง ๆ 

5 ตัวอย่างยอดฮิตในการนำระบบ AI-Face recognition ไปใช้กับธุรกิจยุคใหม่

1. การยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าเพื่อทำธุรกรรมต่างๆ บนแอปพลิเคชันของธุรกิจ

ธุรกิจสามารถนำระบบ AI-Face recognition มาใช้เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมต่างๆ ด้วยการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า โดยเฉพาะกับธุรกิจการเงิน และธนาคาร ธุรกิจประกัน และธุรกิจสินเชื่อออนไลน์สำหรับการทำธุรกรรมที่มีความเสี่ยงในระดับกลาง และต่ำ ด้วยการเปรียบเทียบใบหน้าจากรูปถ่ายเซลฟี่กับรูปถ่ายในบัตรประชาชนว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันจริงหรือไม่ ซึ่งแต่เดิมลูกค้าต้องเดินทางไปที่สาขาของธุรกิจเพื่อที่จะยืนยันตัวตนกับพนักงาน แต่ด้วยระบบ AI-Face cognition นั้นลูกค้าสามารถทำได้ด้วยตนเองผ่านทางแอปพลิเคชันของธุรกิจ ประหยัดเวลาการเดินทางของลูกค้า และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ายุคใหม่ได้เป็นอย่างดีด้วยบริการที่สะดวก และปลอดภัย ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าใช้งานบริการต่างๆ ของธุรกิจได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ส่งผลทำให้รายได้กลับเข้ามาที่บริษัทได้เร็วขึ้นนั่นเอง

ไม่เพียงแต่ธุรกิจการเงิน และธนาคาร หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงินเท่านั้นถึงจะสามารถใช้การยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าได้ ธุรกิจประเภทอื่นๆ ก็สามารถนำระบบ AI-Face recognition ไปประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน แทนวิธีการเข้าใช้งานระบบ หรือวิธีการเข้าถึงข้อมูลแบบเดิม เช่น การใช้ Password  หรือจะเป็นการสมัครสมาชิกเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายที่จะต้องมีการยืนยันตัวตนสำหรับธุรกิจที่ขายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่าย และธุรกิจซื้อขายทองที่สามารถนำระบบ AI-Face recognition ไปใช้งานเพื่อให้ลูกค้าใช้ในการยืนยันตัวตน และเป็นไปตามกฎหมายที่ทางปปง. หรือสำนักงานป้องกันและปรามปราบการฟอกเงินได้กำหนดไว้ รวมถึงธุรกิจพัฒนาแพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชันเองสามารถนำ AI-Face recognition ไปใช้สำหรับการยืนยันตัวตนผู้ทำการล็อกอินเข้าใช้งาน เป็นต้น

2. การลงทะเบียนเพื่อใช้บริการของธุรกิจ หรือหน่วยงานภาครัฐได้ด้วยตนเอง

ระบบ AI-Face recognition สามารถนำมาใช้สำหรับให้ลูกค้า หรือผู้มาใช้บริการสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้ารับบริการต่างๆ จากหน่วยงานภาครัฐได้ด้วยตนเอง (Self-service) โดยที่ผู้มาใช้บริการสามารถถ่ายรูปเซลฟี่ใบหน้า และบัตรประชาชนเพื่อประมวลผล และยืนยันว่าเป็นบุคคลคนเดียวกัน ช่วยลดเวลาการรอการเข้าคิวเพื่อจะลงทะเบียน และประหยัดจำนวนบุคลากรที่ต้องใช้ในขั้นตอนการลงทะเบียน ทำให้บุคลากรมีเวลาโฟกัสในการให้บริการในเคสลูกค้าที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลสามารถนำระบบการลงทะเบียนด้วยตนเองไปใช้งานสำหรับให้คนไข้ลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการรักษาได้ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนไข้ที่ต้องการความสะดวก และรวดเร็วได้เป็นอย่างดี

3. การตรวจสอบใบหน้าเพื่อเข้าตึกอาคารสำนักงาน หรือพื้นที่หวงห้าม

การนำ AI-Face recognition มาใช้กับการตรวจสอบใบหน้าเพื่อเข้าตึกอาคารสำนักงาน หรือพื้นที่หวงห้ามนั้นเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการใช้งานที่เป็นที่นิยมในภาคธุรกิจหลายๆ อุตสาหกรรม เนื่องจากตั้งแต่มีเหตุการณ์โรคระบาดโควิด-19 จึงทำให้การนำระบบที่เป็น Contactless หรือระบบไร้สัมผัสมาใช้งานกันมากขึ้น จากแต่เดิมที่เวลาจะเข้าตึกออฟฟิศมักจะใช้เป็นการแตะบัตรพนักงาน หรือใช้ลายนิ้วมือ มาเป็นการใช้การสแกนใบหน้า ซึ่งช่วยยกระดับความปลอดภัยให้กับตึกสำนักงานได้เป็นอย่างดี เพราะกันไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาในตึกได้ อีกทั้งยังป้องกันเรื่องการฉ้อโกง เช่น ฝากบัตรพนักงานมาให้เพื่อนแตะบัตรเข้างานให้ เป็นต้น เนื่องจากใบหน้านั้นเป็นลักษณะจำเพาะบุคคล ไม่สามารถที่จะปลอมแปลง หรือขโมยกันได้นั่นเอง รวมถึงลดการสัมผัสตามอุปกรณ์ต่างๆ ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อโควิด-19 ได้อีกทาง

ตัวอย่างการนำระบบ AI-Face recognition ไปใช้งานกับธุรกิจ

4. การตรวจสอบใบหน้าเพื่อเช็คการเข้าทำงาน

เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ธุรกิจนิยมนำ ระบบ AI-Face recognition ไปใช้งาน นอกจากจะช่วยสแกนคนในการเข้าไปในตึกออฟฟิศ หรือสำนักงานแล้วนั้น ยังใช้ในการเช็คการเข้างานของพนักงานได้อีกด้วย จากแต่เดิมที่ใช้วิธีการแตะบัตรพนักงานเพื่อเช็คการเข้างาน ซึ่งอาจมีโอกาสที่พนักงานอาจจะทุจริตโดยการฝากบัตรพนักงานให้เพื่อนมาแตะบัตรแทนให้ สามารถป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้ได้ด้วยการนำระบบ AI-Face recognition มาใช้ในการเช็คการเข้างานของพนักงาน เพียงแค่พนักงานสแกนใบหน้า ระบบจะสามารถตรวจสอบรูปถ่ายใบหน้ากับรูปถ่ายในฐานข้อมูลที่มีอยู่ได้โดยทันทีว่าเป็นพนักงานคนไหน และหมดห่วงในเรื่องการทุจริต เนื่องใบหน้าถือเป็นอัตลักษณ์ของแต่ละคนซึ่งไม่สามารถปลอมแปลง หรือขโมยกันได้นั่นเอง

5. การตรวจสอบใบหน้าเพื่อเข้าร่วมงานอีเว้นต์

งานอีเว้นต์เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจในการนำระบบ AI-Face recognition ไปใช้งาน เนื่องจากจะช่วยประหยัดเวลา และจำนวนคนที่ต้องใช้ในการเช็คผู้เข้าร่วมงานแต่ละคน อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ที่มาเข้าร่วมงานประทับในบริการที่รวดเร็ว เนื่องจากเพียงแค่สแกนใบหน้าก็สามาถเข้าร่วมงานได้เลย โดยที่ระบบจะทำการเปรียบเทียบกับรูปที่มีอยู่ในระบบ หลังจากนั้นระบบจะทำงานส่งข้อมูลของใบหน้าที่มีความใกล้เคียงมากที่สุดกลับมาให้ ซึ่งหากมีค่าความเหมือนที่อยู่ในเกณฑ์จะหมายความว่ารูปภาพที่ส่งไปค้นหาในฐานข้อมูลมีตัวตนในระบบ แสดงวาเป็นบุคคลเดียวกันกับคนที่ได้ลงทะเบียนไว้นั่นเอง

aiFace ระบบ AI-Face recognition จาก AIGEN

AIGEN ได้พัฒนา aiFace ระบบ AI-Face recognition ที่จะช่วยยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมต่างๆ ให้กับธุรกิจด้วยการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าแบบอัตโนมัติ ลดภาระการทำงานแบบแมนนวล และสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการด้วยบริการที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย การันตีประสิทธิภาพในการทำงานด้วยมาตรฐานการรับรองสากลทั้งจาก NIST และ ETDA อีกทั้งยังได้เทรนใบหน้าคนมากกว่า 5 ล้านใบหน้า และประมวลผลใบหน้าคนมามากกว่า 1 ล้านใบหน้า รองรับการใช้งานทางธุรกิจที่หลากหลาย มาพร้อมกับฟีเจอร์ที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็น

  • ตรวจจับทั้งใบหน้าเดี่ยว และหลายใบหน้า
  • เปรียบเทียบรูปถ่ายกับภาพในบัตรประชาชนได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ พร้อมส่งข้อมูลไปตรวจสอบกับฐานข้อมูลของกรมการปกครองได้โดยทันที
  • รองรับ Liveness Detection เพื่อป้องกันการปลอมแปลงตัวตนโดยเฉพาะกับธุรกรรมที่มีความเสี่ยงกลาง-สูง
  • ระบุตัวตนได้แบบอัตโนมัติ
  • ประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว
  • เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันของธุรกิจได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว

ต้องการนำระบบ AI-Face recognition ไปใช้กับธุรกิจ

AI-Face recognition อีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญสำหรับธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องการยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ด้วยการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า และสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจด้วยบริการที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ให้ธุรกิจของคุณตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ายุคใหม่ได้เป็นอย่างดี

หากธุรกิจของคุณกำลังมองหาระบบ AI-Face recognition ไปใช้งาน เพื่อยกระดับขั้นตอนการทำ Customer onboarding และยกระดับความปลอดภัยของการทำธุรกรรม ผู้เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การออกแบบขั้นตอนการทำงาน จนถึงการนำระบบ AI-Face recognition ไปใช้งานให้ประสบผลสำเร็จ ติดต่อเพื่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่

AIGEN Live chat