Share

อัปเดต ! 4 ภัยทางการเงินที่เจอบ่อยในปี 2024

ไม่ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะถูกพัฒนาไปมากเท่าไร แต่ก็ต้องยอมรับว่า เหล่ามิจฉาชีพในโลกไซเบอร์ก็ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยไปด้วยเช่นกัน เพราะเรายังคงได้ยิน “ภัยทางการเงิน” ที่เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน และเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันในทุกย่างก้าว เราจะพาไปสำรวจ 4 กลโกงที่ควรเฝ้าระวังในปี 2024 พร้อมวิธีป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากการโดนหลอกของเหล่ามิจฉาชีพ 

ผู้ชายกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับเทคนิคภัยทางการเงินพบบ่อยทางออนไลน์

4 กลโกงจากมิจฉาชีพ ภัยทางการเงินที่ต้องรู้ !

เมื่อการทำธุรกิจทางการเงินผ่านออนไลน์ คือสิ่งที่ช่วยให้ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น แต่บางครั้งก็อาจกลายเป็นช่องโหว่ที่เหล่ามิจฉาชีพคอยจะเล่นงานเราอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการเข้ามาโจรกรรมข้อมูล ดูดเงินในบัญชี หรือการใช้กลโกงที่อาศัยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาเป็นตัวหลอกล่อ  

1. Ransomware 3.0

Ransomware หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ได้พัฒนาไปอีกขั้นในเวอร์ชัน 3.0 โดยใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการโจมตี ทำให้การโจมตีมีความซับซ้อนและยากต่อการตรวจจับมากขึ้น อีกทั้ง Ransomware 3.0 ยังสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการโจมตีได้อย่างชาญฉลาด หลบเลี่ยงระบบป้องกันและแพร่กระจายไปยังระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว 

นอกจากนี้ ผู้โจมตียังจะใช้เทคนิค “Double Extortion” ซึ่งจะเป็นการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่   พร้อมกับขู่ว่าจะเผยแพร่ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสู่สาธารณะหากไม่จ่ายเงิน ทำให้เหยื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก โดยเฉพาะองค์กรที่มีข้อมูลของลูกค้าจำนวนมาก จำเป็นจะต้องเพิ่มความระมัดระวังและมีมาตรการป้องกันที่รัดกุม เพื่อรับมือกับภัยคุกคามในรูปแบบนี้

2. Deepfake Fraud

Deepfake Fraud เป็นการใช้เทคโนโลยี AI สร้างภาพ เสียง หรือวิดีโอปลอมที่สมจริงมาก เพื่อหลอกลวงเหยื่อ อีกทั้งมิจฉาชีพยังจะสามารถสร้างคลิปวิดีโอหรือเสียงของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร สั่งให้พนักงานโอนเงินหรือเปิดเผยข้อมูลสำคัญ โดยที่เหยื่อแทบไม่สามารถแยกแยะได้เลยว่า ผู้บริหารคนนั้นเป็นตัวปลอม 

ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงคือ กรณีของบริษัทในฮ่องกงที่ถูกหลอกให้โอนเงินถึง 20 ล้านปอนด์ ผ่านการประชุมวิดีโอคอลปลอมที่สร้างขึ้นด้วย Deepfake ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอันตรายของเทคโนโลยีประเภทนี้ องค์กรจึงต้องเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยทางการเงิน และมีกระบวนการยืนยันตัวตนที่รัดกุมขั้นสุด เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงในอนาคต 

3. Cryptojacking 2.0

Cryptojacking คือภัยทางการเงินที่มาในรูปแบบของการแอบใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเพื่อขุดเหรียญคริปโตโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งในเวอร์ชัน 2.0 นี้ มิจฉาชีพได้พัฒนาเทคนิคการแฝงตัวและหลบเลี่ยงการตรวจจับที่ซับซ้อนได้มากขึ้น โดยใช้ AI เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานให้แนบเนียนและยากต่อการตรวจพบ

Cryptojacking 2.0 สามารถแพร่กระจายผ่านช่องโหว่ของระบบ หรือทำการหลอกให้ผู้ใช้คลิกลิงก์อันตราย จากนั้นจะซ่อนตัวอยู่ในระบบและใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ในการขุดเหรียญคริปโต ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องลดลง และอาจนำไปสู่ความเสียหายของฮาร์ดแวร์ในระยะยาว องค์กรจึงต้องมีระบบตรวจจับและป้องกันที่ทันสมัย รวมถึงให้ความรู้แก่พนักงานถึงรูปแบบของภัยคุกคามประเภทนี้

4. AI-Powered Phishing

การหลอกลวงทางอีเมลหรือ Phishing ได้รับการยกระดับด้วยการใช้ AI มาช่วยในการสร้างเนื้อหาที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ความร้ายกาจของ AI-Powered Phishing ยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลของเป้าหมาย เพื่อสร้างข้อความที่เฉพาะเจาะจงและสมจริง ทำให้ยากต่อการแยกแยะว่าเป็นอีเมลที่ส่งมาหลอกลวงหรือเป็นอีเมลจริงกันแน่ 

นอกจากนี้ เทคโนโลยี AI-Powered Phishing ยังช่วยให้มิจฉาชีพสามารถส่งอีเมลหลอกลวงได้ในปริมาณมากและรวดเร็วขึ้น โดยปรับแต่งเนื้อหาให้เหมาะสมกับแต่ละเป้าหมาย เพิ่มโอกาสในการหลอกลวงได้สำเร็จ องค์กรจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการตรวจสอบอีเมลและการทำธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์ เพราะนี่คือภัยคุกคามที่มาอย่างแนบเนียน แต่สามารถสร้างความเสียหายอันยิ่งใหญ่ให้แก่องค์กรได้ในพริบตา

ระบบยืนยันตัวตนด้วย AI จาก AIGEN ช่วยปกป้ององค์กรจากภัยทางการเงิน

ยกระดับการป้องกันภัยทางการเงินด้วยโซลูชัน e-KYC

เมื่อภัยคุกคามทางไซเบอร์มีความซับซ้อนมากขึ้น การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัยทางการเงินจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง AIGEN จึงได้ทำการพัฒนาระบบยืนยันตัวตนด้วย AI หรือโซลูชัน e-KYC Gateway เพื่อเป็นเกราะป้องกันการโจมตีทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ 

โซลูชันระบบ e-KYC Gateway สำหรับยืนยันตัวตนลูกค้าของธุรกิจจาก AIGEN เป็นบริการยืนยันตัวตนอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจรที่ใช้เทคโนโลยี AI อัจฉริยะ สามารถเชื่อมต่อกับเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของธุรกิจได้อย่างสะดวกและง่ายดาย ช่วยให้การทำธุรกรรมออนไลน์มีความปลอดภัยสูง ในขณะเดียวกันก็ยังช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าอีกด้วย

ข้อดีของโซลูชัน AI-Powered e-KYC Gateway

  • มีความแม่นยำสูง: ระบบ AI ได้รับการเทรนด้วยเอกสารมากกว่าล้านฉบับและใบหน้ามากกว่าล้านใบหน้า ทำให้สามารถประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ
  • รับรองด้วยมาตรฐานสากล: ได้รับการรับรองจาก National Institute of Standards and Technology (NIST) และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)
  • ให้บริการครบวงจร: รวมการประมวลผลเอกสารอย่างบัตรประชาชน และการยืนยันใบหน้าไว้ในที่เดียว รองรับเอกสารหลากหลายประเภท
  • รองรับภาษาไทยและอังกฤษ: สามารถประมวลผลเอกสารได้ทั้งไทยและอังกฤษ รวมถึงการอ่านลายมือ
  • เชื่อมต่อง่ายผ่าน API: สามารถเชื่อมต่อกับระบบขององค์กรได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
  • ใช้งานได้อย่างยืดหยุ่น: ให้บริการทั้งแบบ On Cloud และ On Premise ตามความต้องการของธุรกิจ
  • ความปลอดภัยของข้อมูล: ใช้ระบบคลาวด์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยข้อมูล
  • อัปเดตต่อเนื่อง: มีการเทรนโมเดล AI อย่างสม่ำเสมอเพื่อรองรับเอกสารและใบหน้าในรูปแบบใหม่ ๆ

ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้โซลูชัน AI-Powered e-KYC Gateway จาก AIGEN จึงเป็นเครื่องมือสำคัญของธุรกิจในการป้องกันภัยคุกคามทางการเงินและการหลอกลวงออนไลน์ ช่วยให้ธุรกิจและผู้ใช้งานสามารถทำธุรกรรมออนไลน์ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น


ต้องการปกป้องธุรกิจของคุณจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ? ปรึกษา AIGEN เพื่อรับโซลูชันความปลอดภัยทางการเงินอย่างระบบ e-KYC ยืนยันตัวตนลูกค้าสำหรับธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วย AI ได้แล้ววันนี้ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้เลยที่นี่ 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. ภาพรวมภัยคุกคามทางไซเบอร์ในกลุ่มธุรกิจการเงิน (Financial Cyberthreats in 2023). สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 จาก https://www.cyberelite.co.th/
  2. เทคโนโลยี DEEPFAKE “หลอกเนียน-ลวงเหมือน-ล้วงข้อมูล”. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 จาก https://www.tba.or.th/
  3. Top cyber themes for financial services in 2024. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 จาก https://www.grantthornton.co.uk/
AIGEN Live chat