Share

เคล็ดลับในการเลือกระบบ Knowledge Management ที่ตอบโจทย์กับองค์กรของคุณ

ในยุคที่ธุรกิจต่างต้องใช้ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร องค์กรใดมีระบบการจัดการ และการค้นหาข้อมูล รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดได้ดีกว่าย่อมสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจได้ จึงทำให้ระบบจัดการความรู้ หรือ Knowledge management จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญกับการทำธุรกิจในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะทำให้ธุรกิจสามารถรวบรวม จัดระเบียบ ค้นหา และใช้ประโยชน์จากข้อมูลและความรู้ที่มีอยู่ ช่วยให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น และบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่ตั้งไว้

ในบทความนี้ได้รวมระบบจัดการความรู้ยอดนิยม 3 ระบบ ได้แก่ SharePoint Google Workspace และระบบ Knowledge management เพื่อมาเปรียบเทียบให้ดูกันว่าแต่ละระบบนั้นมีข้อดี และข้อจำกัดอย่างไรบ้าง และเหมาะกับการใช้งานในรูปแบบใด เพื่อเป็นข้อมูลให้กับธุรกิจที่กำลังมองหาระบบจัดการความรู้เพื่อนำไปใช้งานในองค์กรว่าเครื่องมือใดตอบโจทย์กับธุรกิจของคุณ

วิธีการเลือกระบบ Knowledge management ให้ตอบโจทย์กับธุรกิจ

รู้จักกับระบบการจัดการความรู้ภายในองค์กร

ระบบจัดการความรู้ภายในองค์กร หรือ Knowledge management เป็นระบบที่จะรวบรวมข้อมูล และความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ให้อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา และนำข้อมูลไปใช้งานต่อ ซึ่งตอบโจทย์กับธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องการนำข้อมูลที่มีอยู่ภายในองค์กรไปใช้งานต่อยอดในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นต่อยอดเป็น AI Chatbot ที่ใช้ตอบคำถามลูกค้าทั้งภายใน และภายนอกองค์กร หรือนำไปต่อยอดเป็นระบบค้นหาข้อมูลจากเอกสาร จนถึงการนำไปใช้เพื่อต่อยอดเป็นระบบ Customer self-service เพื่อให้ลูกค้าใช้ในการค้นหาข้อมูล และแก้ไขปัญหาบางอย่างเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง

นอกจากนั้นด้วยความสามารถของการนำ AI เข้ามาเพิ่มศักยภาพในการทำงานของระบบ หรือที่เรียกว่าระบบ AI-Knowledge management ทำให้ตอบโจทย์การจัดการ และค้นหาข้อมูลภายในองค์กรได้ดีมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้ธุรกิจสามารถแปลง และดึงข้อมูลจากไฟล์เอกสารได้อย่างรวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยี AI-OCR รวมไปถึงทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ สามารถค้นหาได้ทั้งจากคีย์เวิร์ด และค้นหาจากคำถามด้วยความสามารถของเทคโนโลยี NLP พร้อมให้ธุรกิจสามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดในด้านต่างๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น

เลือกใช้ระบบ Knowledge management ที่ตอบโจทย์กับธุรกิจ

เครื่องมือการจัดการความรู้ที่องค์กรมักนำมาใช้งานจะมีอยู่ 3 ระบบ ได้แก่ SharePoint Google Workspace และระบบ Knowledge management ซึ่งแต่ละเครื่องมือนั้นจะมีฟีเจอร์ เป้าหมายในการใช้งาน และข้อดี รวมไปถึงข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจว่ามีเป้าหมายในการนำเครื่องมือไปใช้งานเพื่ออะไร และเครื่องมือไหนจะตอบโจทย์กับธุรกิจได้ดีกว่ากัน

1. Microsoft Sharepoint

Microsoft Sharepoint เป็นแพลตฟอร์มพื้นที่เก็บข้อมูลมาตรฐานสำหรับการใช้งานภายในองค์กรเพื่อสร้าง และจัดเก็บเอกสารเป็นหลัก โดย Sharepoint เป็นส่วนหนึ่งของ Microsoft office และจำเป็นต้องใช้ Microsoft suites เพื่อที่จะใช้งานในส่วนของ Sharepoint ได้ โดยที่ Sharepoint ทำให้แต่ละทีม และพนักงานภายในองค์กรนั้นสามารถที่จะดู แก้ไข และแชร์ไฟล์เอกสารภายในบริษัทผ่านทางระบบ Ecosystem ของผลิตภัณฑ์ Microsoft 365 ทั้งหมดได้ ยิ่งถ้าองค์กรของคุณนั้นใช้ผลิตภัณฑ์ของ Microsoft อยู่แล้วยิ่งเป็นเรื่องง่ายในการใช้งาน Sharepoint 

ระบบ Microsoft sharepoint

ฟีเจอร์การใช้งานที่น่าสนใจของ Sharepoint

  • การจัดเก็บไฟล์พื้นฐาน และการทำงานร่วมกัน : ธุรกิจสามารถใช้ Sharepoint ในการสร้างที่จัดเก็บไฟล์พื้นฐาน (Document library) โดยใช้เครื่องมือ Microsoft office ทั้งการสร้างไฟล์ และอัปโหลดไฟล์สามารถทำได้แบบง่ายๆ นอกจากนั้นยังสามารถฟิลเตอร์เพื่อค้นหาเอกสารได้จากชื่อผู้ใช้งาน หรือวันที่ รวมทั้งฟิลเตอร์จากประเภทไฟล์ หรือวันที่ปรับปรุงล่าสุดก็ได้เช่นกัน
  • การค้นหาไฟล์ และห้องสมุดไฟล์ (File library) : สามารถค้นหาไฟล์จากการชื่อไฟล์ ชื่อผู้ใช้งาน หรือวันที่ รวมไปถึงฟิลเตอร์จากประเภทไฟล์ หรือวันที่ปรับปรุงล่าสุดก็ได้เช่นกัน
  • สร้าง Internal sites เพื่อใช้งานภายในองค์กร : สามารถใช้ Sharepoint ในการสร้าง Internal sites ได้อย่างสะดวก และง่ายดาย โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านเทคนิค เนื่องจากระบบได้มีเทมเพลตมาตรฐานให้เลือกใช้งานได้ทันที เพียงแค่ทำการ Drag & drop ก็สามารถสร้างเว็บไซต์เพื่อใช้สื่อสารภายในองค์กรได้เอง
  • กำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูล : สามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลได้เอง ช่วยยกระดับความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลได้ดีมากยิ่งขึ้น
  • Microsoft ecosystem : ตอบโจทย์ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ได้ดี เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับ One drive Microsoft office และ Microsoft team ได้ ทำให้ตอบโจทย์การใช้งานภายในองค์กรได้เป็นอย่างดี

ข้อดี และข้อจำกัดของ Sharepoint

ข้อดี

  • ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ได้เป็นอย่างดี
  • เชื่อมต่อกับ Microsoft team และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ Microsoft ได้ ทำให้แชร์ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ทำได้สะดวก และง่ายมากยิ่งขึ้น
  • สร้าง Internal sites แบบพื้นฐานเพื่อใช้สื่อสารภายในหน่วยงาน หรือองค์กรได้เอง
  • ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ

ข้อจำกัด

  • ความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่มีจำกัด : เนื่องจาก Sharepoint รองรับแค่การค้นหาในระดับของชื่อไฟล์เท่านั้น หากผู้ใช้งานต้องการค้นหาข้อมูลที่อยู่ในไฟล์จะไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก Sharepoint ไม่ได้มีการจัดทำดัชนีของข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ต่างๆ ไว้
  • ไม่มีการจัดหมวดหมู่ของไฟล์ข้อมูลให้เป็นระบบ ถึงแม้ว่าธุรกิจจะสามารถใช้ Sharepoint ในการสร้าง Internal site เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้พื้นฐานภภายในทีม หรือภายในองค์กร แต่เมื่อพนักงานเข้ามาใน Internal sites เพื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการแล้วต้องมาเจอกับไฟล์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้พนักงานต้องเสียเวลาในการเปิดทีละไฟล์ว่าแล้วข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ในไฟล์ใด

Sharepoint เหมาะกับธุรกิจแบบใด

Sharepoint เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการระบบ Knowledge management ขั้นพื้นฐาน นั่นคือสามารถใช้ในการจัดเก็บ และแชร์ไฟล์ภายในหน่วยงาน หรือภายในองค์กรได้ รวมถึงสามารถใช้ในการค้นหาไฟล์ต่างๆ ได้ รวมถึงสร้าง Internal site แบบมาตรฐานใช้งานภายในองค์กรได้เองแบบง่ายๆ แต่หากต้องการนำระบบ Knowledge management ไปใช้ต่อยอดเพื่อใช้ในการให้บริการลูกค้านั้นอาจจำเป็นต้องใช้ระบบ Knowledge management ขั้นสูงจะตอบโจทย์การทำงานได้ดีมากกว่า

2. Google Workspace

Google workspace เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมสำหรับธุรกิจที่นำมาใช้เพื่อให้การทำงานร่วมกันภายในองค์กรทำได้สะดวก และง่ายมากขึ้น ตั้งแต่การรับส่งอีเมลจนถึงเครื่องมือในการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น Gmail, Google docs, Google sheets, Google drive เป็นต้น ตอบโจทย์องค์กรยุคใหม่ที่ให้พนักงานสามารถทำงานได้จากที่ไหนก็ได้

ระบบ Google workspace

ฟีเจอร์การใช้งานที่น่าสนใจของ Google Workspace

  • การทำงานร่วมกัน : ถือเป็นฟีเจอร์การใช้งานหลักของ Google workspace ที่ออกแบบมาให้คนภายในองค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้เพียงแค่มีอินเตอร์เน็ตก็สามารถเข้าใจงานบริการต่างๆ ได้ โดยเฉพาะการจัดการไฟล์ต่างๆ โดยที่พนักงานสามารถอัปโหลดไฟล์ไว้ใน Google drive กลางขององค์กรเพื่อแชร์ให้คนอื่นๆ สามารถเข้าถึง และค้นหาไฟล์ข้อมูลต่างๆ ได้
  • สร้าง Internal site เพื่อใช้งานภายในองค์กร :  สามารถสร้าง Internal site เพื่อใช้งานผ่านในองค์กรได้ผ่านทาง Google sites ที่มีเทมเพลตมาตรฐานให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้งาน โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้าน Programming ก็สามารถทำได้ เพียงแค่ Drag & Drop สิ่งที่ต้องการไปวางทำให้องค์กรสามารถสร้างเว็บไซต์เพื่อใช้งานภายในองค์กรได้แบบง่ายๆ
  • เชื่อมต่อกับ Gemini for workspace : เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่น่าสนใจ เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถใช้งาน Gemini หรือ Generative AI ที่ทาง Google ได้พัฒนาขึ้นทำให้การทำงานทำได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกมากยิ่งขึ้น
  • ความปลอดภัยระดับองค์กร : นอกจากจะสามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลได้แล้ว องค์กรยังมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยของข้อมูลด้วยระบบความปลอดภัยของ Google

ข้อดี และข้อจำกัดของ Google Workspace

ข้อดี

  • ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของ Google ได้เป็นอย่างดี
  • เชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ Google ได้ ทำให้แชร์ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ทำได้สะดวก และง่ายมากยิ่งขึ้น
  • สร้าง Internal sites แบบพื้นฐานเพื่อใช้สื่อสารภายในหน่วยงาน หรือองค์กรได้เอง
  • ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ

ข้อจำกัด

  • ความสามารถในการค้นหาที่จำกัด : เนื่องจาก Google Workspace รองรับแค่การค้นหาในระดับของชื่อไฟล์เท่านั้น หากผู้ใช้งานต้องการค้นหาข้อมูลที่อยู่ในไฟล์จะไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก Google Workspace ไม่ได้มีการจัดทำดัชนีของข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ต่างๆ ไว้
  • ไม่มีการจัดหมวดหมู่ของไฟล์ข้อมูลให้เป็นระบบ : ถึงแม้ว่าธุรกิจจะสามารถใช้ Google sites ในการสร้าง Internal site เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้พื้นฐานภายในทีม หรือภายในองค์กร แต่เมื่อพนักงานเข้ามาใน Internal sites เพื่อค้นหาข้อมูลที่ต้องการแล้วต้องมาเจอกับไฟล์ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้พนักงานต้องเสียเวลาในการเปิดทีละไฟล์ว่าแล้วข้อมูลที่ต้องการนั้นอยู่ในไฟล์ใด

Google Workspace เหมาะกับธุรกิจแบบใด

Google Workspace เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการเครื่องมือ หรือแพลตฟอร์มในการทำงานร่วมกันภายในองค์กร และต้องการเครื่องมือในการจัดการความรู้ขั้นพื้นฐานที่ใช้ในการรวบรวม และจัดการไฟล์ หรือข้อมูลให้อยู่ในที่เดียวกันที่ทุกคนภายในองค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากที่ไหน และเวลาได้ก็ได้ แต่หากต้องการเครื่อง

3. ระบบ AI-Knowledge management

ระบบจัดการความรู้ภายในองค์กร หรือระบบ AI-Knowledge management เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการจัดการความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรทั้งหมดที่จัดเก็บอยู่ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร ลิ้งค์เว็บไซต์ หรือไฟล์คำถาม Q&A ซึ่งนอกจากจะสามารถจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ในที่เดียวกันได้แล้ว ยังสามารถใช้ ในการค้นหาข้อมูลต่อได้ง่าย และสะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลด้วยคีย์เวิร์ด และการถาม-ตอบ ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับระบบ AI-Knowledge management โดยเฉพาะที่ไม่มีใน Sharepoint และ Google workspace 

อีกทั้งธุรกิจสามารถนำระบบ AI-Knowledge management ไปใช้ต่อยอดเป็นระบบค้นหาข้อมูลภายในองค์กร ระบบค้นหาข้อมูลจากเอกสาร และระบบ AI Chatbot จนถึงระบบ Customer self service ได้

ระบบ AI-Knowledge management

ฟีเจอร์การใช้งานที่น่าสนใจของระบบ AI-Knowledge management

  • การค้นหาข้อมูล และคำตอบอันทรงพลัง : ผู้ใช้งานสามารถค้นหาคำตอบ หรือข้อมูลที่ต้องการจากไฟล์เอกสาร ลิ้งค์เว็บไซต์ คำถาม Q&A หรือข้อมูลอื่นๆ ได้อย่างสะดวก และง่ายดาย เพียงแค่พิมพ์คีย์เวิร์ด หรือคำถามที่ต้องการถาม และระบบ AI-Knowledge management จะแสดงคำตอบที่ต้องการมาให้อย่างแม่นยำ และรวดเร็ว
  • เชื่อมต่อกับ ChatGPT ตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติ : นอกจากจะใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) แล้ว ยังได้เชื่อมต่อกับ ChatGPT เพื่อเพิ่มศักยภาพในวิเคราะห์ และสังเคราะห์การเรียบเรียงคำตอบ และองค์ความรู้ของธุรกิจให้มีความเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เหมือนกับผู้ค้นหาข้อมูลเองนั้นเหมือนกำลังพูดคุย หรือสอบถามกับพนักงานด้วยกัน
  • การจัดเก็บ และแชร์ไฟล์ : ธุรกิจสามารถจัดเก็บไฟล์ต่างๆ ไว้ในระบบ AI-Knowledge management เพื่อรวบรวมไฟล์ และข้อมูลไว้ให้อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อนำข้อมูลไปใช้งานต่อได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว
  • Customization ให้กับแต่ละธุรกิจ : ธุรกิจยังสามารถปรับแต่ง และเพิ่มเติมฟีเจอร์ที่ต้องให้ระบบ AI-Knowledge management ได้เพื่อให้ตอบโจทย์กับการทำงานของธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ฟีเจอร์การให้คะแนน (Point) เพื่อกระตุ้นให้พนักงานเข้ามาเรียนรู้จากข้อมูลที่เพื่อนพนักงานได้แชร์ไว้ในระบบ และกระตุ้นการใช้งานของระบบ โดยที่พนักงานสามารถนำคะแนนมาแลกเป็นของรางวัลต่างๆ ได้ เป็นต้น
  • ต่อยอดเป็น AI Chatbot ได้ : ธุรกิจสามารถนำระบบ AI-Knowledge management มาต่อยอดเป็น AI Chatbot เพื่อใช้ตอบคำถามลูกค้า และพนักงานภายในองค์กรได้แบบเรียลไทม์ เพื่อให้ AI Chatbot ช่วยคัดกรองลูกค้าให้ในเบื้องต้น รวมถึงช่วยจัดการ Transaction บางอย่างให้ได้ ทำให้พนักงานมีเวลาโฟกัสกับเคสของลูกค้าที่มีความซับซ้อนได้มากยิ่งขึ้น

ข้อดี และข้อจำกัดของระบบ AI-Knowledge management

ข้อดี

  • ระบบการค้นหาอันทรงพลัง : ตอบโจทย์ทั้งการค้นหาข้อมูลด้วยคีย์เวิร์ด และการถาม-ตอบ ทำให้การค้นหาข้อมูลภายในองค์กรทำได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และง่ายมากยิ่งขึ้น
  • ระบบการจัดการไฟล์ : นอกจากจะมีระบบการค้นหาที่ตอบโจทย์การทำงานของธุรกิจแล้ว ยังมีระบบการจัดไฟล์ที่ดีที่ทำงานได้เหมือนกับระบบ Shared drive เพื่อให้ธุรกิจใช้ในการจัดเก็บ และแชร์ไฟล์ภายในองค์กร อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลในไฟล์ไปใช้ต่อยอดด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูล หรือการนำข้อมูลไปใช้ต่อได้
  • การเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ : ถึงแม้ว่าระบบ AI-Knowledge management จะเป็นโปรแกรม Standalone แต่สามารถออกแบบระบบให้เชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ของธุรกิจเพื่อให้ขั้นตอนการทำงานเป็นไปอย่างสะดวก และไหลลื่นได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถต่อยอดเป็น AI Chatbot และระบบ Customer self service ได้เช่นกัน
  • ปรับแต่งได้ตามความต้องการของธุรกิจ : ธุรกิจสามารถปรับแต่งฟีเจอร์ได้ตามความต้องการของธุรกิจจากฟีเจอร์มาตรฐานที่มีให้ ทำให้การทำงานมีความยืดหยุ่นได้มากกว่า

ข้อจำกัด

  • การลงทุน : อาจจะมีการลงทุนในช่วงแรกในการพัฒนาระบบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นค่าพัฒนาระบบจะขึ้นอยู่กับ Requirement ของลูกค้า หากต้องการใช้ฟีเจอร์มาตรฐาน และไม่ได้มีการ Customize เพิ่มเติมมากนัก ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบจะไม่ได้สูงมาก และคุ้มค่ากับการลงทุนในระยะยาว
  • ระยะเวลาในการพัฒนาระบบ : หากมีการ Customize ระบบ เช่น การเพิ่มฟีเจอร์บางอย่างเพื่อให้ตอบโจทย์กับการทำงานของธุรกิจ อาจจะต้องใช้เวลาในการพูดคุย และสรุป Requirement รวมถึงเวลาในการพัฒนาระบบที่มากขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการพูดคุย และตกลงกัน

ระบบ AI-Knowledge management เหมาะกับธุรกิจแบบใด

ระบบ AI-Knowledge management เหมาะกับธุรกิจขนาดกลาง และขนาดใหญ่ที่กำลังมองหาระบบจัดการความรู้ขั้นสูง หรือเต็มรูปแบบไปใช้งานกับธุรกิจ ซึ่งนอกจากธุรกิจจะใช้ระบบ AI-Knowledge management ในการจัดเก็บไฟล์ และข้อมูลแล้ว ยังต้องการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ต่อยอดในการค้นหาข้อมูล หรือคำตอบที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลได้เป็นอย่างมาก รวมทั้งสามารถนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดในด้านต่างๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ของการให้บริการลูกค้า และการนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ

สรุปการใช้งาน Sharepoint / Google Workspace / ระบบ AI-Knowledge management

หัวข้อSharepointGoogle Workspaceระบบ AI-Knowledge management
1. การทำงานร่วมกัน
– เชื่อมต่อกับโปรแกรมของ Microsoft อื่นๆ ได้
-เชื่อมต่อกับโปรแกรมของ Google อื่นๆ ได้-Standalone program ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล หรือไฟล์ที่ต้องการภายในองค์กร
2. การจัดการไฟล์– จัดการไฟล์ระหว่าง Sharepoint และ Onedrive ได้
– จัดการไฟล์เอกสารใน Document library กำหนด เวอร์ชัน และสิทธิ์ในการเข้าถึงได้
– จัดการไฟล์ใน Google drive– จัดการไฟล์ในระบบ AI-Knowledge management
3. ความสามารถในการค้นหา– ความสามารถในการค้นหาที่จำกัด
– ไม่มีการจัดหมวดหมู่ของไฟล์ข้อมูลให้เป็นระบบ
– ความสามารถในการค้นหาที่จำกัด
– ไม่มีการจัดหมวดหมู่ของไฟล์ข้อมูลให้เป็นระบบ
– ระบบการค้นหาอันทรงพลัง
– รองรับทั้งการค้นหาด้วยคีย์เวิร์ด และคำถาม-คำตอบ
4. Customizationฟีเจอร์มาตรฐานฟีเจอร์มาตรฐาน– ฟีเจอร์มาตรฐาน
– สามารถ Customize ฟีเจอร์เพิ่มเติมได้ตามความต้องการของแต่ละธุรกิจ
5. การใช้งานเหมาะกับการใช้งานภายในองค์กรเหมาะกับการใช้งานภายในองค์กรใช้งานได้ทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กร

รู้จักกับ aiKMS ตัวช่วยสำคัญในการจัดการ และค้นหาข้อมูลความรู้ภายในองค์กร

AIGEN ได้พัฒนาระบบ AI-Knowledge management ตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการยกระดับการค้นหาข้อมูลภายในองค์กรให้ทำได้อย่างสะดวก และรวดเร็วได้มากยิ่งขึ้น ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี NLP และ AI-OCR ทำให้สามารถประมวลผล และแปลงข้อมูลที่อยู่ในไฟล์เอกสาร หรือลิ้งค์ URL ต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ในการค้นหาต่อได้อย่างสะดวก และสามารถตอบคำถามได้อย่างเป็นธรรมชาติด้วยความสามารถของเทคโนโลยี NLP และ ChatGPT เพื่อให้พนักงานสามารถนำข้อมูลไปใช้งานต่อได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

รวมทั้งยังสามารถเทรนโมเดล AI ให้สามารถข้อมูลเฉพาะของแต่ละธุรกิจได้ โดยที่ธุรกิจสามารถนำระบบ AI-Knowledge management ไปเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของธุรกิจเพื่อใช้ในการตอบคำถามลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น เพียงแค่อัปโหลดข้อมูลของธุรกิจผ่านระบบหลังบ้าน หรือ Content management system ก็พร้อมใช้งานได้โดยทันที และยังมาพร้อมกับฟีเจอร์การใช้งานที่ครบครัน อำนวยความสะดวกให้กับการทำงานของธุรกิจยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น

  • รองรับการอัปโหลดไฟล์ได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น ไฟล์ PDF, Word, Question & Answer (ไฟล์ Excel) และลิ้งค์ URL เว็บไซต์
  • ประมวลผลข้อมูล และเรียนรู้ข้อมูลที่มีอยู่ในระบบด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อนำไปใช้ในการเลือกแสดงผลคำตอบที่ดีที่สุดเวลาที่ผู้ใช้งานเข้ามาพิมพ์ค้นหาข้อมูลที่ต้องการ
  • รองรับการค้นหาทั้งแบบ Keyword search และการถาม-ตอบได้ตามบริบทที่ผู้ใช้งานพิมพ์สอบถามมา
  • เชื่อมต่อกับ ChatGPT เพื่อให้สามารถตอบคำถามด้วยภาษาที่สละสลวยได้มากยิ่งขึ้น
  • แสดงที่มาของข้อมูล เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกข้อมูลที่ดีที่สุดได้
  • ระบบ Content management system ที่ทำให้ธุรกิจสามารถจัดการข้อมูลได้อย่างง่ายดาย และสะดวก

เลือกโซลูชัน Knowledge management ที่ตอบโจทย์กับธุรกิจของคุณ

ธุรกิจสามารถเลือกเครื่องมือในการจัดการความรู้ หรือระบบ Knowledge management ที่ตอบโจทย์กับขั้นตอนการทำงานของธุรกิจ เพื่อให้การจัดการข้อมูลภายในองค์กรทำได้อย่างสะดวก และรวดเร็วได้มากยิ่งขึ้น รวมถึงหากต้องการเครื่องมือในการจัดการความรู้ขั้นสูง เพื่อนำไปใช้ในการจัดเก็บข้อมูล และต่อยอดด้วยการนำไปใช้ในการค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำ สามารถนำระบบ AI-Knowledge management ไปใช้งานเพื่อสร้างความได้เปรียบในการนำข้อมูลไปใช้ต่อยอดในด้านต่างๆ ได้

หากธุรกิจของคุณกำลังมองหาระบบ AI-Knowledge management ไปใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถให้กับการค้นหาข้อมูลภายในองค์กรของคุณ ผู้เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การออกแบบขั้นตอนการทำงาน จนถึงการนำระบบ AI-Knowledge management ไปใช้งานให้ประสบผลสำเร็จ ติดต่อเพื่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่

AIGEN Live chat