Share

เลือกระดับการยืนยันตัวตนให้ตอบโจทย์ธุรกิจด้วย IAL และ AAL

ในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การทำธุรกรรมต่างๆ เป็นเรื่องที่สะดวก และง่ายดายมากยิ่งขึ้น เพียงแค่มีสมาร์ตโฟน คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต ทุกคนก็สามารถทำธุรกรรมผ่านทางออนไลน์ได้โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปติดต่อที่สาขาของธุรกิจ ซึ่งก่อนที่เราจะทำธุรกรรมต่างๆ ได้ผ่านทางอุปกรณ์ต่างๆ นั้นแน่นอนว่าต้องทำการยืนยันตัวตนเพียงพิสูจน์ และยืนยันว่าเราเป็นบุคคลคนเดียวกันกับข้อมูลที่เราได้กรอกเข้าไปเพื่อสมัครใช้บริการของธุรกิจต่างๆ ซึ่งแต่เดิมขั้นตอนการยืนยันตัวตนนั้นลูกค้าจะต้องเดินทางไปติดต่อที่สาขาของธุรกิจ เพื่อกรอกใบสมัคร ยื่นเอกสาร และยืนยันตัวตนกับพนักงานเท่านั้น

แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้ลูกค้าทำการยืนยันตัวตนออนไลน์ได้เองผ่านทางสมาร์ตโฟน และอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้ลูกค้าสามารถสมัครเข้ามาใช้งานบริการของธุรกิจได้อย่างสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งแต่ละธุรกิจเองนั้นจะมีระดับของการยืนยันตัวตนที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่ประเภทของธุรกิจ ข้อกำหนด และความเสี่ยงของการทำธุรกรรม โดยที่การยืนยันตัวตนออนไลน์เองนั้นไม่ได้จำกัดว่าสามารถนำไปใช้ได้กับธุรกิจการเงิน และธนาคารเท่านั้น ธุรกิจประเภทอื่นๆ สามารถนำการยืนยันตัวตนออนไลน์ไปใช้งานได้เช่นกัน เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมของลูกค้า ในบทความนี้ AIGEN จะมาแนะนำวิธีการเลือกระดับของการยืนยันตัวตนให้ตอบโจทย์กับแต่ละความต้องการของธุรกิจ

บริการยืนยันตัวตน e-KYC สำหรับธุรกิจ

บริการระบบยืนยันตัวตนออนไลน์ (eKYC) สำหรับธุรกิจคืออะไร

บริการระบบ e-KYC สำหรับธุรกิจ คือบริการระบบการยืนยันตัวตนออนไลน์สำเร็จรูป ที่ธุรกิจสามารถนำไปเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของธุรกิจที่มีอยู่ได้โดยทันทีผ่านทางลิงก์ URL ที่ธุรกิจสามารถเรียกใช้งานเพื่อส่งให้ลูกค้าดำเนินการ e-KYC ที่หน้าของผู้ให้บริการ e-KYC ได้ด้วยตนเอง และผลการยืนยันตัวตนจะถูกนำส่งให้ธุรกิจเพื่อนำไปใช้ดำเนินการต่อไป ทำให้ User Journey ของผู้ใช้บริการเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่น โดยผู้ใช้งานสามารถกลับไปใช้งานในแอปพลิเคชันเดิมต่อได้โดยทันทีหลังจากทำ e-KYC เสร็จ

โดยบริการระบบ AI-Powered e-KYC Gateway หรือระบบ e-KYC สำหรับธุรกิจนั้นทำให้เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันสามารถเพิ่มฟีเจอร์การยืนยันตัวตนได้โดยที่ไม่ต้องพัฒนาโปรแกรมขึ้นเอง ช่วยประหยัดเวลาในการพัฒนาแอปพลิเคชัน และทำให้การยืนยันตัวตนเพื่อเข้าใช้งานบริการและการทำธุรกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจทำได้แบบอัตโนมัติ โดยที่ลูกค้าสามารถทำการยืนยันตัวตนได้ด้วยตนเอง ยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ และสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานด้วยบริการที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

สิ่งที่ต้องใช้ในการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล

ในการนำขั้นตอนการยืนยันตัวตนออนไลน์ หรือ e-KYC ไปใช้งานกับธุรกิจนั้น จะมีกระบวนการเกี่ยวข้องกับการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ธุรกิจต้องเตรียมพร้อม ไม่ว่าจะเป็น

  • กระบวนพิสูจน์ตัวตนที่เป็นการรวบรวม และตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับอัตลักษณ์ และตรวจสอบความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลกับข้อมูลอัตลักษณ์นั้น ตัวอย่างเช่น การสแกนใบหน้าเพื่อเทียบกับรูปถ่ายในบัตรประชาชนว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันจริงหรือไม่
  • กระบวนการสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงอัตลักษณ์ของบุคคลที่ผ่านการพิสูจน์ตัวตนแล้วเข้ากับสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน และการบริหารจัดการการยืนยันตัวตนนั้น ตัวอย่างเช่น การให้ลูกค้าถ่ายรูปใบหน้า และบัตรประชาชน เพื่อทำการเปรียบเทียบใบหน้า รวมไปถึงการสแกนลายนิ้วมือ
  • กระบวนการยืนยันตัวตน โดยเป็นขั้นตอนในการตรวจสอบสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน เพื่อยืนยันอัตลักษณ์ของบุคคลที่ใช้สิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน

โดยขั้นตอนทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องเตรียมให้พร้อมหากต้องการใช้การยืนยันตัวตนออนไลน์กับการทำธุรกรรมของธุรกิจ ซึ่งมีความยุ่งยาก และต้องใช้ทรัพยากรในการพัฒนาระบบเหล่านี้ค่อนข้างมาก และหากธุรกิจไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี และไม่มีบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้โโยเฉพาะ การมองหาผู้ให้บริการ e-KYC  ที่มีระบบ e-KYC สำเร็จรูปพร้อมใช้งานให้เข้ามาช่วยดูแล วางแผน จนถึงการนำระบบยืนยันตัวตนออนไลน์มาใช้กับธุรกิจเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ธุรกิจได้เป็นอย่างดี ทำให้ธุรกิจประหยัดเวลาในการพัฒนาระบบ และทำให้ธุรกิจมีเวลาโฟกัสกับสิ่งที่เป็น Core business หลักได้มากยิ่งขึ้น

วิธีการเลือกระดับของ IAL และ AAL ให้ตอบโจทย์กับธุรกิจ

ETDA หรือสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้ออกข้อกำหนด และจัดทำมาตรฐานเกี่ยวกับการนำ Digital ID เพื่อให้ธุรกิจได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการออกแบบ และนำระบบการยืนยันตัวตนออนไลน์ไปใช้ให้เหมาะสม และตอบโจทย์กับแต่ละธุรกรรมของธุรกิจ ซึ่งสามารถอ้างอิงได้จากระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี  (Identity Assurance Level หรือ IAL) และระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Assurance Level หรือ AAL)

รู้จักกับระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี หรือ Identity Assurance Level (IAL)

ระดับ IAL (Identity Assurance Level) คือระดับความเข้มงวดในกระบวนการพิสูจน์ตัวตนของผู้สมัครใช้บริการของธุรกิจ ทำให้ธุรกิจมั่นใจได้ว่าผู้ที่สมัครใช้บริการนั้นเป็นบุคคลเดียวกันกับข้อมูลที่ได้กรอกเข้ามาในระบบ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงตัวตน หรือการสวมสิทธิ์ ซึ่งจะช่วยลดโอกาสของการพิสูจน์ตัวตนผิดพลาดได้ โดยเกณฑ์ในการเลือกใช้ระดับ IAL นั้นจะขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละประเภทธุรกิจ และประเภทของการทำธุรกรรม รวมไปถึงความเสี่ยงในการทำธุรกรรม การเลือกระดับ IAL ที่เหมาะสมกับประเภทการทำธุรกรรมของธุรกิจจะช่วยลดโอกาสของการพิสูจน์ตัวตนผิดพลาดได้เป็นอย่างมาก โดยที่ ETDA ได้แบ่งระดับความเข้มงวดในกระบวนการพิสูจน์ตัวตนของผู้สมัครใช้บริการไว้ 3 ระดับ ได้แก่

ระดับ IAL 1 : ข้อมูลที่ผู้สมัครยืนยันด้วยตนเอง (Self-asserted)

ระดับ IAL 1 ถือเป็นระดับพื้นฐานของการยืนยันตัวตนออนไลน์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับย่อย ได้แก่

  • IAL 1.1 : ธุรกิจไม่ได้มีการตรวจสอบข้อมูล หรือหลักฐานการแสดงตนของลูกค้า หรือผู้ใช้บริการ โดยให้ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการเป็นคนยืนยันข้อมูลของตนเอง
  • IAL 1.2 : ขอหลักฐานแสดงตนจากลูกค้า หรือผู้ใช้บริการ ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง
  • IAL 1.3 : ขอแสดงหลักฐาน คือบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางจากลูกค้า หรือผู้ใช้บริการ ซึ่งอาจจะเป็นการถ่ายรูป และอัปโหลดบัตรประชาชนเข้ามาในระบบของธุรกิจ แต่ไม่ได้มีการตรวจสอบกับแหล่งที่มาของหลักฐาน เช่น กรมการปกครอง หรือผู้ให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ  โดยปกติแล้วระดับ IAL 1.3 นั้นธุรกิจมักจะเพิ่มให้ขั้นตอนลูกค้า หรือผู้ใช้งานถ่ายเซลฟี่ใบหน้า เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับรูปถ่ายในบัตรประชาชนว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันจริงหรือไม่
ธุรกิจประเภทใดเหมาะกับระดับ IAL 1

รูปแบบการยืนยันตัวตนระดับ IAL 1 นั้นเหมาะกับธุรกิจที่ต้องการยกระดับความปลอดภัยในการสมัคร หรือลงทะเบียนเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน หรือบริการต่างๆ ของธุรกิจเพื่อยืนยันว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับข้อมูลที่ได้กรอกเข้ามาในระบบ ทำให้ลูกค้า หรือผู้ใช้งานมีความมั่นใจในการใช้งานแอปพลิเคชัน หรือบริการต่างๆ มากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการเปลี่ยนจากวิธีการยืนยันตัวตนแบบเดิมที่ผู้ใช้งาน หรือลูกค้าต้องเดินทางไปที่สาขา หรือพกเอกสารต่างๆ เพื่อยืนยันตัวตน ให้เป็นการยืนยันตัวตนแบบดิจิทัลที่ใช้การสแกนใบหน้าเพื่อเทียบกับรูปถ่ายในบัตรประชาชน อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้ายุคใหม่ และสร้างความแตกต่าง และภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจ ธุรกิจที่สามารถนำการยืนยันตัวตนระดับ IAL 1 ไปใช้งาน ได้แก่

  • ธุรกิจแพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชัน ที่ต้องการยืนยันตัวตนผู้ทำการล็อกอินเข้าใช้งาน
  • ธุรกิจการศึกษาออนไลน์ ที่ต้องการยืนยันตัวตนผู้เข้าเรียนหรือเข้าสอบออนไลน์ ป้องกันการทุจริต
  • ธุรกิจซื้อขายทองออนไลน์ ที่ต้องมีหลักฐานการยืนยันตัวตน ตามข้อบังคับป้องกันการฟอกเงิน
  • ธุรกิจการขายสินค้าผ่านตัวแทนจำหน่าย ที่ให้ตัวแทนจำหน่ายมาลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนในการสั่งซื้อสินค้า
  • หน่วยงานภาครัฐ สำหรับการยืนยันตัวตนเพื่อรับสิทธิ์สวัสดิการของรัฐ
  • ธุรกิจประเภทอื่นๆ ที่ต้องการยกระดับการทำ Customer onboarding
  • ธุรกิจ E-Wallet ที่เป็นการทำธุรกรรมมีความเสี่ยงระดับต่ำ เช่น การสมัครเข้าใช้บริการ E-wallet

ระดับ IAL 2 : มีการแสดงหลักฐานแสดงตน + ตรวจสอบหลักฐานแสดงตน

การยืนยันตัวตนระดับ IAL 2 นั้นจะเพิ่มระดับความเข้มข้นในการยืนยันตัวตนเข้ามา เหมาะกับธุรกรรมที่มีความเสี่ยงระดับกลาง และสูง ซึ่งระดับ IAL แบ่งออกเป็น 3 ระดับย่อย  โดยจะธุรกิจจะต้องดำเนินการดำเนินการยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ หรือลูกค้าตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้

  • ระดับ IAL 2.1
    • แสดงตนแบบพบหน้า หรือผ่านแอปพลิเคชัน หรือ Kiosk
    • ตรวจสอบหลักฐานแสดงตนกับ “ผู้ให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ” โดยการใช้เครื่องอ่านบัตร (Dip chip) เพื่อตรวจสอบว่าเป็นบัตรแท้ และเปรียบเทียบข้อมูลผู้สมัครกับข้อมูลในชิป
    • ตรวจสอบบุคคล จากลักษณะที่ปรากฎกับรูปถ่ายจากหลักฐานแสดงตน
    • ตรวจสอบช่องทางการติดต่อ เช่น อีเมล และเบอร์โทรศัพท์ เพื่อยืนยันการลงทะเบียน
  • ระดับ IAL 2.2
    • แสดงตนแบบพบหน้า หรือผ่านแอปพลิเคชัน หรือ Kiosk
    • ตรวจสอบหลักฐานแสดงตนกับ “ผู้ให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ” โดยการใช้เครื่องอ่านบัตร (Dip chip) เพื่อตรวจสอบว่าเป็นบัตรแท้ และเปรียบเทียบข้อมูลผู้สมัครกับข้อมูลในชิป รวมถึงตรวจสอบสถานะบัตรแบบออนไลน์
    • ตรวจสอบบุคคล จากลักษณะที่ปรากฎกับรูปถ่ายจากหลักฐานแสดงตน
    • ตรวจสอบช่องทางการติดต่อ เช่น อีเมล และเบอร์โทรศัพท์ เพื่อยืนยันการลงทะเบียน
  • ระดับ IAL 2.3
    • แสดงตนแบบพบหน้า หรือผ่านแอปพลิเคชัน หรือ Kiosk
    • ตรวจสอบหลักฐานแสดงตนกับ “ผู้ให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ” โดยการใช้เครื่องอ่านบัตร (Dip chip) เพื่อตรวจสอบว่าเป็นบัตรแท้ และเปรียบเทียบข้อมูลผู้สมัครกับข้อมูลในชิป รวมถึงตรวจสอบสถานะบัตรแบบออนไลน์
    • ตรวจสอบบุคคล จากภาพใบหน้า หรือลายนิ้วมือ (Biometrics) กับข้อมูลจากหลักฐานแสดงตน
    • ตรวจสอบช่องทางการติดต่อ เช่น อีเมล และเบอร์โทรศัพท์ เพื่อยืนยันการลงทะเบียน
ธุรกิจประเภทใดเหมาะกับระดับ IAL 2

การยืนยันตัวตนในระดับ IAL 2 เหมาะกับประเภทธุรกรรมที่มีความเสี่ยงระดับกลางขึ้นไป สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น

  • ธุรกิจการเงิน และธนาคาร กับการทำธุรกรรมที่มีความเสี่ยงระดับกลาง
  • ธุรกิจประกัน กับการซื้อผลิตภัณฑ์หรือการทำเคลมที่มีความเสี่ยงระดับกลาง ไม่ว่าจะเป็นการชำระเบี้ยประกันแบบอิเล็กทรอนิกส์ และการคืนเบี้ยประกันให้กับลูกค้า
  • ธุรกิจสินเชื่อออนไลน์ กับผู้สมัครขอรับสินเชื่อ หรือทำธุรกรรมที่มีความเสี่ยงระดับกลาง
  • ธุรกิจการสื่อสาร และโทรคมนาคม ที่เป็นการทำธุรกรรมมีความเสี่ยงระดับกลาง เช่น การเปิดเบอร์ใหม่
  • ธุรกิจ E-Wallet ที่เป็นการทำธุรกรรมมีความเสี่ยงระดับกลาง 

ระดับ IAL 3 : มีการแสดงหลักฐานแสดงตน 2 ชิ้น + ตรวจสอบหลักฐานแสดงตน + ตรวจสอบข้อมูลชีวมิติ + พบเห็นเจ้าหน้าที่

การยืนยันตัวตนในระดับ IAL 3 นั้นถือเป็นระดับความเข้มข้นสูงสุด เหมาะกับประเภทธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสูง โดยจะธุรกิจจะต้องดำเนินการดำเนินการยืนยันตัวตนของผู้ใช้บริการ หรือลูกค้าตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้

  • แสดงหลักฐานแสดงตน 2 ชิ้น ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน และพาสปอร์ต
  • แสดงตนแบบพบเห็นต่อหน้า โดยจะเป็นการพบเห็นต่อหน้า หรือการพบเห็นแบบเสมือนผ่านทาง Vdo call
  • ตรวจสอบหลักฐานแสดงตน ได้แก่ บัตรประชาชน และพาสปอร์ตกับผู้ให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
  • ตรวจสอบตัวบุคคล โดยการเปรียบภาพใบหน้า หรือลายนิ้วมือกับข้อมูลจากหลักฐานแสดงตน
  • ตรวจสอบช่องทางการติดต่อ เช่น อีเมล และเบอร์โทรศัพท์ เพื่อยืนยันการลงทะเบียน
ธุรกิจประเภทใดเหมาะกับระดับ IAL 3

การยืนยันตัวตนในระดับ IAL 3 นั้นเหมาะกับธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสูง จำเป็นต้องให้ลูกค้า หรือผู้ที่ต้องการทำธุรกรรมนั้นยืนยันตัวตนกับเจ้าหน้าที่แบบ Face-to-Face หรือผ่านทาง Vdo call ส่วนใหญ่มักจะนำไปใช้กับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน ได้แก่

  • ธุรกิจการเงิน และธนาคาร กับการทำธุรกรรมที่มีความเสี่ยงระดับกลาง เช่น การขอสินเชื่อประเภทต่างๆ
  • ธุรกิจประกัน กับการซื้อผลิตภัณฑ์หรือการทำเคลมที่มีความเสี่ยงระดับสูง
  • ธุรกิจ E-Wallet ที่เป็นการทำธุรกรรมมีความเสี่ยงระดับสูง
มาตรฐานการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ทาง ETDA ได้กำหนดไว้

รู้จักกับระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน หรือ Authenticator Assurance Level (AAL)

ระดับ AAL (Authenticator Assurance Level)หรือระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน คือระดับความเข้มงวดในกระบวนการยืนยันตัวตนของผู้สมัครใช้บริการซึ่งจะช่วยจำกัดโอกาสของการยืนยันตัวตนผิดพลาด ซึ่งจะเป็นกระบวนการที่ต่อจากหลังที่ผู้สมัครใช้บริการ หรือลูกค้าได้ทำการพิสูจน์ตัวตนเรียบร้อยแล้ว และจะเข้าใช้งานแอปพลิเคชัน หรือระบบต่างๆ เพื่อทำธุรกรรม โดยที่ขั้นตอนในส่วนนี้แต่ละธุรกิจสามารถออกแบบได้เองเพื่อให้เหมาะสม และตอบโจทย์กับประเภทของการทำธุรกรรม และพฤติกรรมของลูกค้า โดยที่สามารถใช้ระดับ AAL ที่ทาง ETDA ได้กำหนดไว้เป็นแนวทางในการออกแบบขั้นตอนการใช้งานในส่วนนี้ได้ ซึ่งระดับ AAL นั้นแบ่งเป็นออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

  • ระดับ AAL 1 : การยืนยันตัวตนโดยใช้ปัจจัยเดียว (Single-factor authentication)
  • ระดับ AAL 2 : การยืนยันตัวตนโดยใช้สองปัจจัย (Two-factor authentication)
  • ระดับ AAL 3 : การยืนยันตัวตนโดยใช้สองปัจจัย (Two-factor authentication) โดยต้องมีปัจจัยประเภทอุปกรณ์ และใช้งานการเข้ารหัสลับ (cryptography)

บริการระบบ AI-Powered e-KYC Gateway ระบบยืนยันตัวตนออนไลน์สำหรับธุรกิจ จาก AIGEN

AIGEN ได้พัฒนาระบบ e-KYC สำหรับธุรกิจ บริการระบบการยืนยันตัวตนออนไลน์สำเร็จรูปพร้อมให้ธุรกิจนำไปเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชันของธุรกิจที่มีอยู่ได้โดยทันทีผ่านทาง URL โดยที่ธุรกิจสามารถเรียกใช้งานบริการ e-KYC เพื่อส่งให้ลูกค้าไปทำ e-KYC ที่หน้า AIGEN e-KYC Gateway โดยผลการยืนยันตัวตนจะถูกนำส่งให้ธุรกิจนำไปใช้ดำเนินการต่อไป ทำให้ธุรกิจสามารถเพิ่มฟีเจอร์การยืนยันตัวตนเข้าไปในแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ของธุรกิจเพื่อให้ลูกค้าใช้ในการยืนยันตัวตนได้โดยทันทีโดยที่ไม่ต้องพัฒนาโปรแกรมขึ้นเอง ประหยัดเวลา ยกระดับการให้บริการให้ลูกค้าสามารถยืนยันได้ด้วยตนเอง ช่วยประหยัดเวลาในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์ต่างๆ และสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานด้วยบริการที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย 

โดยบริการระบบe-KYC จาก AIGEN มาพร้อมกับฟีเจอร์การยืนยันตัวตนที่ครบครัน ตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องการนำระบบการยืนยันตัวตนออนไลน์ไปใช้งานได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และรวดเร็ว โดยฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Standalone e-KYC มีดังต่อไปนี้

  • Stand-alone solution หรือเป็นระบบสำเร็จรูปที่ธุรกิจสามารถนำไปเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์เพื่อใช้งานได้โดยทันที
  • ดึงข้อมูลบนบัตรประชาชนได้แบบอัตโนมัติ พร้อมส่งข้อมูลไปตรวจสอบกับฐานข้อมูลของกรมการปกครองได้โดยทันที
  • ระบุตัวตนได้แบบอัตโนมัติ
  • ประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว
  • รองรับ Liveness detection
  • แม่นยำสูง
  • ฟีเจอร์การใช้งานที่หลากหลาย
  • เชื่อมต่อกับระบบ Dip chip ได้

พร้อมทั้งเรายังมีผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำปรึกษาในการเลือกใช้รูปแบบการยืนยันตัวตนให้ตอบโจทย์กับธุรกิจ และนำระบบ e-KYC ไปใช้กับธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จด้วยเช่นกัน

ต้องการนำระบบยืนยันตัวตนออนไลน์(e-KYC) ไปใช้งานกับธุรกิจ

ในยุคที่ความปลอดภัยในการทำธุรกรรมออนไลน์เป็นสิ่งที่ลูกค้าให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ระบบ e-KYC บริการยืนยันตัวตนออนไลน์จะเข้ามาช่วยสร้างความมั่นใจในการทำธุรกรรมให้กับลูกค้าของธุรกิจได้เป็นอย่างดี สร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจด้วยบริการที่สะดวก ปลอดภัย และน่าประทับใจ

หากธุรกิจของคุณกำลังมองหาบริการระบบ e-KYC สำหรับธุรกิจไปใช้งาน เพื่อยกระดับขั้นตอนการยืนยันตัวตนให้ทำได้บนช่องทางออนไลน์จากทุกที่ และทุกเวลา และยกระดับการทำธุรกรรมให้มีปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ผู้เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษาตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผน การออกแบบขั้นตอนการทำงาน จนถึงการนำระบบ e-KYC  ไปใช้งานให้ประสบผลสำเร็จ ติดต่อเพื่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่

AIGEN Live chat