ระบบ Face Recognition ทางเลือกใหม่เพื่อการยกระดับความปลอดภัย
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความปลอดภัย (Security) เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดสำหรับภาคธุรกิจ เพราะหากธุรกิจใดมีระบบหรือโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่ปลอดภัย ก็อาจจะเสี่ยงต่อการถูกแทรกแซงได้ง่าย ส่งผลให้เกิดความเสียหายในเชิงธุรกิจตามมาได้ อีกทั้งยังทำให้ภาพลักษณ์องค์กรมีความไม่น่าเชื่อถืออีกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน นั่นจึงทำให้ภาคธุรกิจได้นำระบบการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า (Face Recognition) เข้ามาปรับใช้ เพราะนวัตกรรมในด้านนี้เป็นหนึ่งในสุดยอดเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบมาเพื่อยกระดับความปลอดภัยให้กับภาคธุรกิจโดยเฉพาะ
สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่กำลังตัดสินใจว่าจะนำระบบ Face Recognition มาใช้ในองค์กร วันนี้ เราจะพาทุกคนไปเจาะลึกว่าระบบนี้ คืออะไร? ใช้ในงานทางด้านใดได้บ้าง? แบบละเอียดเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ที่นี่
ระบบ Face Recognition คืออะไร?
Facial Recognition คือ ระบบความปลอดภัยที่ผสมผสานนวัตกรรมขั้นสูง อย่าง Biometrics และเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งมีความแม่นยำในการจดจำและระบุตัวตน (Identification) มาใช้ในการจำแนก แยกแยะลักษณะต่าง ๆ บนใบหน้าของมนุษย์ ด้วยวิธีการเปรียบเทียบและวิเคราะห์องค์ประกอบและเอกลักษณ์ต่าง ๆ บนหน้าในฐานข้อมูล โดยการทำงานของระบบยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าจะประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
1. การตรวจจับใบหน้า (Face Detection) เพื่อค้นหาใบหน้าจากข้อมูลที่ได้รับมาและนำไปวิเคราะห์และประมวลผลในขั้นตอนถัดไป
2. การจดจำใบหน้า (Face Recognition) โดยจะนำภาพใบหน้าที่ได้จากขั้นตอนที่หนึ่ง มาประมวลผลและเปรียบเทียบกับใบหน้าในฐานข้อมูล (Database) ไม่ว่าจะเป็น หน้าผาก คิ้ว ตา จมูก ปาก คาง โครงหน้า องศาการทำมุม รวมถึงระยะห่างของอวัยวะต่าง ๆ บนใบหน้าอย่างละเอียด เพื่อยืนยันว่าใบหน้าที่ตรวจจับนั้น ถูกต้องและตรงกับบุคคลในฐานข้อมูลจริง ๆ หรือไม่
ซึ่งมีงานวิจัยในปีพ.ศ. 2563 จากหน่วยงานด้านการสืบราชการลับความมั่นคงของประเทศแคนาดา (Centre for Strategic and International Studies: CSIS) รายงานว่าความถูกต้องแม่นยำจากการระบุตัวตนผ่านระบบ Facial Recognition นั้นสูงถึง 99.97% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญ
ระบบ Face Recognition ใช้ในงานด้านใด?
ปัจจุบันนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า ระบบยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า Face Recognition มีการใช้งานอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยเองเพื่อเพิ่มความปลอดภัยทั้งในภาคธุรกิจและชีวิตประจำวันซึ่งอยู่ใกล้กับตัวเราเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น งานทั้ง 4 ด้าน ดังต่อไปนี้
งานเฝ้าระวังและป้องกันอาชญากรรม
รู้หรือไม่? ว่าระบบการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าถูกนำมาใช้ในงานด้านการเฝ้าระวังและป้องกันอาชญากรรม ไม่ว่าจะเป็น
- การตรวจสอบการเข้าออกสถานที่ อย่าง ออฟฟิศ หน่วยงานราชการ
- การตรวจสอบสิทธิ์ในการเข้าเขตหวงห้าม อย่าง ห้องควบคุม ห้องบัญชีและการเงิน ห้องเก็บเอกสารสำคัญ พื้นที่สำหรับเก็บทรัพย์สินสำคัญในธนาคารและห้องสต็อกสินค้า เป็นต้น
- การตรวจสอบและให้บริการในพื้นที่สนามบิน ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.)
- การตรวจจับคนร้ายหรือบุคคลต้องห้ามด้วยระบบ Face Recognition ผ่านกล้อง CCTV
ซึ่งหากมีบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูล ผู้บุกรุก หรือคนร้ายเข้ามาในพื้นที่ที่ใช้ระบบดังกล่าว จะมีการแจ้งเตือนทันที และเป็นการตอบโจทย์ด้านความปลอดภัยในความมั่นคงอย่างยิ่ง
การติดตามการเข้าชั้นเรียน
ระบบยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า Face Recognition ยังถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูล (Data Record) ของนักเรียนหรือนักศึกษาในชั้นเรียนได้อีกด้วย หรือที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Face Recognition-Based Mobile Automatic Classroom Attendance Management ซึ่งเป็นระบบการจัดการการยืนยันตัวตนของผู้เข้าชั้นเรียนแบบอัตโนมัติผ่านโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ตโฟน
ยิ่งในยุคสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ สามารถตรวจสอบการเข้าเรียนของนักเรียนได้ผ่านทางแอปพลิเคชันและซอฟต์แวร์การเรียนออนไลน์ต่าง ๆ เพียงแค่เชื่อมต่อกับระบบ API ยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า
โดยข้อมูลต่าง ๆ จะถูกส่งไปยังฐานข้อมูลของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยแบบเรียลไทม์ โดยที่ผู้สอนไม่ต้องส่งข้อมูลแบบ Manual ให้เกิดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนอีกต่อไป ยิ่งกว่านั้น ครู อาจารย์และผู้ปกครองยังสามารถตรวจสอบได้ว่า นักเรียนหรือนักศึกษาได้เข้าห้องเรียนหรือไม่ หรือเข้าเรียนเป็นจำนวนกี่ครั้ง ได้อย่างสะดวกสบายอีกด้วย
อีกทั้งยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับคอร์สเรียนออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อเช็คว่าผู้เข้าเรียนเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ที่สมัครเรียนหรือไม่ ซึ่งจะส่งผลต่อการออก Certificate เมื่อเรียนคอร์สออนไลน์จบ
การให้บริการธุรกรรมทางการเงินออนไลน์
อย่างที่ทราบกันดีว่าสมัยก่อน อาชญากรรมทางการเงินภายในประเทศไทยเกิดขึ้นในช่วงที่มีแอปพลิเคชันทางการเงินออกมาใหม่ ๆ เนื่องจากมีผู้ที่ฉวยโอกาสแอบอ้างเปิดบัญชีหรือทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์โดยอาศัยช่องโหว่ด้านความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน
แต่หลังจากที่มีการนำเทคโนโลยี API ยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าเข้ามาใช้งานในการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันของสถาบันการเงินต่างๆ ในขั้นตอนการยืนยันตัวออนไลน์เพื่อยกระดับความปลอดภัย ส่งผลให้อาชญากรรมทางการเงินออนไลน์ลดลงอย่างมาก ที่สำคัญยังเป็นการยกระดับประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า (Customer Experience) ให้มีความสะดวกสบาย และไม่ต้องคอยกังวลถึงความไม่ปลอดภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้อีกด้วย
การใช้งานสมาร์ตโฟนและใช้งานแอปพลิเคชัน
และอีกหนึ่งด้านที่ระบบ API ยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า (Facial Recognition) และลายนิ้วมือ (Finger Scan) มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก คือ การใช้งานบนสมาร์ตโฟนเพื่อปลดล็อกหน้าจอ อย่าง iPhone ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนามาถึง iOS 15.4 ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการสแกนใบหน้า (Face ID) และสามารถรองรับกับการสแกนหน้าผ่านหน้ากากหรือมาส์กได้อย่างชาญฉลาดอีกด้วย
ท้ายที่สุดนี้ เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าระบบ Face Recognition มีการนำมาใช้งานหลากหลายรูปแบบซึ่งช่วยพัฒนาและยกระดับงานด้านต่าง ๆ ให้ปลอดภัย สะดวกสบายและเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่สนใจใช้ระบบยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าเพื่อยกระดับความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานธุรกิจและต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ทีมผู้เชี่ยวชาญของ AI GEN พร้อมให้คำปรึกษาและหาโซลูชัน AI ที่ตอบโจทย์ความต้องการกับธุรกิจของคุณ ติดต่อเลยได้ที่นี่
ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้าน AI อัจฉริยะ พร้อมช่วยขับเคลื่อนการทำงานของธุรกิจ มีประสบการณ์ให้บริการโซลูชัน AI เพื่อองค์กรระดับประเทศมากมาย