Biometrics คืออะไร? สำคัญแค่ไหนในแอปพลิเคชันทางธุรกิจ
การทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน Mobile Banking จำเป็นต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อป้องกันการถูกขโมยเงินในบัญชีจากผู้ที่ไม่หวังดี ซึ่งระบบการยืนยันตัวตนที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และถูกนำมาปรับใช้กับแอปพลิเคชันในสมาร์ตโฟนในธุรกิจการเงินและธนาคาร นั่นก็คือระบบ Biometrics แต่การยืนยันตัวตนด้วยระบบ Biometrics ที่ว่านี้คืออะไร? ทำไมถึงสามารถช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับแอปพลิเคชันของธุรกิจต่าง ๆ ได้ บทความนี้มีคำตอบมาให้แล้ว
การยืนยันตัวตนด้วย Biometrics คืออะไร?
ถึงแม้คำว่า Biometrics จะถูกใช้อย่างแพร่หลายในการยืนยันตัวตน และการรักษาความปลอดภัย แต่หลาย ๆ คนอาจยังไม่รู้จักดีว่าการยืนยันตัวตนด้วย Biometrics ว่าคืออะไร และมีที่มาที่ไปอย่างไร
Biometrics หมายถึงข้อมูลทางสรีระของมนุษย์ เป็นลักษณะเฉพาะทางกายภาพของมนุษย์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละบุคคลเท่านั้น Biometrics อาจครอบคลุมถึงใบหน้า ดวงตา เสียง ลายนิ้วมือ ลายฝ่ามือ ม่านตา ไปจนถึงเส้นเลือดภายใต้ผิวหนัง และดีเอ็นเอของแต่ละบุคคล
ลักษณะทางกายภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคนเหล่านี้ ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการยืนยันตัวตน ซึ่งจะเป็นการยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลทางชีวภาพส่วนบุคคล (Biometrics Autenthification) โดยอาจใช้ข้อมูลทางชีวภาพของแต่ละบุคคลเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้หลายอย่างร่วมกันในการยืนยันตัวตนก็ได้
การยืนยันตัวตนด้วย Biometrics มีความแม่นยำและมีความปลอดภัยที่สูงมาก โดยเฉพาะการใช้ Biometrics หลายอย่างร่วมกัน เพราะจะทำให้ไม่สามารถปลอมแปลง หรือสวมรอยเป็นบุคคลอื่นได้ ส่งผลให้การยืนยันตัวตนด้วยระบบนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก และถูกใช้ในการรักษาความปลอดภัย ทั้งสำหรับสถานที่อย่างสำนักงานที่ต้องการความปลอดภัยสูง รวมถึงการเข้าใช้โปรแกรมและแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของธุรกิจ
การยืนยันตัวตนด้วย Biometrics มีแบบใดบ้าง?
แม้ว่า Biometrics หรืออัตลักษณ์บุคคลจะมีอยู่หลายรูปแบบ แต่ระบบ Biometrics ที่นิยมและถูกนำมาใช้เป็นเทคโนโลยียืนยันตัวตนบุคคลมากที่สุดมีดังนี้
1. ลายนิ้วมือ (Fingerprint Recognition)
การยืนยันตัวตนด้วยการจดจำลายนิ้วมือ เป็นอัตลักษณ์บุคคลรูปแบบแรก ๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการยืนยันตัวตนด้วย Biometrics และถูกใช้อย่างแพร่หลายจนถึงทุกวันนี้ ให้ความปลอดภัยดีในระดับหนึ่ง มีลักษณะจำเพาะที่ต่างกันประมาณ 40 รูปแบบ แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะถูกปลอมแปลงได้
2. รูม่านตา (Iris Recognition)
การยืนยันตัวด้วยการจดจำรูม่านตา เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการยืนยันตัวตนที่ได้รับความนิยมมากอยู่ช่วงหนึ่งเพราะมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากมีลักษณะจำเพาะที่ต่างกันถึง 266 แบบ ทำให้สามารถปลอมแปลงตัวตนได้ยาก
3. เสียง (Voice Recognition)
การยืนยันตัวตนด้วยระบบจดจำเสียง เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ได้รับความนิยมในการยืนยันตัวตน กับการใช้บริการผ่านทางการโทรด้วยเสียง เช่น การทำธุรกรรมทางการเงินกับ Call Center ของธนาคาร และยังถูกนำไปใช้ในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของโทรศัพท์สมาร์ตโฟนที่สามารถสั่งการด้วยเสียงได้ด้วย
4. โครงสร้างใบหน้า (Face Recognition)
การยืนยันตัวตนด้วยระบบจดจำใบหน้า เป็นรูปแบบการยืนยันตัวตนด้วย Biometrics ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีความปลอดภัยที่สูงมาก เพราะมีอัตราความปลอดภัย 1:1,000,000 เลยทีเดียว โดยระบบจดจำใบหน้าจะทำการวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ของใบหน้า รวมถึงดวงตาอย่างละเอียด อีกทั้งยังสามารถตรวจจับระหว่างคนจริง และรูปภาพได้อีกด้วย
3. ตัวอย่างการยืนยันตัวตนด้วย Biometrics ที่ใช้ในแอปพลิเคชันธนาคาร
เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยียืนยันตัวตนด้วย Biometrics ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เรามาดูตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี Biometrics ในแอปพลิเคชันของธนาคารกันเลย
แอปพลิเคชันของธนาคาร ถือเป็นประเภทของแอปพลิเคชันที่ต้องการความปลอดภัยสูงสุด และต้องมีการยืนยันตัวตนผู้ใช้เสมอก่อนทำธุรกรรมต่าง ๆ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากผู้ไม่หวังดี โดยผู้ที่สร้างสรรค์แอปพลิเคชันได้ทำการออกแบบมาตรการด้านความปลอดภัยในการใช้งานแอปพลิเคชันดังนี้
ขั้นตอนการทำ e-KYC
การทำ e-KYC หรือการทำความรู้จักกับลูกค้า ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นกระบวนการที่ทำให้ธนาคารได้รู้จักและสามารถยืนยันตัวตนลูกค้าของธนาคารได้ รวมถึงสามารถเก็บข้อมูลจากการทำ e-KYC นี้ไว้ใช้ในการเปรียบเทียบ และยืนยันตัวตนผู้ใช้งานในครั้งต่อ ๆ ไปด้วย ซึ่งในกระบวนการนี้มักจะใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าโดยระบบ Face Recognition ควบคู่กับการตรวจสอบใบหน้า และข้อมูลในบัตรประชาชน
ขั้นตอนการล็อกอินเข้าสู่แอปพลิเคชัน
ขั้นตอนการล็อกอินเข้าสู่แอปพลิเคชัน มักใช้การยืนยันตัวตนด้วยรหัสผ่าน ควบคู่กับการยืนยันตัวตนด้วยลายนิ้วมือ หรือการสแกนใบหน้า (ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์มือถือ) เพื่อความปลอดภัย และความสะดวกสบายในการเข้าสู่แอปพลิเคชัน
ขั้นตอนการยืนยันตัวตนก่อนทำธุรกรรม
อีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญ ที่ทุก ๆ แอปพลิเคชันธนาคารจำเป็นต้องมีก็คือ การยืนยันตัวตนผู้ใช้ก่อนทำธุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อาจใช้การสแกนลายนิ้วมือ ควบคู่กับการใช้รหัสผ่าน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ได้มีการเพิ่มมาตรการการยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า หากมีการทำธุรกรรมทางการเงินจำนวนมาก อย่างการโอนเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไปด้วย
ทำไมต้องใช้การยืนยันตัวตนด้วย Biometrics
การรักษาความปลอดภัยด้วยรหัสผ่านเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะใครที่รู้รหัสผ่านก็สามารถเข้ามาทำธุรกรรมของเราได้ และพวกมิจฉาชีพก็สามารถใช้โปรแกรมบางอย่างในการถอดรหัสผ่านได้ด้วยเช่นกัน ทำให้อาจถูกขโมยเงินในบัญชี หรือทำธุรกรรมบางอย่างโดยที่เจ้าของบัญชีไม่ได้รับรู้และไม่ได้ยินยอม ดังนั้นแล้วธนาคารต่าง ๆ จึงจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการรักษาความปลอดภัยด้วยการยืนยันตัวตนด้วย Biometrics ควบคู่กันไปกับการใช้รหัสผ่าน เพื่อผลลัพธ์การทำธุรกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
ยกระดับการยืนยันตัวตนด้วยใบหน้าด้วย AI-Face Recognition จาก AIGEN
ระบบ Face Recognition จาก AIGEN เป็นระบบจดจำใบหน้าที่ทำงานด้วยระบบ AI มีการเรียนรู้ และพัฒนาโมเดล AI อยู่เสมอเพื่อความแม่นยำ และประสิทธิภาพที่ดีที่สุด อีกทั้งยังมีคุณสมบัติอีกมากมายที่ทำให้การนำไปใช้ในแอปพลิเคชันของธุรกิจต่าง ๆ นั้นง่ายดาย และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรองรับ Liveness Detection หรือการเปรียบเทียบรูปถ่ายกับภาพในบัตรประชาชนในฐานข้อมูล นอกจากนี้ยังได้รับการรับรองมาตรฐานสากลจาก NIST ประเทศสหรัฐอเมริกา และมาตรฐานของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) อีกด้วย
หากคุณกำลังมองหาโซลูชันเพื่อเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยบนแอปพลิเคชันของธุรกิจ เลือก aiFace ซึ่งเป็นระบบ AI-Powered Face Recognition จาก AIGEN ในการยืนยันตัวตนผู้ใช้งานผ่านแอปพลิเคชัน สามารถติดต่อเพื่อพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราได้ที่นี่
แหล่งอ้างอิง:
- เปิดวิธี “สแกนใบหน้า” โอนเงินเกิน 5 หมื่นบาทต้องทำอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2566 จาก https://www.prachachat.net/breaking-news/news-1228481
- 5 เทรนด์เทคโนโลยีเสริมความปลอดภัยการทำธุรกรรม. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2566 จาก https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/5-technology-trends-for-secure-activities.html
- Biometric Authentication… รูปแบบการยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลทางชีวภาพส่วนบุคคล. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2566 จาก https://properea.com/biometric-authentication-08-06-2021/
ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้าน AI อัจฉริยะ พร้อมช่วยขับเคลื่อนการทำงานของธุรกิจ มีประสบการณ์ให้บริการโซลูชัน AI เพื่อองค์กรระดับประเทศมากมาย