สรุป: เทคโนโลยี AI แก้ปัญหาการทำงานสำหรับธุรกิจได้อย่างไร?
1. Facial Recognition ยกระดับความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน
มิติแรกที่เทคโนโลยี AI เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวเราทุกคนอย่างมาก คือเรื่องของความปลอดภัยสำหรับการใช้งานแอปพลิเคชัน ซึ่งปัจจุบันนี้ มีแอปพลิเคชันใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเงินและการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันอย่าง Citibank TH, Rabbit Line Pay, เป๋าตังค์, Bitkup และ Binance ซึ่งการนำระบบ API เข้ามาช่วยยืนยันตัวตนด้วยใบหน้า (Facial Recognition) ของผู้ใช้งาน ได้กลายเป็นหนึ่งในโซลูชัน AI สำหรับธุรกิจที่สามารถช่วยให้การระบุ และยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ จึงช่วยยกระดับความปลอดภัย ส่งผลให้อาชญากรรมทางการเงินออนไลน์ลดลง
ที่สำคัญ ยังเป็นการยกระดับประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าให้มีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น จากการที่โซลูชันดังกล่าวช่วยลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน ซึ่งเดิมทีต้องเดินทางไปเข้าคิวและยื่นเอกสารเพื่อดำเนินการทางธุรกรรมเป็นชั่วโมง ซึ่งการยืนยันตัวตนในรูปแบบนี้จะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที โดยที่ลูกค้าสามารถจัดการได้อย่างง่ายดายด้วยตนเองเพียงแค่ปลายนิ้วเท่านั้น
ยิ่งไปกว่านั้น ยังช่วยลดจำนวนพนักงาน (Manpower) ที่เกี่ยวข้องลง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานจัดบัตรคิวและพนักงานด้านเอกสาร จึงส่งผลให้ภาคธุรกิจสามารถประหยัดเม็ดเงินด้านทรัพยากรบุคคลไปโดยปริยาย
2. AI-Powered Optimization A/B testing พัฒนาประสบการณ์การใช้งานบนโลกออนไลน์
หลายคนคงสงสัยว่า A/B testing คืออะไร? A/B testing คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานของลูกค้า (User Experience: UX) ด้วยการทดสอบและเปรียบเทียบว่ารูปแบบที่ 1, 2, 3 … X หรือรูปแบบใดที่จะสามารถมอบประสบการณ์การใช้งานให้แก่ลูกค้า และสร้างรายได้ (Revenue) ให้กับได้ดีที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น หากเราต้องการทราบว่าปุ่มสั่งซื้อที่ใช้คำว่า “ซื้อทันที” หรือ “ซื้อที่นี่” ทำให้ลูกค้าคลิกสั่งสินค้ามากกว่ากัน หรือต้องการทราบว่าบทความที่มีจำนวนคำ 500 คำ 1,000 คำ หรือ 1,500 ทำให้เกิด Conversion มากกว่ากัน เราจะใช้วิธีการทดสอบด้วย A/B Testing ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบของข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative) เพื่อมาวัดกันว่ารูปแบบใดมีประสิทธิภาพดีกว่ากัน
โดยในปัจจุบันนี้ มีผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ได้นำเอาเทคโนโลยี AI เข้ามาผสมผสานและยกระดับประสิทธิภาพให้กับการขั้นตอนการทำงานของ A/B testing จนเกิดเป็นโซลูชัน AI-powered Optimization A/B testing สำหรับการ Optimize การใช้งานบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น หน้าเว็บไซต์ (Web Page), โฆษณาบน Meta (Facebook Ads), รูปแบบการโพสต์บนอินสตาแกรม (Instagram Posts) และอื่น ๆ อีกมากมายให้ดียิ่งขึ้นแบบเรียลไทม์ โดยที่ไม่ต้องเสียเวลานานในการทำ A/B testing แบบเดิม ๆ อีกต่อไป ส่งผลให้ภาคธุรกิจสามารถนำข้อมูลมาพัฒนาต่อได้อย่างตรงจุด
3. AI Chatbot ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าด้วยบริการถาม-ตอบแบบเรียลไทม์
อีกมิติหนึ่งของเทคโนโลยี AI สำหรับธุรกิจที่ใกล้ตัวเราอย่างมากคงหนีไม่พ้น AI Chatbot ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ถูกพัฒนาต่อยอดให้มีความล้ำสมัย ด้วยการนำเอาเทคโนโลยี Natural language processing (NLP) หรือสมองฝั่งภาษาศาสตร์ของมนุษย์เข้ามาประยุกต์ใช้ ส่งผลให้ AI Chatbot สามารถวิเคราะห์ คาดการณ์บทสนทนา และถาม-ตอบได้แบบเรียลไทม์และมีประสิทธิภาพเหมือนกับมนุษย์มากขึ้น
ซึ่งในหลาย ๆ ครั้ง การที่ภาคธุรกิจใหญ่ ๆ หรือองค์กรที่กำลังเติบโตจะสามารถตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าได้ทันที อาจจำเป็นต้องมีพนักงานแอดมิน (Admin) จำนวนมากคอยสแตนด์บายตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ เพื่อตอบคำถามลูกค้า ซึ่งสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือเม็ดเงินที่ต้องลงทุนไปกับทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) นั้นสูงขึ้นตามไปด้วย
จึงเป็นเหตุผลให้หลาย ๆ บริษัททั่วโลกเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยี AI Chatbot สำหรับธุรกิจซึ่งช่วยแก้ปัญหาได้หลากหลายมิติไปพร้อม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็น การแก้ปัญหาที่ลูกค้าต้องรอสายนาน การให้บริการตอบ-ถามลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ ไปจนจบกระบวนการด้านการชำระเงินแบบอัตโนมัติ (End-to-end Process) ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการปิดการขาย (Closing Deals) และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านกำลังคนหรือทรัพยากรมนุษย์อีกด้วย
4. AI-OCR ยกระดับการกรอกข้อมูลจากเอกสารด้วยระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ
และมิติสุดท้ายที่เราจะนำมาเสนอในวันนี้คือ โซลูชัน AI-OCR (Optical Character Recognition) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่มีผู้เชี่ยวชาญด้าน AI พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยส่งเสริมการทำงานสำหรับธุรกิจในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะ โดยเทคโนโลยี AI-OCR นี้สามารถช่วยเปลี่ยนการจัดการข้อมูลจากเอกสารประเภทต่าง ๆ แบบ Manual ให้เป็นรูปแบบอัตโนมัติ ช่วยลดภาระงานเอกสาร ตัดทอนขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนออกไป ส่งผลให้การทำงานทั้งในระดับจุลภาคและมหภาคมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและลื่นไหลมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น ฟังก์ชันการดึงข้อมูลจากเอกสารประเภทต่าง ๆ โดยไม่ต้องใช้คนเสียเวลาพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการเข้าไปในระบบ โดยที่เราสามารถใช้ AI-OCR ในการดึงข้อมูลที่ต้องการ และส่งต่อข้อมูลเข้าไปในระบบต่างๆของบริษัทได้แบบอัตโนมัติ และทำให้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการด้วยการเสิร์ชผ่านระบบได้ภายในไม่ถึงเสี้ยววินาที ที่สำคัญยังช่วยจบปัญหาการจมอยู่ในกองเอกสารจำนวนมาก ที่ทำให้หาข้อมูลได้ยากและล่าช้า ซึ่งตอบโจทย์ภาคธุรกิจในยุค Digital Transformation ที่ต้องอาศัยความรวดเร็วในการบริหารจัดการเป็นอย่างมาก
ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้าน AI อัจฉริยะ พร้อมช่วยขับเคลื่อนการทำงานของธุรกิจ มีประสบการณ์ให้บริการโซลูชัน AI เพื่อองค์กรระดับประเทศมากมาย