สรุป 5 Consumer Trend 2022 ที่ธุรกิจต้องรู้
ในช่วงปีที่ผ่านมาถือเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งในมุมของผู้บริโภค และธุรกิจจากสถานการณ์โควิดที่ยาวนานมาตั้งแต่ปี 2563 ในมุมของผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ สถานการณ์การทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่การทำงานที่บ้าน (Work from home) จนถึงการทำงานในรูปแบบ Hybrid work รวมถึงความคาดหวังที่ได้รับประสบการณ์การให้บริการแบบรายบุคคลมากขึ้นทั้งในการซื้อของออนไลน์ และที่หน้าร้าน ในมุมของธุรกิจเองนั้นมุ่งที่การหาส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างพนักงานที่มีความสามารถ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่จะยกระดับการทำธุรกิจโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ และข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน
หลังจากที่อัตราการฉีดวัคซีน Covid-19 เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก คนจะกลับมาใช้ชีวิตกันแบบปกติแล้วหรือไม่ และเทรนด์ของผู้บริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหนบ้าง ธุรกิจที่รู้ และตระหนักถึงเทรนด์เหล่านี้ทำให้สามารถวางแผนการทำธุรกิจได้อย่างตรงจุดมากขึ้น วันนี้ AI GEN ได้สรุป 5 Consumer Trend 2022 ที่ธุรกิจต้องรู้มาให้ผู้อ่านที่กำลังจะอยู่ในช่วงการวางแผนธุรกิจในปีหน้าได้นำไปเป็นแนวทางในการวางแผนได้
1.Customer journey เริ่มต้นจาก “ฉันต้องการใช้สินค้านี้เมื่อไหร่?”
เริ่มต้นจาก “เมื่อไหร่ที่ลูกค้าต้องการใช้สินค้า” ไม่ใช่เริ่มจาก “ลูกค้าจะซื้อสินค้าได้จากที่ไหน” ถือเป็นจุดเริ่มต้นใหม่ของการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ทำให้การช้อปปิ้งในยุคเศรษฐกิจแบบใหม่นั้นต้องให้ความสำคัญในการทำให้การช้อปปิ้งนั้นสามารถลงล็อคกับตารางเวลาการใช้สินค้าของลูกค้าได้ มากกว่าการที่จะโฟกัสว่าลูกค้าจะซื้อจากช่องทางไหน
ผู้บริโภคในปัจจุบันตั้งคำถามง่ายๆคำถามเดียวกับตัวเองเวลาต้องการจะซื้อสินค้าว่า “ฉันต้องการใช้สินค้าตอนนี้ หรือสามารถรอได้”
ผู้เล่นค้าปลีกรายไหนที่สามารถให้ข้อมูลสต็อกสินค้าคงเหลือ และระยะเวลาในการจัดส่งได้ล่วงหน้า รวมถึงผู้ค้าปลีกที่มีช่องทางการขายหลากหลายช่องทาง (Omni-Channel) ที่สามารถบอกสินค้าคงเหลือภายในร้านได้แบบเรียลไทม์มีแนวโน้มที่จะได้ใจลูกค้า และประสบความสำเร็จในยุคปัจจุบัน
2.การให้ความสำคัญกับความยั่งยืน
การที่จะเป็นคนที่ทำดีเป็นเรื่องซับซ้อนกว่าที่คิด ผู้บริโภคกลับมาตระหนักถึงเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น แต่พวกเขายังต้องมีสิ่งที่ต้องคิดมากขึ้นเมื่อคำนึงถึงเรื่องความยั่งยืน เช่น คุ้มกว่ามั๊ยที่จะเช่าเสื้อผ้าแทนที่จะซื้อ? หรือจะซื้อเสื้อผ้า และค่อยนำไปรีไซเคิล? รถยนต์แบบไหนที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า รถยนต์ไฟฟ้า หรือรถยนต์ไฮบริด
เมื่อผู้บริโภคต้องหาคำตอบให้กับสิ่งที่ต้องคิดเหล่านี้ แบรนด์ และผู้ค้าปลีกสามารถช่วยหาทางออกให้ในเรื่องนี้ให้กับลูกค้าได้ โดยการนำเสนอ Key message ของแบรนด์ที่ตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนให้มีความชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้
3.ให้ความสำคัญ Customer centricity
ธุรกิจจำเป็นต้องมีพื้นที่ outdoor ของตัวเอง ถึงแม้ว่าการปรับตัวทางธุรกิจจะมีความซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ แต่การทำโครงสร้างที่เป็น Open-air และระบบความร้อน รวมถึงระบบแสงสว่างนั้นจะได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าแน่นอน เพราะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันที่ต้องการสถานที่ที่ปลอดภัย และสวยงาม ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักในการดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้บริการ
นอกจากนั้นการชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless payments) การรับสินค้าตามสถานที่ต่างๆ และ Virtual medicine ยังคงได้รับความนิยม โดยการแพร่ระบาดของ Covid-19 เป็นตัวเร่งที่ทำให้นวัตกรรมใหม่ๆได้อย่างรวดเร็ว และการท่องเที่ยวจะเริ่มกลับมาฟื้นตัว แต่ไม่ใช่ในรูปแบบของ Business trip จากรายงานของ McKinsey การเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจจะไม่สามารถฟื้นตัวได้เกิน 80% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโรคระบาด Covid-19
ถ้าธุรกิจของคุณสามารถผลักดันวิธีการ Customer centricity ได้ ให้คิดถึงว่าจะสามารถรักษาวิธีการนี้ไว้อย่างไรเมื่ออัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มสูงขึ้น และจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างเพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจของคุณให้ความสำคัญกับความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ดีของลูกค้า
4.การตระหนักรู้ในตนเองทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่
ในช่วงเดือนเมษายน 64 เพียงเดือนเดียวมีพนักงานในประเทศสหรัฐอเมริกากว่า 4 ล้านคนลาออกจากงาน ตามข้อมูลจากกระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ สถานการณ์ชีวิต และครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญในชีวิตทำให้ผู้คนมองเรื่องอาชีพหรือการทำงานแตกต่างไปจากเดิม Euromonitor ได้กล่าวไว้ใน Wall street journal ว่าจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 เป็นสิ่งที่บังคับให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแนวความคิดเกี่ยวกับการใช้ชีวิต และเป็นการทดสอบการปรับสภาพจิตใจท่ามกลางความเสี่ยงของโรคระบาด และเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ปัจจุบันผู้บริโภคได้ประเมินตัวเองในเรื่องของการจัดลำดับความสำคัญ ตัวตน และ work-life balance
รูปแบบของการช้อปปิ้งเปลี่ยนไปเป็นความต้องการใช้สินค้านั้นเมื่อไหร่ร่วมกับห้างค้าปลีกที่มีรูปแบบเฉพาะของตัวเอง ผู้บริโภคกลับมาให้ความสนใจในเรื่องของความยั่งยืน แต่ก็ยังมีเรื่องให้ต้องคำนึงถึงหลายปัจจัย และการให้ความสำคัญกับ Customer centricity ยังคงดำเนินต่อไปตั้งแต่การรับประทานกลางแจ้ง จนถึงการชำระเงินแบบไร้สัมผัส
เพื่อที่จะสื่อสารถึงกลุ่มผู้บริโภคในยุคปัจจุบันนี้ แบรนด์ หรือธุรกิจจำเป็นต้องเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้บริโภคกำลังคิดอยู่ในหัว และความต้องการเรื่องความสะดวกสบาย และความปลอดภัย แต่แน่นอนว่าสิ่งที่สำคัญคือการดึงดูดผู้บริโภคด้วยหลักการว่าด้วยการพัฒนาตนเอง เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถบรรลุถึงเป้าหมายชีวิตที่ตั้งไว้ได้
5.การช้อปปิ้งเป็นการสร้างประสบการณ์แบบต่อเนื่อง
ผู้บริโภคอยู่ในภาวะของการช้อปปิ้งแบบไม่รู้ตัวตลอดเวลา พวกเขาช้อปขณะที่กำลังเลื่อนดูฟีดใน Instagram หรือ Tiktok หรือช้อปปิ้งในขณะที่อ่านข่าวออนไลน์ รวมถึงช้อปปิ้งในขณะที่กำลังประชุมออนไลน์อยู่ ในโลกยุคเดิมผู้บริโภคมักจะมีจุดมุ่งหมายในการซื้อ โดยการทำลิสต์รายการของที่ต้องการซื้อ และไปซื้อที่ห้างสรรพสินค้า หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตนั้นๆ
จากผลวิจัยพบว่าการบริโภคสื่อเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าในปี 2020 ทำให้จำนวนการคลิกโฆษณามากขึ้นตามไปด้วย การช้อปปิ้งแบบไม่รู้ตัวทำให้นักการตลาดต้องออกแบบ Key messages ที่ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละกลุ่ม นักช้อปบนอินสตาแกรมอาจจะตอบรับกับ Key messages ที่แสดงถึง Brand values ที่ให้แรงบันดาลใจ ในขณะที่ลูกค้าที่พิมพ์ค้นหาใน Search engine สามารถใช้ Key messages ที่ช่วยทำให้เกิด Conversion ได้เลย เช่น คูปองส่วนลด เป็นต้น
ส่งท้ายบทความ…
การติดตามเทรนด์ผู้บริโภคทำให้ธุรกิจสามารถวางแผนกลยุทธ์ได้อย่างตรงจุด และสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็วเมื่อสถานการณ์ภายนอกเปลี่ยนไป นอกจากนั้นการมอง และศึกษาความรู้ต่างๆจากในหลายมุมมองจะช่วยทำให้ธุรกิจสามารถปรับตัวเข้ากับผู้บริโภค และสถานการณ์หลังโรคระบาดโควิด-19 ได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง
ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้าน AI อัจฉริยะ พร้อมช่วยขับเคลื่อนการทำงานของธุรกิจ มีประสบการณ์ให้บริการโซลูชัน AI เพื่อองค์กรระดับประเทศมากมาย