12 เทรนด์กลยุทธ์เทคโนโลยียอดฮิตในปี 2022
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตมนุษย์ในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในภาคธุรกิจเองที่ต้องมีการปรับตัวกันขนานใหญ่เพื่อให้ทันกับพฤติกรรมของผู้บริโภค และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นที่มาที่หลายองค์กรได้ทำ Digital transformation เพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้กับกระบวนการทำงานภายในองค์กรกันอย่างแพร่หลาย
โดยในทุกๆปี Gartner จะมีการระบุถึงเทรนด์เทคโนโลยีที่มีความสำคัญกับธุรกิจ และในปี 2022 นี้ Gartner ได้คาดการณ์ว่า 12 เทรนด์เทคโนโลยีเหล่านี้จะมาเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญให้กับธุรกิจดิจิทัล และนวัตกรรมภายใน 3-5 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งเทรนด์เทคโนโลยีเหล่านี้จะทำให้ CEO และ CIO รวมถึงผู้บริหารทางด้าน IT ของบริษัทต่างๆสามารถที่จะสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงการทำงานให้เป็นดิจิทัล และการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับธุรกิจ แล้ว 12 เทรนด์กลยุทธ์เทคโนโลยีมีอะไรบ้าง? ทำไมเทรนด์เหล่านี้ถึงมีความสำคัญ? หาคำตอบได้ในบทความนี้
อัปเดต! อ่านบทความ 10 เทรนด์เทคโนโลยีที่ธุรกิจต้องเตรียมตัวให้พร้อมในปี 2023
12 เทรนด์เทคโนโลยีที่มีความสำคัญกับธุรกิจในปี 2022
เทรนด์#1 : Data Fabric (โครงข่ายข้อมูล)
เราไม่เคยจะเห็นประโยชน์ และคุณค่าของข้อมูลได้ชัดมากถึงขนาดนี้มาก่อน แต่บ่อยครั้งข้อมูลมักจะยังถูกนำไปใช้แค่เพียงในหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง นั่นหมายถึงว่าไม่ได้มีการนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Data fabric จะรวมข้อมูลที่อยู่ในแต่ละแพลตฟอร์ม และแต่ผู้ละใช้งานเข้าด้วยกัน ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ในเวลาที่ต้องการ
เมื่อเครื่องมือการวิเคราะห์ทำการอ่านชุดข้อมูลทำให้ Data fabric สามารถที่จะเรียนรู้ได้ว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่ถูกนำไปใช้ ประโยชน์ที่แท้จริงของ Data fabric คือความสามารถที่จะให้คำแนะนำสำหรับข้อมูลที่มีจำนวนมากขึ้น มีความแตกต่างกัน และดียิ่งขึ้น ทำให้ลดขั้นตอนได้การจัดข้อมูลได้ถึง 70%
เทรนด์#2 : Cybersecurity Mesh (ตาข่ายความปลอดภัยไซเบอร์)
สินทรัพย์ของธุรกิจดิจิทัลกระจายอยู่บนคลาวด์ และศูนย์เก็บข้อมูล (Data center) ต่างๆ ซึ่งแต่เดิมระบบกระจายรักษาความปลอดภัยจะโฟกัสอยู่แค่เพียงขอบเขตของแต่ละองค์กรเท่านั้น และทำให้เกิดช่องโหว่ในส่วนนี้
โดยระบบ Cybersecurity mesh นั้นทำให้องค์กรมีวิธีการรักษาความปลอดภัยได้อย่างลงตัวไปจนถึงการรักษาความปลอดภัยตามข้อมูลประจำตัวเพื่อสร้างการปรับขนาดและทำงานร่วมกันได้ โครงสร้างที่มีการเชื่อมต่อกันจะทำให้สินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหมดขององค์กรปลอดภัยไม่ว่าจะทำงานจากที่ไหนก็ตาม เพื่อทำให้วิธีการรักษาความปลอดภัยสามารถขยายไปใช้งานได้กับบริการพื้นฐานทาง IT ของบริษัททั้งหมด
เทรนด์#3 : Privacy-Enhancing Computation (เพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลความเป็นส่วนตัว)
ประโยชน์ หรือคุณค่าที่แท้จริงของข้อมูลไม่ได้อยู่ที่ว่าแค่มีข้อมูล แต่อยู่ที่นำข้อมูลไปสร้างเป็นโมเดล AI เพื่อวิเคราะห์ และหา insight จากข้อมูลนั้นได้อย่างไร
วิธี Privacy-Enhancing Computation หรือ PEC ทำให้สามารถแชร์ข้อมูลใน ecosystem ของธุรกิจเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้ในขณะเดียวกันก็ยังปกป้องสิทธิส่วนบุคคลเอาไว้
รูปแบบ หรือวิธีการอาจจะแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่โดยทั่วไปจะรวมถึงการเข้ารหัสข การแยก และการประมวลผลข้อมูลที่ละเอียดอ่อนล่วงหน้า เพื่อที่จะทำให้สามารถจัดการกับข้อมูลได้โดยที่ไม่ประนีประนอมเรื่องข้อมูลที่เป็นความลับ
เทรนด์#4 : Cloud-Native Platforms (แพลตฟอร์ม Cloud-native)
การย้ายงาน หรือแอปพลิเคชันต่างๆบนคลาวด์โฟกัสที่การนำ workload งานในรูปแบบเดิม และนำมาวางไว้บนระบบคลาวด์ และด้วย workload งานในรูปแบบเดิมไม่ได้ถูกออกแบบมาสำหรับการทำงานบนคลาวด์ ทำให้ต้องมีค่าดูแลรักษาเป็นจำนวนมาก และไม่ได้ใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์ได้เต็มที่
แพลตฟอร์ม Cloud-native หรือรูปแบบของการพัฒนาแอปลิเคชั่นยุคใหม่ โดยออกแบบเพื่อรองรับ การประมวลผลในรูปแบบคลาวด์ใช้จุดแข็งในเรื่องของความยืดหยุ่น และการขยายขนาดได้ของระบบคลาวด์เพื่อทำให้ธุรกิจ หรือองค์กรสามารถส่งมอบสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ทำให้ลดการต้องพึ่งพากันของระบบ IT ต่างๆ ส่งผลให้มีเวลาโฟกัสกับการพัฒนาฟีเจอร์การใช้งานของแอปพลิเคชันได้มากยิ่งขึ้น
เทรนด์#5 : Composable Applications (แอปพลิเคชันแบบประกอบแยกส่วน)
ทีมที่มีความแตกต่างกันต้องเจอกับความท้าทายหลากหลายอย่าง เช่น พวกเขาอาจจะขาดทักษะเรื่องการเขียนโค้ด หรือติดกับอยู่กับเทคโนโลยีที่ผิด และมักจะถูกมอบหมายให้ส่งมอบงานด้วยความรวดเร็ว
Composable applications ถูกพัฒนาขึ้นมาจากส่วนประกอบต่างๆที่เน้นความสามารถทางธุรกิจเป็นหลัก หรือซอฟต์แวร์ที่กำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ตัวอย่างเช่น Digital twin หรือแบบโมเดลจำลอง โดยการสร้างส่วนประกอบที่นำมาใช้ซ้ำได้ที่ทีมงานสามารถนำมาประกอบได้เองในการพัฒนาแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ลดเวลาในการนำแอปพลิเคชันออกสู่ตลาดได้
เทรนด์#6 : Decision Intelligence (การตัดสินใจอัจฉริยะ)
การตัดสินใจในแต่ละครั้งมักจะได้รับอิทธิผลมาจากประสบการณ์ และความรู้สึกส่วนตัวเป็นอย่างมาก แต่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรจำเป็นต้องใช้การตัดสินใจที่ดี และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
การตัดสินใจอันชาญฉลาด หรือ Decision Intelligence จะช่วยยกระดับการตัดสินใจขององค์กรโดยการสร้างโมเดลในการตัดสินใจผ่านรูปแบบการคิดในรูปแบบต่างๆ โดยทีมที่ทำงานร่วมกันสามารถจัดการ ประเมิน และพัฒนาการตัดสินใจผ่านทางการเรียนรู้ และฟีดแบค การรวมข้อมูลมาอยู่ในที่เดียวกัน การวิเคราะห์ และระบบ AI ทำให้สามารถสร้างเป็นแพลตฟอร์มการตัดสินใจอันชาญฉลาดที่จะสนับสนุน ขยายความสามารถ และทำให้ตัดสินใจได้แบบอัตโนมัติ
เทรนด์#7 : Hyperautomation (เครื่องมือการทำงานอัตโนมัติ)
เมื่อธุรกิจโฟกัสที่การเติบโตมากขึ้น การทำ Digitalization และ Operation excellence จึงเป็นเรื่องที่องค์กรให้ความสำคัญเพื่อยกระดับการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และทำให้มีการนำระบบอัตโนมัติ (automation) มาใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
Hyperautomation เป็นแนวทางที่ขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อที่จะระบุ ตรวจสอบ และทำให้กระบวนการทางธุรกิจและไอทีเป็นไปโดยอัตโนมัติได้มากที่สุด โดยที่ Hyperautomation จำเป็นต้องใช้การจัดการในการใช้เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มที่หลากหลายเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็น RPA แพลตฟอร์ม low-code และเครื่องมือในการทำ process mining
เทรนด์#8 : AI Engineer (ปัญญาประดิษฐ์ทางวิศวกรรม)
เทคโนโลยี AI ถือว่าได้เป็นโซลูชันที่เป็น Game changer ที่ทำให้องค์กรสามารถได้ออกมาจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ได้อย่างเข้มแข็ง แต่แค่การนำ AI ไปใช้อาจจะไม่สามารถสร้างความแตกต่างได้ องค์กรจำเป็นต้องนำ AI ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
AI Engineering เป็นสาขาวิชาในการจัดการอัพเดทโมเดล AI โดยการใช้ข้อมูลและโมเดลแบบบูรณาการ และแผนการพัฒนาเพื่อที่จะส่งมอบคุณค่าทางธุรกิจที่ได้จาก AI ได้แบบคงเส้นคงวา ซึ่งรวมถึงแผนการอัพเดทแบบอัตโนมัติ และการกำกับดูแลงานทางด้าน AI ที่แข็งแกร่ง
เทรนด์#9 : Distributed Organization (องค์กรแบบกระจายตัว)
องค์กรแบบกระจายตัวเกิดขึ้นมาจาก 2 ปัจจัย ปัจจัยแรกคือการที่พนักงานทำงานจากหลากหลายที่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งทำให้ต้องใช้เครื่องมือในการทำงานที่หลากหลาย และเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น ส่วนปัจจัยที่สองคือจำนวนลูกค้าที่ไม่ได้มาซื้อสินค้าที่หน้าร้านมีจำนวนที่มากขึ้น
องค์กรแบบกระจายตัวเป็นรูปแบบการให้บริการเสมือนจริงในระยะไกลเป็นอันดับแรกเพื่อที่จะทำให้ customer touchpoint อยู่ในรูปแบบดิจิทัล และสร้างประสบการณ์เพื่อรองรับสินค้าและบริการนั้นๆ
เทรนด์#10 : Total experience (การสร้างประสบการณ์แบบองค์รวม)
ประสบการณ์แบบองค์รวมรวมหลักการ 4 อย่างเข้าด้วยกัน ได้แก่ ประสบการณ์ของลูกค้า ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน ประสบการณ์ของพนักงาน และประสบการณ์ที่หลากหลาย เพื่อสร้างส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับทั้งลูกค้า และพนักงาน เป้าหมายของการสร้างประสบการณ์แบบองค์รวมคือการเชื่อมต่อ และยกระดับประสบการณ์เหล่านี้เพื่อสร้างเป็นประสบการณ์โดยรวมที่เป็นองค์รวมมากขึ้นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดขององค์กร
เทรนด์#11 : Autonomic system (ระบบอัตโนมัติขั้นกว่า)
เมื่อองค์กรเติบโตมากขึ้น ระบบการจัดการในรูปแบบเดิมที่ยังเป็นแมนนวลไม่สามารถทำให้ธุรกิจขยายและเติบโตต่อไปได้
ระบบอัตโนมัติเป็นระบบที่สามารถบริหารจัดการกายภาพต่างๆได้ด้วยตัวเอง หรือเป็นระบบซอฟต์แวร์ที่เรียนรู้ได้จากสภาพแวดล้อม แต่จะไม่เหมือนกับระบบ automate หรือ autonomous เพราะระบบ Autonomic system จะสามารถปรับอัลกอริทึ่มต่างๆได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีการอัพเดทซอฟต์แวร์ทำให้ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และสามารถบริหารจัดการกับสภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อนได้
เทรนด์#12 : Generative AI (กำเนิดใหม่ปัญญาประดิษฐ์)
ส่วนใหญ่แล้ว AI ได้รับการฝึกฝนเพื่อให้สร้างข้อสรุป แต่พลังของเทคโนโลยีที่แท้จริงคือความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ด้วยตัวเอง
Generative AI เป็นรูปแบบหนึ่งของ AI ที่เรียนรู้การเป็นตัวแทนดิจิทัลของสิ่งประดิษฐ์จากการใช้ข้อมูลตัวอย่าง และนำไปใช้สร้างเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่เป็นต้นฉบับและเหมือนจริงที่ยังคงไว้ซึ่งความคล้ายคลึงกับข้อมูลที่ใช้การเทรนแต่ไม่นำข้อมูลนั้นมาทำซ้ำ จึงทำให้ Generative AI กลายเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆได้อย่างรวดเร็วสำหรับองค์กรยุคใหม่
ปรับกลยุทธ์เทคโนโลยีเพื่อยกระดับธุรกิจของคุณ
ทุกธุรกิจในปัจจุบันไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเข้ามาของเทคโนโลยีใหม่ๆได้ สิ่งที่ธุรกิจทำได้คือเรียนรู้ และปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการติดตามความเคลื่อนไหว และเทรนด์ของเทคโนโลยีในแต่ละปีจะทำให้ทราบได้ว่าธุรกิจควรต้องมีการปรับเปลี่ยนในเรื่องของเทคโนโลยีอย่างไรบ้างเพื่อให้เพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน
หากธุรกิจของคุณกำลังมองหาโซลูชัน AI ไปใช้งานเพื่อตอบโจทย์กลยุทธ์ทางด้านเทคโนโลยีของธุรกิจ และทำให้กระบวนการทำงานภายในเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ผู้เชี่ยวชาญของ AI GEN ยินดีให้คำปรึกษาการนำโซลูชัน AI ไปใช้กับแต่ละธุรกิจตั้งแต่การให้คำปรึกษา การวางแผน และการนำโซลูชันไปใช้งานให้ประสบผลสำเร็จ ติดต่อเราได้ที่นี่
ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้าน AI อัจฉริยะ พร้อมช่วยขับเคลื่อนการทำงานของธุรกิจ มีประสบการณ์ให้บริการโซลูชัน AI เพื่อองค์กรระดับประเทศมากมาย